บทขัดอาทิตตะปะริยายะสูตร เวเนยยะทะมะโนปาเย สัพพะโส ปาระมิง คะโต อะโมฆะวะจะโน พุทโธ อะภิญญายานุสาสะโก จิณณานุรูปะโต จาปิ ธัมเมนะ วินะยัง ปะชัง จิณณาคคิปาริจะริยานัง สัมโพชฌาระหะโยคินัง ยะมาทิตตะปะริยายัง เทสะยันโต มะโนหะรัง เต โสตาโร วิโมเจสิ อะเสกขายะ วิมุตติยา ตะเถโวปะปะริกขายะ วิญญูนัง โสตุมิจฉะตัง ทุกขะตาลักขะโณปายัง ตัง สุตตันตัง ภะณามะ เส ฯ
อาทิตตะปะริยายะสุตตัง
เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา คะยายัง วิหะระติ คะยาสีเส สัทธิง ภิกขุสะหัสเสนะ ฯ ตัต๎ระ โข ภะคะวา ภิกขู อามันเตสิ ฯ สัพพัง ภิกขะเว อาทิตตัง ฯ กิญจะ ภิกขะเว สัพพัง อาทิตตัง ฯ จักขุง ภิกขะเว อาทิตตัง รูปา อาทิตตา จักขุวิญญาณัง อาทิตตัง จักขุสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา อุปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา
โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา ชะราะมะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ โสตัง อาทิตตัง สัททา อาทิตตา โสตะวิญญาณัง อาทิตตัง โสตะสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง โสตะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ ฆานัง อาทิตตัง คันธา อาทิตตา ฆานะวิญญาณัง อาทิตตัง ฆานะสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง ฆานะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ ชิวหา อาทิตตา ระสา อาทิตตา ชิวหาวิญญาณัง อาทิตตัง ชิวหาสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะปัจจะยา อุปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ กาโย อาทิตโต โผฏฐัพพา อาทิตตา กายะวิญญาณัง อาทิตตัง กายะสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะสะมุขัง วา ตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ มะโน อาทิตโต ธัมมา อาทิตตา มะโนวิญญาณัง อาทิตตัง มะโนสัมผัสโส อาทิตโต ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัมปิ อาทิตตัง ฯ เกนะ อาทิตตัง ฯ อาทิตตัง ราคัคคินา โทสัคคินา โมหัคคินา อาทิตตัง ชาติยา ชะรามะระเณนะ โสเกหิ ปะริเทเวหิ ทุกเขหิ โทมะนัสเสหิ อุปายาเสหิ อาทิตตันติ วะทามิ ฯ เอวัง ปัสสัง ภิกขะเว สุต๎วา อะริยะสาวะโก จักขุส๎มิงปิ นิพพินทะติ รูเปสุปิ นิพพินทะติ จักขุวิญญาเณปิ นิพพินทะติ จักขุสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ ยัมปิทัง จักขุสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ฯ โสตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ สัทเทสุปิ นิพพินทะติ โสตะวิญญา- เณปิ นิพพินทะติ โสตะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ ยัมปิทัง โสตะสัมผัส สะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะ- สุขัง วา ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ฯ ฆานัส๎มิงปิ นิพพินทะติ คันเธสุปิ นิพพินทะติ ฆานะวิญญาเณปิ นิพพินทะติ ฆานะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ ยัมปิทัง ฆานะสัมผัส- สะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะ-
สุขัง วา ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ฯ ชิวหายะปิ นิพพินทะติ ระเสสุปิ นิพพินทะติ ชิวหาวิญญาเณปิ นิพพินทะติ ชิวหาสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ ยัมปิทัง ชิวหาสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ฯ กายัส๎มิงปิ นิพพินทะติ โผฏฐัพเพสุปิ นิพพินทะติ กายะ วิญญาเณปิ นิพพินทะติ กายะสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ ยัมปิทัง กายะสัมผัสสะปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ฯ มะนัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ธัมเมสุปิ นิพพินทะติ มะโนวิญญาเณปิ นิพพินทะติ มะโนสัมผัสเสปิ นิพพินทะติ ยัมปิทัง มะโนสัมผัสสะ ปัจจะยา อุปปัชชะติ เวทะยิตัง สุขัง วา ทุกขัง วา อะทุกขะมะสุขัง วา ตัส๎มิงปิ นิพพินทะติ ฯ นิพพินทัง วิรัชชะติ ฯ วิราคา วิมุจจะติ ฯ วิมุตตัส๎มิง วิมุต ตะมิติ ญาณัง โหติ ขีณา ชาติ วุสิตัง พ๎รัห๎มะจะริยัง กะตัง กะระณียัง นาปะรัง อิตถัตตายาติ ปะชานาตีติ ฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา เต ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ อิมัส๎มิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัส๎มิง ภัญญะมาเน ตัสสะ ภิกขุสะหัสสัสสะ อะนุปาทายะ อาสะเวหิ จิตตานิ วิมุจจิงสูติ ฯ

ท่านผู้มีจิตศรัทธาต้องการจัดพิมพ์พระสูตรต่างๆตามบทสวดในหนังสือสวดมนต์ฉบับพุทธบริษัทของวัดป่ามะไฟแจกเป็นธรรมทาน กรุณาติดต่อโดยตรงที่ วัดป่ามะไฟ ต.โคกไม้ลาย อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี (ท่านพระครูภาวนาธรรมธารี : tel 081-983 6770)

อาทิตตปริยายสูตร
คัดลอกมาจากพระไตรปิฎกฉบับปฎิบัติ ได้พิมพ์มาจากหนังสือ "พระไตรปิฎก ฉบับปฏิบัติ" ของ ธรรมรักษา ซึ่งเห็นว่าเหมาะสมและสมควรที่จะนำมาเผยแพร่ ให้ผู้ที่สนใจใคร่ศึกษาพระกรรมฐานควบคู่กับพระไตรปิฎก จึงได้นำมาพิมพ์และไว้ที่ศาลาปฏิบัติกรรมฐานนี้ เพื่อให้ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานได้ศึกษาการปฏิบัติ พร้อมทั้งสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแด่พระสาวกทั้งหลาย เพื่อให้การปฏิบัติไม่ผิดพลาด และมีข้อมูลอ้างอิงทำให้การปฏิบัติเกิดความเชื่อมั่น และเข้าถึงซึ่งพระธรรมโดยเร็ววัน
การนำมาพิมพ์เผยแพร่นี้ เป็นการทำเพื่อให้ธรรมเป็นทาน เพื่อให้ผู้ที่กำลังปฏิบัติพระกรรมฐาน ที่ต้องการศึกษาพระไตรปิฎกในทางปฏิบัติ เข้าถึงซึ่งพระกรรมฐาน
บุญกุศลใด ๆ ที่จะพึงเกิดจากการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับปฏิบัตินี้ทั้งหมด ขอบุญกุศลนั้นจงมีแด่ท่านธรรมรักษา และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำหนังสือพระไตรปิฎกฉบับปฏิบัติ และทุกท่านที่เข้ามาศึกษาในพระธรรม ขออำนาจบารมีแห่งองค์พระรัตนตรัยจงดลบันดาลให้ทุกท่านสมความปรารถนาทั้งทางโลกและทางธรรม เข้าถึงซึ่งพระธรรมเข้าถึงซึ่งพระนิพพานตามที่ท่านปรารถนาด้วยเทอญ.
๒๑ มกราคม ๒๕๔๘ อาทิตตปริยายสูตร
ครั้นพระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ตำบลอุรุเวลา ตามพระพุทธาภิรมย์แล้ว ได้เสด็จจาริกไปโดยมรรคา อันจะไปสู่ตำบาลคยาสีสะ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ๑๐๐๐ รูป ล้วนเป็นปุราณชฏิล ได้ยินว่า พระองค์ประทับอยู่ที่ตำบลคยาสีสะ ใกล้แม่น้ำคยานั้น พร้อมด้วยภิกษุ ๑๐๐๐ รูป ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาค รับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่าดังนี้ - "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ก็อะไรเล่าชื่อว่า สิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุเป็นของร้อน รูปทั้งหลายเป็นของร้อน วิญญาณอาศัยจักษุเป็นของร้อน สัมผัสอาศัยจักษุเป็นของร้อน ความเสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้นก็เป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร ? เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟคือ ราคะ เพราะไฟคือโทสะ เพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่ และเพราะความตาย ร้อนเพราะความโศก เพราะความรำพัน เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจ เพราะความคับแค้น โสตเป็นของร้อน เสียงทั้งหลายเป็นของร้อน............... ฆานะเป็นของร้อน กลิ่นทั้งหลายเป็นของร้อน............... ชิวหาเป็นของร้อน รสทั้งหลายเป็นของร้อน .............. กายเป็นของร้อน โผฏฐัพพะทั้งหลายเป็นของร้อน มนะเป็นของร้อน ธรรมทั้งหลายเป็นของร้อน วิญญาณอาศัยมนะเป็นของร้อน สัมผัสอาศัยมนะเป็นของร้อน ความเสวยอารมณ์เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะในสัมผัสเป็นปัจจัย แม้นั้นก็เดป็นของร้อน ร้อนเพราะอะไร ? เรากล่าวว่า ร้อนเพราะไฟคือราคะ ร้อนเพราะไฟคือโทสะ ร้อนเพราะไฟคือโมหะ ร้อนเพราะความเกิด เพราะความแก่และความตาย ร้อนเพราะความโศก เพราะความรำพัน เพราะทุกข์กาย เพราะทุกข์ใจ เพราะความคับแค้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้ฟังแล้ว เห็นอยู่อย่างนั้น ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในรูปทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่าย แม้ในวิญญาณอาศัยจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยจักษุ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุขเป็นทุกข์ หรือมิใช่สุขมิใช่ทุกข์ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโสต ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในเสียงทั้งหลาย ............... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในฆานะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกลิ่นทั้งหลาย .............. ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในชิวหา ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในรสทั้งหลาย ............ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในกาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในโผฏฐัพพะทั้งหลาย ............... ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในธรรมทั้งหลาย ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในวิญญาณอาศัยมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในสัมผัสอาศัยมนะ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในความเสวยอารมณ์ ที่เป็นสุขที่เป็นทุกข์ หรือมิใช่ทุกข์มิใช่สุข ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่ายย่อมสิ้นกำหนัด เพราะสิ้นกำหนัดจิตก็พ้น เมื่อจิตพ้นแล้ว ก็รู้ว่าพ้นแล้ว อริยสาวกนั้ทราบชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้ไม่มี" ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาค ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ จิตของภิกษุ ๑๐๐๐ รูปนั้น พ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.
จบ อาทิตตปริยายสูตร ๔/๕๙
http://www.larnbuddhism.com/grammathan/tripitakapatibat/atitta.html

|