ข้อธรรม *การแก้ปัญหาสังคมนั้นจะต้องมีอะไรที่สร้างสรรค์ให้คนทำ เป็นการแก้ปัญหาโดยไม่ต้องแก้ เมื่อเขามีใจจดจ่อกับสิ่งที่สร้างสรรค์นั้น เขาจะลืมทำสิ่งที่ก่อให้เกิดปัญหาไปเอง
*สมมติว่าประชาชนทุกคนเห็นแก่ตัว เลือกผู้แทนมาก็จะได้ผู้แทนเห็นแก่ตัว ไปตั้งรัฐบาลก็เป็นรัฐบาลที่เห็นแก่ตัว แล้วบ้านเมืองจะเป็นอย่างไร ลองคิดดู? ท่านพุทธทาส
*ถ้าเราอยากจะทำดีให้กับพ่อแม่อย่ารอเวลา อยากจะมอบอะไรให้แก่ท่านมอบเลย เพราะบางทีวันที่เราจะมอบให้แก่ท่าน ท่านอาจจะไม่มีโอกาสได้ใช้อีกต่อไปแล้วก็ได้ ท่านวิชรเมธี
*วัฒนธรรมใดมีท่าทีแบบปกป้องตัวเอง ก็เป็นเครื่องบ่งชี้ว่า ตัวเองนี้เป็น ฝ่ายรับแล้วกลัวว่าจะสูญเสียพูดง่ายๆเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ ไม่สามารถเป็นฝ่ายรุกแผ่ขยายไปให้เขายอมรับตนได้ ท่านปยุตโต
*สิ่งใดๆที่คนเขาสร้างสรรค์กันมาอย่างงดงามคนเห็นแก่ตัวมันจะทำลายหมด อะไรๆที่อุตส่าห์ทำมาดีแล้ว แต่พอความเห็นแก่ตัวเข้ามามันจะกลายเป็นไม่มีประโยชน์ไปเสีย ท่านพุทธทาส
*คนบางคนในเวลาที่ไม่มีทุกข์อะไรก็อ้างว่าไม่มีเวลาให้กับพ่อแม่เลย แต่พอมีความทุกข์ขึ้นมา ก็จะนึกถึงท่าน แล้วยังเอาปัญหาของเราไปให้ท่านรับรู้ สร้างความทุกข์ให้ท่านอีก ท่านพุทธทาส
*ตนเป็นที่พึ่งของตน จะพึ่งตนเองได้ก็ต้องฝึก ศึกษา ปฎิบัติตนเอง ท่านปยุตโต
*ปัญหาของคนทั้งหมดมันมาจากความเห็นแก่ตัว เดี๋ยวนี้คนมันเห็นแก่ตัวกันมากขึ้นๆ การศึกษาทำให้คนฉลาดแต่ขาดธรรมะ ยิ่งฉลาดมากยิ่งเห็นแก่ตัวลึก มันจึงแก้ยาก ท่านพุทธทาส
*ความกตัญญูเป็นศูนย์รวมของคุณธรรมทั้งหมด คนกตัญญูกล่าวได้ว่าเป็นคนที่มีเกียรติที่สุดในโลก เทพก็ชื่นชมคนก็สรรเสริญ ท่านวชิรเมธี
*มีใครคนหนึ่งพูดไว้เข้าทีดีว่า ดีใจนั้นยังใช้ไม่ได้หรอกต้องใจดีนี่ถึงจะใช้ได้ เพราะว่าดีใจจนเกินไป มันก็ทำให้กินข้าวไม่ลงนอนไม่หลับเหมือนกัน ท่านพุทธทาส
ท่านวชิรเมธี
*การแก้ปัญหาการรบราฆ่าฟันกันของคนบนโลกก็ต้องมีหลักการที่จะต้องทำ จะมาอ้างว่าพูดมันง่ายแต่ทำมันยากนั้นไม่ได้เพราะถ้าอยากให้เกิดสันติภาพก็ต้องทำตามหลักการ ท่านปยุตโต
*การทำหน้าที่ของพระพุทธเจ้าแม้ในขณะที่ใกล้จะปรินิพาน ก็ยังกล่าวสอนนักบวชคนหนึ่งจนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์ นี่เรียกว่าท่านทำหน้าที่จนวาระสุดท้าย ท่านพุทธทาส
*ถ้าเราอยากนอนหลับให้สบาย เราต้องลดความริษยาในใจ ด้วยการแผ่เมตตาทุกคืนทุกวัน ทำได้เช่นนี้จะมีความสุขมาก หลับสบายและอายุยืน ท่านวชิรเมธี
*เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร อันนี้เป็นความจริงในหมู่มนุษย์เรา ถ้าหากสร้างเวรแล้วตามจองเวรกันมันก็ไม่รู้จักจบสิ้น
*พุทธศาสนาสอนเรื่องความถูกต้อง ไม่ใช่สอนแต่เรื่องดีๆๆ นี่ระวังไว้ด้วย เพราะว่าอาจจะบ้าดี เมาดี หลงดี แล้วก็ชอบอวดดีจนหมดดีก็ได้ ท่านพุทธทาส
*การทำงานตามหน้าที่ โดยไม่ได้คิดว่าเพื่อจะไปแข่งกับใคร แต่ทำงานไปด้วยจิตใจอันราบรื่นตามหน้าที่ คนก็สำราญ งานก็สำเร็จ ชีวิตมีความสุข ท่านวิชรเมธี
*เรารู้หลักการของพุทธศาสนา เช่น ตนเป็นที่พึ่งของตนกันดีแล้ว แต่ทำอย่างไรตนจึงจะเป็นที่พึ่งของตนได้ นี่สำคัญมากเพราะธรรมะจะได้ผลคนต้องปฎิบัติได้ด้วย ท่านปยุตโต
*มนุษย์ทั่วไปมักจะหลงเอาความเพลิดเพลินที่หลอกลวงทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ด้วยอำนาจกิเลสตัณหาว่าเป็นความสุข ต้องสิ้นเปลืองเงินทองมากมาย ท่านพุทธทาส
*เมื่อเราไม่รู้สึกว่าต้องแข่งขันกับใครก็จะไม่มีใครริษยาเรา เมื่อไม่คิดว่าเราเหนือกว่าใครก็ไม่ต้องกลัวว่าใครจะมาเหนือกว่าเรา ท่านวชิรเมธี
*อาชีพทุกอย่างมีขึ้นเพื่อแก้ปัญหาชีวิตและสังคม ถ้าทำให้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ก็เรียกว่ามีสัมมาอาชีพ แต่ถ้าทำผิดไปก็เรียกว่าเป็นมิจฉาชีพ ท่านปยุตโต
*การทำหน้าที่ด้วยความถูกต้องพอใจ จนยกมือไหว้ตัวเองได้นั่นแหละคือสวรรค์ที่แท้จริง แต่ถ้าทำสิ่งใดที่เกลียดตัวเองจนยกมือไหว้ตัวเองไม่ได้มันก็คือนรกนั่นเอง ท่านพุทธทาส
*ก่อนนอนเราควรนึกแผ่เมตตากับคนที่เราริษยา โกธรเกลียด เพราะความริษยาโกธรเกลียด มันเป็นตัวทำลายความสุขของเราทุกคืนวัน ท่านวชิรเมธี
*เราต้องตระหนักกันว่าการให้การศึกษาถือเป็นหน้าที่ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คนจะพัฒนาให้ดีขึ้นได้หรือไม่ได้นั้น ก็อยู่ที่การศึกษาเป็นสำคัญ ท่านปยุตโต
*พระพุทธเจ้าเกิดมาท่ามกลางลัทธิความเชื่อเดิมๆมากมาย แต่ท่านไม่กล่าวคำขัดแย้งกับใครๆ คำว่าความขัดแย้งถ้าเป็นภาษาบาลีเรียกว่า อุปัททวะ ถ้าภาษาไทยก็คือ อุบาทว์ ท่านพุทธทาส
*พระพุทธเจ้าสอนให้เราอยู่กับปัจจุบัน เราจะทิ้งความทุกข์ไปได้ถ้าเราอยู่กับปัจจุบัน ไม่ให้วันวานอันเจ็บปวดมาทำร้ายเราได้ทุกคืนทุกวัน ท่านวชิรเมธี
*วันเวลาที่แท้จริงนั้นมีความยุติธรรมเสมอกันหมด แต่ที่ว่าช้าหรือเร็วนั้น อยู่ที่ความรู้สึกของเราเองต่างหากที่อยากจะให้เวลามันช้าหรือเร็ว
ท่านพุทธทาส
*ความทุกข์เป็นปฎิกิริยาผกผันกับความยึดติดถือมั่นของเรา เรายึดติดถือมั่นมากก็ทุกข์มาก ยึดติดถือมั่นน้อยก็ทุกข์น้อย ไม่ยึดติดถือมั่นก็ไม่ทุกข์ ท่านวชิรเมธี
*พระคุณของแม่มีปาฎิหาริย์มาก พอพูดคำว่าแม่เท่านั้นแหละน้ำตาไหลขึ้นมาทันทีคนที่จะทำชั่วเขาอาจจะงดการกระทำนั้นเลยก็ได้นี่คือปาฎิหาริย์ของพระคุณแม่ ท่านปยุตโต
*ในความสุขที่มาทำให้หลงใหลเพลิดเพลินนี้ ขอให้ระวังกันให้ดีๆ เพราะมันเป็นความสุขที่ซ่อนเร้นอยู่ด้วยความทุกข์ อย่างมงายกับความสุขกันนักเลย ท่านพุทธทาส
*ปัญหาทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับเรามันจบลงไปแล้วตั้งแต่มันเกิด แต่บางทีเราก็เก็บไว้ข้ามวันข้ามคืน เพราะเราชอบเก็บปัญหาเอาไว้ในใจไม่ยอมปล่อยวาง ท่านวิชรเมธี
*คำว่าอายุในภาษาพระนี่เป็นความหมายที่ดี ถ้าอายุมากแสดงว่ามีพลังชีวิตมาก คือมีฉันทะความพอใจในการมีชีวิต อันเป็นปัจจัยที่ทำให้ชีวิตยืนยาว ท่านปยุตโต
*ดีใจ กับ เสียใจนี้ มันพอๆกันแหละ ดีใจก็กินข้าวไม่ลง นอนไม่หลับ เสียใจก็กินข้าวไม่ลง นอนไม่หลับ ดีใจก็ไม่สงบ เสียใจก็ไม่สงบ ต่อเมื่อไม่ดีใจ ไม่เสียใจจึงจะเป็นความสงบ ท่านพุทธทาส
*ความทุกข์ของคนจำนวนมากเกิดขึ้นเพราะเราชอบไปยุ่งย่ามกับเรื่องของชาวบ้านมากไป เรียกว่า ชอบแกว่งเท้าหาเสี้ยน ท่านวชิรเมธี
*ในเรื่องอนิจจัง คือ สิ่งทั้งหลายไม่เที่ยงแท้แน่นอน เปลี่ยนแปลงไปตามเหตุปัจจัย เราต้องเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงนี้ แล้วกระทำให้ถูกตามเหตุปัจจัย ด้วยความไม่ประมาท ท่านปยุตโต
*อุปสรรคนั่นแหละจะทำให้คนฉลาดขึ้น ความทุกข์ ความยากลำบากเหล่านี้ มาทำให้คนฉลาดขึ้นๆ อย่าไปทุกข์กับมัน ศึกษาให้ดีๆ เถิด ก็จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ท่านพุทธทาส
*หลวงปู่บุดดากล่าวว่าพวกเราทั้งหลายชอบเอาหูไปรองเกี๊ย หมายความว่า เรื่องของคนอื่นเราชอบรับเอามาเป็นเรื่องของตัวเองไปเสียหมด ท่านวชิรเมธี
*อย่าเอาความปล่อยวางมาอ้าง ความปล่อยวางเป็นเรื่องจิตใจที่เป็นอิสระไม่ยึดติด แต่ในการทำกิจของตนที่ต้องทำ อย่าปล่อยวางจนกลายเป็นปล่อยปละละเลย ท่านปยุตโต
*การสร้างนิสัยหาทางออกให้กิเลสเป็นเรื่องสำคัญ เพราะว่าคนเรานี้มักจะหาข้อแก้ตัวให้กิเลสอยู่เสมอ ทั้งๆที่รู้ว่าผิดแต่ก็พยายามหาข้อแก้ตัวในการทำผิดนั้นๆ จนติดเป็นนิสัย ท่านพุทธทาส
*พระพุทธเจ้าตรัสว่าถ้าโลกหน้ามีจริงความดีที่เราทำก็ตามไปเป็นผลกำไรของเรา ท่านวชิรเมธี
*พระพุทธเจ้าสอนเรื่องความสันโดษในวัตถุสิ่งเสพบริโภค และสอนอีกว่า ไม่ให้สันโดษในกุศลธรรม ให้ทำให้มากในกุศลธรรมทั้งหลาย ท่านปยุตโต
*คำว่า คน นี้มีความหมายว่า สักแต่ว่าเกิดมาเป็นคน และมักจะหมุนไปในทางต่ำ ส่วนคำว่า มนุษย์ นี้มีความหมายว่า เป็นผู้มีจิตใจสูง มีการกระทำตามแบบของผู้มีจิตใจสูง ท่านพุทธทาส
*ไอน์สไตน์ประกาศตัวว่าฉันเป็นคนไม่มีศาสนา แต่ถ้าจะให้เลือกนับถือ ฉันจะเลือกนับถือศาสนาพุทธนี่เป็นเพราะอะไร? ลองคิดดู ท่านวชิรเมธี
*เมื่อเราเห็นความจริงของชีวิต เราก็จะรู้สึกปล่อยวางเบาสบาย บางทีก็จะเรื่อยเฉื่อยกลายเป็นปล่อยปละละเลยอยู่ในความประมาทดังนั้นต้องระวังอย่าประมาท ท่านปยุตโต
*พระพุทธเจ้านั้นเป็นนายแพทย์ผู้เยียวยาโลก ของสัตว์โลกทั้งปวง โดยมีธรรมะโอสถที่จะแก้ไขความทุกข์ของสัตว์โลกได้ เพราะความทุกข์นั่นแหละเป็นโรคอย่างยิ่ง ท่านพุทธทาส
*สิทธิส่วนบุคคลนั้นไม่ใช่การทำอะไรก็ได้ตามแต่ใจของตนต้องการ หรือตามใจกิเลสของตนเองนี่คือสิทธิในทางที่ผิด ท่านวชิรเมธี
*เวลานี้สื่อมวลชนก็ควรจะทบทวนตัวเองด้วยว่า เราจะชักจูงสังคมให้ไปแต่เรื่องชั่วร้ายเรื่องบาปๆ ทั้งนั้นหรือเปล่า ทำอย่างไรจะชักจูงให้คนไปในเรื่องกุศลเรื่องความดีมากขึ้น ท่านปยุตโต
*สร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล นี่ยังไม่ใช่กุศลสูงสุด การช่วยคนให้ได้รู้แจ้งชัดธรรมะแล้วนั่นแหละ เป็นกุศลอันสูงสุดเพราะทำให้คนพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ ท่านพุทธทาส
*เมื่อเราอยู่ในองค์กรณ์เดียวกัน ต้องมาร่วมงานกัน อย่าคิดแต่จะเอาประโยชน์ของกันและกันอย่างเดียว แต่ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกันด้วย ท่านวชิรเมธี
*การหวังจะได้ต้องรอการบันดาลจากผู้อื่น แต่ชาวพุทธสอนเรื่องหวังจะทำ คือการกระทำด้วยปัญญาเมื่อมองเห็นความสำเร็จแล้วก็ลงมือทำไม่มัวมารอความหวังจากผู้อื่น ท่านปยุตโต
*การตั้งจิตอธิฐานว่า เราแต่ละวันๆจะต้องทำอะไร ที่ให้ผู้อื่นได้รับความพอใจ ชื่นอก ชื่นใจอย่างยิ่งครั้งหนึ่งเสมอ นี่แหละคือการฝึกหัดนิสัยให้เห็นแก่ผู้อื่น ท่านพุทธทาส
*ถ้าเราอยากจะทำตัวตามสมัยเราก็จะต้องทุกข์ ทุกยุคสมัยเพราะว่าแฟชั่นมันไม่มีจุดจบเรียกว่าเมื่ออินเทรนด์ก็ต้องอินทุกข์ไปด้วย ท่านวชิรเมธี
*ไม่พึงหวนละห้อยกับความหลัง ไม่มัวเฟ้อฝันถึงอนาคต สิ่งใดล่วงแล้วก็ผ่านไป สิ่งใดยังไม่ถึงสิ่งนั้นก็ทำไม่ได้ สิ่งที่ทำได้แน่นอนคือปัจจุบัน ท่านปยุตโต
*เราอย่าไปคิดว่าเราอยู่คนเดียวในโลกได้ จงอยู่อย่างมีเพื่อน เกิด แก่ เจ็บ ตาย แล้วก็ช่วยเหลือกัน ในยามเจ็บไข้ ยามลำบาก แม้แต่สัตว์เดรัจฉานหรือต้นไม้ ก็ต้องช่วยเหลือด้วยเหมือนกัน
*พุทธศาสนามองว่า ผู้ที่ยังอยู่ในขั้นความต้องการด้านวัตถุพรั่งพร้อม คือผู้ที่มีการพัฒนาการทางปัญญาแค่ขั้นต้น แต่ในเมืองไทยกลับมองเป็นยอดมนุษย์ นี่คือความเข้าใจผิดอย่างแรง ท่านวชิรเมธี
*อุดมคติของโพธิสัตว์ก็คือ ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ กล้าสละชีวิตของตน เพื่อความรอดของผู้อื่น และมีความสุขในการทำหน้าที่ ท่านพุทธทาส
*ทุกวันนี้ที่เราต้องซื้อหาสิ่งของราคาแพงๆ ก็เพราะว่า เราพยายามหาเปลือกของชีวิตมาพอกพูนตัวเองและคิดว่าเปลือกอันเป็นคุณค่าเทียมนั้นมันจะทำให้เราดูดี ท่านวชิรเมธี
*พ่อแม่ถึงจะต้องทำงานหนักเหน็ดเหนื่อย ก็เพื่อลูกนั่นแหละ ถ้าพ่อแม่เห็นลูกประพฤติดีเอาใจใส่ในการศึกษาเล่าเรียนไม่ประพฤติเกเรพ่อแม่ก็มีความสุข ท่านปยุตโต
*ทำอย่างไรจึงไม่เป็นทุกข์ในการทำงาน หน้าที่การงานเป็นสิ่งประเสริฐสำหรับมนุษย์ เราควรรู้สึกพอใจๆ อยู่ตลอดเวลาที่ได้ทำหน้าที่การงานนั้นๆ
*วิธีคิดแบบคุณค่าที่แท้นั้น เราต้องถามตัวเองว่า สิ่งนี้จำเป็นกับชีวิตของเราไหม และประโยชน์ที่แท้จริงของสิ่งนี้คืออะไร ท่านวชิรเมธี
*การคิดช่วยบำรุงพระพุทธศาสนาต้องทำให้ถูกทาง เราต้องรู้ว่าทำอย่างไรให้วัดเป็นแหล่งเผยแพร่ธรรมะแก่ประชาชน เราก็ทำอันนั้น ท่านพุทธทาส
*คนเรามีความรู้ท่วมหัวแต่เอาตัวไม่รอด เพราะว่าไม่มีความอดทน การงานทุกชนิดจะลุล่วงไปด้วยดีต้องมีความอดทน ต่อให้มีปัญญาเลอเลิศเท่าไหร่ ก็ต้องล้มเหลวหมด ถ้าไม่มีความอดทน ท่านพุทธทาส
*วิธีคิดแบบคุณค่าเทียมคือจะต้องวิ่งไปตามแฟชั่นสิ่งของ เครื่องใช้ ก็ต้องคอยฟังตามคำพูดของคนอื่นว่าเขาจะว่าอย่างไร นี่คือสิ่งที่ทำให้เราต้องจ่ายแพงขึ้นกว่าความต้องการจริงๆของชีวิต ท่านวชิรเมธี
*การเสพสุราของมึนเมา การเที่ยวกลางคืน ชอบเที่ยวดูการละเล่น ติดการพนัน คบคนชั่ว เกียจค้านการทำงาน อบายมุขทั้งหกอย่างนี้สังคมไทยนั้นเป็นกันมาก ท่านปยุตโต
*เราควรจะนำอุดมคติของโพธิสัตว์มาใช้ให้เป็นประโยชน์ ด้วยการฝึกหัดช่วยเหลือผู้อื่นให้ได้รับความสุข ความพอใจอยู่เสมอแล้ว ก็จะเกิดสันติสุขแก่จิตใจเราเอง ช่วยให้จิตใจเราสูงขึ้น ท่านพุทธทาส
*ความรู้จักพอกับทุกๆเรื่องในการใช้ชีวิต นั่นคือหลักเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนความไม่รู้จักพอ นั่นแหละเป็นการผิดหลักเศรษฐกิจพอเพียง ท่านวชิรเมธี
*พระพุทธเจ้าไม่ทรงสรรเสริญอิทธิปาฏิหาริย์อื่นใด นอกจากอนุสาสนีปาฏิหาริย์ คือ คำสั่งสอนเพื่อให้เรารู้ว่าอะไรจริงอะไรเท็จ อะไรเป็นโทษอะไรเป็นประโยชน์ และควรจะประพฤติตนอย่างไร ท่านปยุตโต
*ถ้าเรามีความมุ่งหมายที่จะสมรสโดยคุณธรรมแล้ว ก็ไม่ควรตกเป็นทาสของกามารมณ์ ซึ่งเป็นอาการของความบ้าวูบเดียว ท่านพุทธทาส
*เราบริโภคใช้สอยปัจจัยสี่จะไม่ค่อยได้ใช้ตามคุณค่าที่แท้จริงของมัน แต่จะใช้ไปตามคุณค่าเทียมคือใช้เพื่ออวดฐานะ อวดโก้เก๋เสียเป็นส่วนมาก ท่านวชิรเมธี
*ในยุคแห่งการแข่งขันกันในปัจจุบันนี้ ต้องถือว่ากำลังปัญญานี่สำคัญที่สุด ตั้งแต่โบราณมาแล้ว ท่านปยุตโต
*บางคนทำงานเพื่อความเป็นมนุษย์ที่ดีที่สุดของตน ท่านพุทธทาส
*พระพุทธเจ้าตรัสว่าต่อให้ฝนตกลงมาเป็นเงินเป็นทองสูงท่วมหัวเข่ามนุษย์ก็ยังบอกว่าให้ตกลงมาอีกยังไม่พอนี่คือโลกของความจริง ท่านวชิรเมธี
*ตัวความเจริญที่แท้จริงประกอบไปด้วย กระบวนการความรู้ ความคิด และการประดิษฐ์สร้างสรรค์วัตถุสิ่งของ ไม่ใช่ตัววัตถุสิ่งของที่เราซื้อมาเพื่อการเสพบริโภคเท่านัน้ ท่านปยุตโต
*ธรรมชาติสร้างร่างกาย จิตใจและสมองนี้ไม่เหมือนกัน ฉะนั้นเราไม่อาจจะมีการงานเหมือนกันได้ ขอแต่ว่างานใดที่ทำแล้ว ดำรงชีวิตอยู่ได้ เราพอใจและมีความสุขก็พอแล้ว ท่านพุทธทาส
*ความดังเป็นสิ่งสมมติ เกียรติยศเป็นสิ่งสมมติ ชื่อเสียงเป็นสิ่งสมมติ ให้เรารู้ทันสมมติแล้วก็ใช้สมมติ แต่ไม่แบกสมมติ เราจะได้ไม่เป็นทุกข์ ท่านวชิรเมธี
*เด็กในยุคนี้โชคดีเกิดมามีเครื่องมืออำนวยความสะดวกมากแต่เราก็อย่าไปติดเพียงการเสพสุขเท่านั้น เราควรมองให้เห็นว่าทำอย่างไรสิ่งเหล่านี้จะมาช่วยให้เราได้หาความรู้และสร้างสรรค์ได้ดียิ่งขึ้น ท่านปยุตโต
*ความสุขมีอยู่ในการทำหน้าที่ของมนุษย์ เป็นสุขสนุกเมื่อได้ทำงานก็จะทำงานได้มาก ท่านพุทธทาส
*การศึกษานี่เป็นเงื่อนไขให้มีปัญญา แต่บางทีการศึกษากลับทำให้โง่กว่าเดิมเพราะอะไร เพราะไม่กล้าใช้ปัญญาของตัวเอง จะคิดอะไรก็ขอดูก่อนว่าเรื่องนี้มีคนคิดแล้วหรือยัง เลยไม่ฉลาด ท่านวชิรเมธี
*วัด คือ ที่ให้ความสะดวกแก่ญาติโยมในการบำเพ็ญกุศล กระทั่งวัดให้ที่ในการจัดงาน มีมหรสพมากมายจนกลายเป็นสิ่งที่ไม่เป็นกุศลไปเสียแล้ว ดังนั้นเราควรทำความเข้าใจกันให้ดีว่า ที่แท้วัดมีหน้าที่ในการบำเพ็ญกุศล ท่านปยุตโต
*ลูกที่จะประพฤติธรรมได้ต้องมีพ่อแม่ที่สมบูรณ์แบบ นี่หมายความว่าต้องเป็นพ่อแม่ที่ทำให้ลูกเป็นลูกที่ดีมาตั้งแต่ในท้อง จนคลอดออกมาก็ต้องอบรมเลี้ยงดูดี โตขึ้นมาก็ให้การศึกษาดีโดยตลอด
*ถ้าเราหลงในชื่อเสียงของเรา ซึ่งเป็นความงามในสายตาชาวโลก เราก็ทุกข์เราก็แบกหนัก เพราะฉะนั้นถ้าเรารู้ทันเราจะแบกอีกมั๊ย เกียรติยศเกียรติคุณอันเป็นเพียงสิ่งสมมุตินี่ ท่านวชิรเมธี
*ในวันเกิดเรา ควรนึกถึงพ่อแม่ของเรามากที่สุด น่าจะเป็นวันที่เราได้อยู่กับพ่อแม่ ควรให้เวลาแก่ท่านเพราะตั้งแต่เราเกิดมา พ่อแม่นี่แหละคือผู้ที่ให้เวลาแก่เรานี่มากที่สุด ท่านปยุตโต
*ความเมตตา คือความรักผู้อื่น เป็นหัวใจของศาสนาทุกศาสนา เมื่อเรารักผู้อื่นแล้ว การฆ่ากัน การลักขโมย การหลอกลวงกัน ฯลฯ อย่างนี้มันทำไม่ได้ จึงเรียกว่าเป็นโลกของพระศรีอาริย์โดยแท้จริง ท่านพุทธทาส
*ความเป็นอนิจจังเราเข้าใจ ทุกขังความเป็นทุกข์เราเข้ใจ อนัตตาเราคิดว่าเราเข้าใจ แต่พอไปอยู่ในสถานการณ์จริงๆเราถึงได้รู้ว่าเรายังไม่เข้าใจนะความยึดติดว่าตัวกูนี่มันมันหลอกเราได้สนิทนะ ท่านวชิรเมธี ท่านปยุตโต
*ความรักดีเป็นสิ่งที่เราควรสร้างให้เกิดขึ้นในสันดาน ต้องเป็นความรักดีที่จะเป็นประโยชน์และเป็นที่พึ่งแก่ตนได้ ถ้ามนุษย์รักดีแล้วมนุษย์จะหมดปัญหาได้ ท่านพุทธทาส
*บางครั้งครูบาอาจารย์ที่เรานับถืออาจจะเป็นที่ตั้งแห่งความยึดติดถือมั่นของเรา บางทีครูบาอาจาย์ที่มีชื่อเสียงมากๆนั้นก็ไม่เป็นอะไรมากไปกว่าศูนย์รวมแห่งความยึดติดถือมั่น ท่านวชิรเมธี
*การศึกษานั้นจะต้องช่วยให้คนคิดเป็น จะคิดเป็นก็ต้องมีฐานความรู้ ความคิดต้องมาคู่กันกับความรู้ การมีความคิดเห็นที่ไม่มีฐานความรู้ ก็เป็นเพียงความคิดเห็นที่เพ้อฝันเลื่อนลอย
*ความรักผู้อื่นนั่นแหละ เป็นความหลุดพ้น หรือสันติสุขทั้งของสังคมและของบุคคล คือมีความเมตตามีความกรุณารักใคร่ในสัตว์ทั้งหลายอยู่เป็นประจำ ท่านพุทธทาส
*คนโง่คิดว่าทรัพย์ของกู โคของกู ลูกเมียของกู พระพุทธเจ้าได้ยินจึงตรัสว่า ตัวกูของกูยังไม่มีทรัพย์ของกู โคของกู ลูกเมียของกู มันจะมาแต่ไหน ท่านวชิรเมธี
*คนที่มีความเข้มแข็งจะเป็นคนที่สุขได้ง่ายทุกข์ได้ยาก ท่านปยุตโต
*เรื่องอบรมเด็กๆ นี้สำคัญมาก ถ้าเรารักเด็กๆ ที่เป็นลูกหลานของเราแล้วก็จงให้ธรรมะแก่เขาเถิด จึงจะได้ชื่อว่าให้สิ่งประเสริฐที่สุดแก่เขา จะมีประโยชน์แก่เขาอย่างยิ่ง ท่านพุทธทาส
*เมื่อเราได้ครอบครองเป็นเจ้าในสิ่งใดแล้ว เรามักจะหลงเข้าใจอย่างยึดติดถือมั่นไปว่าสิ่งนี้มันเป็นของฉัน แต่แท้ที่จริงแล้วในโลกนี้ไม่มีอะไรเป็นของฉัน ท่านวชิรเมธี
*การปฎิบัติธรรมเราจะรู้ว่าถูกต้องหรือไม่นี่พิสูจน์ได้อย่างหนึ่ง คือจิตจะต้องมีความปราโมทย์ ปิติ ปัสสัทธิ สุข สมาธิ ถ้าจิตมีธรรม ๕ ประการนี้แล้วการปฎิบัติธรรมก็จะก้าวหน้าไปได้ด้วยดี ท่านปุยตโต
*คำว่างานหรือการทำงานก็คือการทำหน้าที่เพื่อให้ชีวิตรอด เราทำงานก็เพื่อการดำรงชีวิตให้ชีวิตรอด แล้วก็เลื่อนชั้นแห่งความรอดขึ้นไปจนถึงความรอดอันสูงสุด ท่านพุทธทาส
*พระพุทธเจ้าตรัสว่าโดยสรุปความยึดติดถือมั่นในเบญจขันธ์นั่นแหละคือตัวทุกข์ ดังนั้นถ้าเราไม่ยึดติดถือมั่นในเบญจขันธ์มันก็จะไม่เป็นทุกข์ ท่านวชิรเมธี
*ในทางพุทธศาสนา การศึกษาเริ่มต้นที่การใช้ตาดูหูฟัง ถ้าเราใช้เป็นก็จะใช้เพื่อการแสวงหาความรู้ ไม่ใช่ใช้เพียงเพื่อเสพความรู้สึกแบบลัทธิบริโภคนิยม แต่ต้องก้าวไปหาความรู้ ท่านปยุตโต
*คำว่าการงาน หรือหน้าที่ หรือธรรมะนั้น มีความหมายอย่างเดียวกัน ผู้ใดทำหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องแล้วก็เรียกได้ว่าผู้นั้นมีธรรมะ ท่านพุทธทาส
*มนุษย์มักพยายามจะหลอกตัวเองอยู่เสมอในสิ่งที่ไม่เที่ยงแท้ว่าเที่ยงแท้ และหลงวนอยู่กับสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข ท่าน ว.วชิรเมธี
*เราควรใช้พฤติกรรมของเราในการกินการอยู่ มาฝึกให้เราเป็นคนรู้จักคิดเป็น คือรู้ว่าเรากินเพื่ออะไร หรือการใช้เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มนี้เพื่ออะไร นั่นเป็นจุดเริ่มต้นของการรูจักคิดเป็น ท่านปยุตโต
*ความสุขนี้มาจากความพอใจ ถ้าไม่มีความพอใจความสุขก็มีไม่ได้ พอใจในสิ่งเลวก็มีความสุขจากความเลวซึ่งเป็นความสุขหลอกลวง พอใจในสิ่งดีก็มีความสุขในความดีซึ่งเป็นความสุขที่แท้จริง ท่านพุทธทาส
*ถ้าจะดับทุกข์ต้องจับประเด็นให้ชัดว่าสิ่งที่ก่อให้เกิดความทุกข์ มีสามอย่างนะ คือ โลภ โกรธ หลง สามตัวนี้เราต้องขับมันออกไปเสียจากจิตใจ ท่าน ว.วชิรเมธี
*การศึกษามีอยู่ในทุกขณะของชีวิตว่ากันตามหลักของพุทธศาสนา ชีวิตที่ดีคือชีวิตที่มีการศึกษา ส่วนชีวิตที่ไม่มีการศึกษาท่านเรียกว่าพาล แปลว่ามีชีวิตอยู่สักว่ามีลมหายใจเข้าออกเท่านั้น ท่านปยุตโต
*สามีภรรยาถ้ามีธรรมะเป็นคู่ชีวิตแล้วจะไม่มีการทะเลาะเบาะแว้งใดๆเลย ลูกกับพ่อแม่ นายจ้างกับลูกจ้าง ก็เช่นกันหากมีการประพฤติธรรมะแล้วจะไม่มีปัญหาใดๆ เกิดขึ้นต่อกันเลย ท่านพุทธทาส
*ถ้าเราใช้พุทธศาสนาไม่ถูกเราก็จะติดอยู่กับการเรียนประวัติศาสตร์หรือวิชาการทางพุทธศาสนา บ้างก็มุ่งนำธรรมะไปขายอย่างเดียวก็เลยดับทุกข์ไม่ได้ซะที ท่านวิชรเมธี
*วันเกิดของเราเป็นวันที่เราควรระลึกถึงคุณพ่อคุณแม่ เพราะว่าวันเกิดเรานัน้ ที่จริงก็เป็นวันเกิดของพ่อแม่เราด้วย คือ ท่านเกิดความเป็นพ่อความเป็นแม่ของท่าน ท่านปยุตโต
*ถ้าต้องการชีวิตที่สงบเย็บเบาสบายมีอิสระเสรีก็ต้องนึกถึงพระพุทธเจ้า และต้องวิ่งไปหาความรู้ของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นความรู้ที่ปลดปลงภาระหนักของปุถุชนให้เบาลงได้ ท่านพุทธทาส
*เราเรียนพระพุทธศาสนาในสายวิชาการนั้นเราเรียนได้แต่ต้องไม่ลืมนะว่าเราเรียนพระพุทธศาสนาก็เพื่อจะดับทุกข์ไม่ใช่เรียนเพื่อดูถูกคนอื่น ท่านวชิรเมธี
*ความมีคิหิวินัย วินัยของคฤหัสถ์นี่ถ้าทำได้จริงสังคมไทยเราจะเจริญมั่นคงแน่ แต่แค่คิหิวินัยชาวพุทธก็ยังทำไม่ได้อย่าว่าแต่ทำไม่ได้เลยแค่รู้ก็ยังไม่รู้เลยว่าคิหิวินัยคืออะไร ท่านปยุตโต
*ความทุกข์เกิดมาจากความยึดมั่นถือมั่นว่า เป็นตัวตน เป็นของตน ถ้าเดือดจัดขึ้นมาก็เรียกว่า เป็นตัวกู เป็นของกู ความรู้สึกยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตนนี้เป็นของหนักเป็นความเร่าร้อน ท่านพุทธทาส
*คนหัวดื้อรั้นมีทิฏฐิมากจะไม่สามารถรับธรรมะได้ อาตมาไม่สอนนะ ท่านวชิรเมธี ท่านปยุตโต
*ถ้าจะไม่ให้มีความทุกข์เลยจิตต้องอยู่เหนือความหมายของสิ่งที่เป็นคู่ๆ คือ ไม่ได้ไม่เสีย ไม่แพ้ไม่ชนะ ไม่ดีใจไม่เสียใจ ให้มีสติระวังอย่าให้ไปหลงรักหลงเกลียดสิ่งที่เป็นคู่ๆอย่างนี้ ท่านพุทธทาส
*พระพุทธองค์กล่าวกับพระรูปหนึ่งที่มีจิตฟุ้งซ่านในการรักษาศีลให้สมบูรณ์ไม่ได้ว่าให้เธอรักษาใจไว้ให้ได้อย่างเดียวเธอจะรักษาทุกอย่างไว้ได้ ท่านวชิรเมธี
*คนเราส่วนใหญ่จะใช้เวลาไปกับการทำงานดังนั้นทำอย่างไรเราจะได้พัฒนาตัวเราให้เกิดประโยชน์และมีความสุขด้วยไม่ใช่สักแต่ว่าทำไปด้วยความฝืนใจและเป็นทุกข์ไปวันหนึ่งๆเท่านั้น ท่านปยุตโต
*การทำมาหากินเพื่อให้มีชีวิตรอดอยู่ได้เป็นหน้าที่ตามกฎของธรรมชาติถือว่าเป็นการปฏิบัติธรรมที่จะต้องทำให้ถูกต้องของความเป็นมนุษย์ด้วยเหมือนกัน ท่านพุทธทาส
*เพราะคนไม่มีความสันโดษจึงหาความสุขจากที่นี่และเดี๋ยวนี้ ไม่ได้ความสุขของเขากลายเป็นต้องไปอยู่ในเรื่องของอนาคตตลอดเวลา ท่านวชิรเมธี
*เรื่องการกินควรกินด้วยปัญญา คือกินเพื่อให้ดีต่อสุขภาพ แต่ถ้ากินตามความรู้สึกอร่อยไม่อร่อย หรือกินเพื่ออวดความโก้ซึ่งบางทีก็ไม่มีประโยชน์กับร่างกายอย่างนี้เรียกว่ากินโดยไม่ใช้ปัญญา ท่านปยุตโต
*ความเห็นแก่ตัวเป็นสิ่งเลวร้ายที่สุดของมนุษย์ ท่านพุทธทาส
*การปฏิบัติธรรมบางทีก็ไม่ต้องการคำอธิบายที่ฟุ้งเฟ้อ เพียงแต่ลงมือทำลงไปจริงๆ เขาก็จะได้รับผลจริงทันที เหมือนคนที่เอามือจุ่มลงในน้ำร้อนจะรู้ทันทีว่าร้อนเป็นยังไง ท่าน ว.วชิรเมธี
*คนเราพอพูดคำว่าแม่ขึ้นมาเท่านัน้แหละ ความรู้สึกดีๆทั้งหลายนั้นจะเกิดขึ้นมาเลย โดยไม่ต้องไปนึกให้เสียเวลา อันนี้คือ พระคุณของแม่ที่แท้จริงที่จะคุ้มครองเราได้ ท่านปยุตโต
*แม่ที่ดีควรสอนลูกให้เป็นคนรู้จักประหยัดเสียตั้งแต่ลูกยังเป็นเด็กเล็กอยู่ โลกจะน่าอยู่มากกว่านี้ถ้าทุกคนรู้จักใช้สิ่งของต่างๆ ด้วยความประหยัด ท่านพุทธทาส
*เราทุกคนจงรู้ไว้เถิดว่าพ่อกับแม่คือชีวิตของบ้าน ถ้าพ่อแม่ยังอยู่กับเราบ้านเรานั้นคือสวรรค์ เราควรดูแลท่านให้ดีที่สุด กราบพระหมื่นองค์แสนองค์อย่าลืมกราบพ่อกราบแม่ ท่านวชิรเมธี
*ตัณหา คือ ความอยากได้ ท่านปยุตโต
*มนุษย์มีสิ่งเลวร้ายอันหนึ่งที่ไม่ค่อยจะรู้จักกันนัก นั่นคือความหวัง ความหวังคือสิ่งที่ทรมานจิตใจของมนุษย์ ทำให้เป็นบ้า เป็นโรคประสาทได้ ถ้าเอาแต่หมกจมอยู่กับความหวัง ท่านพุทธทาส
*โลภะ โทสะ โมหะ สามตัวนี้พระพุทธเจ้าตั้งชื่อว่าอกุศลมูล แปลว่ารากเง่าของความชั่ว ซึ่งก็คือรากเง่าของความทุกข์ทั้งปวง ท่านวชิรเมธี
*ในเรื่องที่อยู่อาศัย เรื่องเผ่าพันธุ์ของตน เรื่องผลประโยชน์ เรื่องชนชั้นวรรณะ เรื่องวิชาความรู้ เป็นเรื่องที่มนุษย์หวงแหนแย่งชิงกันจนหาความสามัคคีกันจริงๆไม่ได้ ท่านปยุตโต
*อย่ามีชีวิตอยู่ด้วยความหวังชนิดที่แผดเผาจิตใจให้ร้อนรนอยู่ตลอดเวลา เพียงให้รู้ว่าจะต้องทำอย่างไร ท่านพุทธทาส
*เราจะเปลี่ยนแปลงให้เป็นประเทศที่มีความสุขมวลรวมประชาชาติ เราจะต้องเปลี่ยนคำถามของประเทศใหม่ จากคำถามที่ว่าทำยังไงถึงจะรวย เป็นถามว่าทำยังไงถึงจะมีความสุข ท่านวชิรเมธี
*เราปลูกมะม่วงเรามีเม็ดมะม่วง แต่เราไม่มีดิน น้ำ ปุ๋ย และอากาศที่พอเหมาะมะม่วงนั้นจะงอกงามขึ้นมาไม่ได้ เรื่องทำกรรมดีก็เช่นกันต้องมีเหตุปัจจัยพร้อมกรรมดีถึงจะส่งผลดีได้ ท่านปยุตโต
*บุตรที่มีฐานะดีกว่าหรือแย่กว่าหรือเสมอกันกับบิดา ท่านพุทธทาส
*ประเทศไทยมีความทุกข์กันมากเพราะไปสนใจกันอยู่เรื่องเดียวคือ เรื่องจีดีพีให้คุณค่าแต่เรื่องผลกำไรที่จะได้มา ซึ่งเป็นที่มาของความทุกข์มวลรวมประชาชาติ ท่านวชิรเมธี
*วิกฤตของประเทศไทยทุกวันนี้ มันเกิดจากวิฤตที่ใจคน มีความเห็นผิดเป็นชอบ คือ ทำความชั่วแล้วคิดว่าตัวเองจะอยู่ได้ไม่เป็นไร ท่าน ว.วชิรเมธี
*การสนับสนุนให้คนได้ทำความดี เรื่องนี้สำคัญมาก บางทีเมื่อเราให้โอกาสคนมาสร้างสรรทำความดี เขาลืมทำความชั่วไปเอง การแก้ปัญหามากมายนั้น ก็คือแก้โดยให้มีสิ่งที่ดีๆ มาให้เขาทำ ท่านปยุตโต
*คำว่าเชื่อฟังนี้สำคัญมาก เดี๋ยวนี้เยาวชนกำลังเดินไปสู่ความวินาศ ติดการพนัน ติดยาเสพติด หรือเหลวไหลในการเรียนเพราะไม่เชื่อฟังบิดามารดา ครูบาอาจารย์ ท่านพุทธทาส
*เราจะคิดอะไรนั้นต้องคิดบนพื้นฐานของการมีสติ หมายความว่า เมื่อเราจะคิดอะไร เราก็คิดด้วยการรู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลา ท่านวชิรเมธี
*ปัญหาของพุทธศาสนาคือการขาดการศึกษา พระที่บวชเข้ามาไม่ได้เรียนอะไรเลย สมัยก่อนเขาเรียกว่าบวชเรียน เดี๋ยวนี้เหลือแต่บวชตามประเพณี บวชเข้าไปแล้วก็อยู่เฉยๆ พระธรรมวินัยก็ไม่รู้จัก ท่านปยุตโต
*มีคำตรัสของพระพุทธเจ้าว่า บิดามารดาเป็นพระพรหมของบุตร บุตรจะลงนรกหรือขึ้นสวรรค์ก็แล้วแต่การสร้างสรรค์ของบิดามารดา ท่านพุทธทาส
*คนทั่วไปจะคิดอะไรมักอยู่ในกรอบของความคิดมากเกินไป จนยึดติดอยู่ในกรงขังแห่งความคิด เราจึงมองไม่เห็นคนที่อยู่ตรงหน้าเราด้วยความจริงใจ ท่านปยุตโต
*เรื่องการปล่อยวางนั้นปล่อยวางได้ แต่อย่าปล่อยปละละเลย ปล่อยวางนั้นเป็นเรื่องของจิตใจที่ไม่ยึดติดถือมั่น แต่ปล่อยปละละเลยเป็นความประมาท เป็นอกุศลเป็นความเสื่อม ท่านปยุตโต
*รักผู้อื่นเป็นหัวใจของศาสนาทุกศาสนา เมื่อใดที่ทุกคนรู้จักการรักด้วยน้ำตานองหน้าอย่าทำ แค่นี้เองมันครอบคลุมการกระทำของเรา ไม่ทุกคนจะมีแต่ความรักความเมตตาให้แก่กัน ท่านพุทธทาส
*กิเลสมันเกิดได้ง่ายๆ ถ้าเราปล่อยให้มันเกิดขึ้นบ่อยๆ เช่น เมื่อโลภครั้งหนึ่งมันก็เก็บไว้หน่วยหนึ่ง เมื่อสะสมมากเข้ามันก็จะเคยชินที่จะแสดงความโลภออกมาได้ง่าย ความโกธรกับความหลงก็เช่นเดียวกัน
*มีภาษิตว่า ความเพียรของมนุษย์ เทวดาก็กีดกันไม่ได้ ก็หมายความว่าพุทธศาสนาไม่ยอมให้แพ้แก่โชคชะตา ให้ใช้ความเพียรพยายามด้วยปัญญาแล้วจะเอาชนะโชคชะตาได้ ท่านปยุตโต
*มีสักกี่คนในโลกนี้ที่ดำเนินชีวิตด้วยปัญญา ไม่วิ่งตามยุคสมัย ไม่วิ่งตามแฟชั่น ไม่เห่อตามสิ่งไร้สาระ เหมือนเช่นในหลวงของเรา ท่านวชิรเมธี
*พระพุทธเจ้าตรัสว่าบิดามารดาเป็นปุพพาจารย์ คือ เป็นอาจารย์คนแรกของบุตร ถ้าสอนดีอบรมดี มันก็ง่ายที่เด็กคนนั้นจะเติบโตขึ้นเป็นคนดี เพราะมีพื้นฐานของจิตใจมาในทางที่ดี ท่านพุทธทาส
*ศาสนาพราหมณ์ถือว่าเทพเจ้านั้นสูงสุด เป็นผู้บันดาลทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นไปตามอำนาจ พุทธศาสนาสอนใหม่ บอกว่าชาวพุทธถือธรรมะเป็นใหญ่ มนุษย์กับเทวดาจะชนะกันก็ที่ธรรมะ ท่านปยุตโต
*การบริโภคแบบคุณค่าแท้ คือ บริโภคที่ประโยชน์ของมันตรงๆและบริโภคแบบหลงในคุณค่าเทียมในแบรนด์เนม เมืองไทยเราตอนนี้หลงใหลกันอยู่กับคุณค่าเทียมมากกว่าคุณค่าแท้ ท่านวชิรเมธี
*ขอให้สนใจเรื่องของจิตใจที่ควรเป็นไปในความถูกต้อง ที่เรียกว่า บุญ อย่าให้เป็นไปในความผิดพลาด ที่เรียกว่า บาป เด็กสมัยนี้หัวเราะเยาะ คำว่า บุญว่าบาป ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ท่านพุทธทาส
*เราอย่าไปหลงว่าต้องมีเท่านั้นเท่านี้จึงจะทำงานได้ มันต้องเหมือนกับคนจีนที่มามือเปล่าแล้วก็มาเป็นเจ้าสัวเยอะแยะ เขาตั้งตัวได้โดยไม่มีเงินแม้แต่บาทเดียวดูสิเขาทำยังไง ท่านพุทธทาส
*คนที่เป็นพ่อเป็นแม่นี่เมื่อมีลูกแล้วก็ต้องการอยากให้ลูกเป็นสุข อยากให้ลูกมีความสุข ลักษณะอย่างนี้แหละ ที่เรียกว่า ความรักความเมตตา ท่านปยุตโต
*เสียงที่สะท้อนเข้ามายังเรา ถ้าเราฟังให้ดี มันจะเป็นกระจกเงา ท่าน ว.วชิรเมธี
*คนสมัยนี้ ถามว่า ทำไมไม่ทิ้งบุหรี่ ไม่ทิ้งเหล้า เขาบอกว่าสังคมเขาไม่ยอม สังคมเขายังสูบยังกินเหล้าอยู่ แล้วทำไม ไม่บอกสังคมไปว่า เราเป็นโรคชนิดหนึ่ง ซึ่งกินเหล้าสูบบุหรี่ไม่ได้หละ ท่านพุทธทาส
*พระในสมัยก่อน จะแจกวัตถุมงคลให้กับชาวบ้าน ท่านไม่ได้ให้ง่ายๆ ไม่กลาดเกลื่อน ใครจะได้นี่ยากมาก ต้องประพฤติตนเป็นคนดี อยู่ในศีลในธรรม พระจึงคุ้มครอง ท่านปยุตโต
*การเป็นผู้นำที่ดี ต้องติดดิน ต้องปล่อยความรู้สึกว่าฉันเก่ง ฉันแน่ ฉันดี ทิ้งไปให้หมด แล้วติดดิน ถ้าติดดิน เราจะเข้าใจโลก เราจะชนะใจชาวโลก ท่าน ว.วชิรเมธี
ท่านพุทธทาส
*เครื่องรางของขลังวัตถุมงคลในปัจจุบันนี้ไม่ได้เป็นไปในทางศีลในทางธรรมเลย เป็นแต่เรื่องหาลาภผลหาเงินทองกันอย่างเป็นเรื่องแต่หาลาภผลหาเงินทองกันอย่างเดียวเป็นที่ตั้งแห่งความโลภมากกว่าเรื่องศีลธรรม ท่านปยุตโต
*เรื่องทิฏฐินี่สำคัญมาก ธรรมเทศนากัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้า เทศน์เรื่องสัมมาทิฏฐิ แปลว่าความเข้าใจที่ถูกต้อง เราจะทำอะไรก็ตาม เราต้องทำความเข้าใจให้ถูกต้องเสียก่อน ท่าน ว.วชิรเมธี
*เมื่อเราฝึกจิตให้เป็นสมาธิแล้ว ก็เพ่งดูลงไปในสิ่งต่างๆทั้งหลายว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนันตา โดยที่เราไม่ไปคิดนำ แต่ให้เพ่งดูจนเห็น ท่านพุทธทาส
*พระควรทำหน้าที่ช่วยดึงคนขึ้นมาจากความหลงโง่งม ให้ธรรมะให้สติปัญญา ถ้าไปทำเพียงเพื่อให้คนสบายใจหายจากความหวาดกลัวเพียงเท่านัน้ พระก็เป็นได้แค่หมอผี ท่านปยุตโต
*เราทำงานหาเงินจนลืมไปว่าร่างกายมันไม่ใช้หุ่นยนต์กลไก มันมีวันสึกหรอมันมีวันหมดอายุ ถ้าเราวิ่งตามกิเลสของตัวเองแสวงหาเป็นหมาไล่เนื้อทั้งชีวิต สุดท้ายเราจะตายอย่างน่าสังเวช ท่าน ว.วชิรเมธี
*เดี๋ยวนี้คนเป็นอันมากเริ่มเป็นโรคประสาท คือไม่รู้สึกพอใจในความมีชีวิตของตน แต่ละวันๆ มีแต่ความคิดที่วิปริตฟุ้งซ่าน มีแต่ธรรมะเท่านัน้ที่จะช่วย ให้เขาดำรงจิตไว้ได้อย่างถูกต้อง ท่านพุทธทาส
*พระพุทธเจ้าไม่เสียเวลาเถียงว่าเทวดามีหรือไม่ ฤทธิ์ปาฏิหาริย์มีหรือไม่ เพราะการปฏิบัติพระพุทธศาสนาไม่ได้ขึ้นอยู่กับการถกเถียงเรื่องเหล่านี้ เพราะถึงมีจริงท่านก็ไม่ให้ไปหวังพึ่ง ท่านปยุตโต
*ตัณหา ความโลภไม่รู้จักสิ้น มานะความหยิ่งผยองว่าฉันเก่งฉันแน่ ทิฏฐิมีปรัชญาการดำเนินชีวิตอย่างผิดๆ เรามีปัญหากันทั่วบ้านทั่วเมือง ก็เพราะกิเลสสามตัวนี้ ท่าน ว.วชิรเมธี
*พระพุทธเจ้าตรัสว่า ถ้าตั้งจิตไว้ถูกต้องแล้ว ผลดีมีความสุขจะได้รับ ยิ่งกว่าญาติมิตรทั้งหลายจะรวมกันทำให้ได้ซะอีก ท่านพุทธทาส
*ประชาธิปไตยมีประชาชนเป็นใหญ่ แต่ประชาชนจำนวนมาก ตกอยู่ในความประมาท มัวแต่จ้องเอาประโยชน์ขัดแย้งซึ่งกัน ประชาธิปไตยจะไปไม่รอดแน่ ถ้าไม่มีธรรมะเป็นใหญ่ ท่านปยุตโต
*บางครั้งเรามักจะประมาทกับคำว่าไม่เป็นไรหรอกแค่ครั้งเดียวเอง แต่แค่ครั้งเดียวนั่นแหละ มันทำให้เราต้องสูญเสียไปทั้งชีวิต ท่าน ว.วชิรเมธี
*คนที่ใจบุญนัน้ใครก็อยากอยู่ใกล้ อย่าว่าแต่มนุษย์เลย แม้แต่สัตวเดรัจฉานมันก็ดูหน้าคนเป็น คนหน้าชนิดนี้มันเป็นคนใจบุญหรือไม่ ไม่เชื่อก็ขอให้สังเกตดูเถอะ ท่านพุทธทาส
*คนเราพอสุขสบายแล้วมีความโน้มเอียงว่าจะเฉื่อยจะเพลิน ต้องมีอะไรมาบีบคั้น จึงจะลุกขึ้นกระตือรือร้นทำโน่นทำนี่ ดิ้นรนขวนขวาย พุทธศาสนาจึงต้องย้ำความไม่ประมาท ท่านปยุตโต
*อุบัติเหตุมักจะเกิดกับรถที่วิ่งอยู่ทางตรงทางเรียบ ชีวิตเราก็เช่นกันมักจะผิดพลาดตอนที่ชีวิตกำลังไปได้ด้วยดี เพราะเรามักจะประมาทในตอนนั้น ท่าน ว.วชิรเมธี
*หัวใจของพระพุทธศาสนา พูดเรื่องการดับทุกข์ คือพูดเรื่องทุกข์ก็เพื่อให้รู้จักความทุกข์ แล้วก็จะได้ดับความทุกข์นัน้เสีย ท่านพุทธทาส
*พุทธศาสนาเป็นของพุทธบริษัททั้งสี่ จึงมีสิทธิเท่ากันในการดูแลรักษา ไม่ใช่ว่ายกให้พระเป็นผู้ดูแลเพียงฝ่ายเดียว พอเกิดเรื่องไม่ดีไม่งามขึ้น ก็บอกว่าฉันไม่เกี่ยวอย่างนี้ไม่ถูก ท่านปยุตโต
*เราเรียนวิชาการในพระพุทธศาสนานัน้ เราเรียนได้แต่ต้องไม่ลืมนะว่า เราเรียนเพื่อจะดับทุกข์ไม่ใช่เรียนเพื่อจะดูถูกคนอื่นถ้าเราทำผิดแล้วบอกว่าเชื่อเถอะ ไม่มีใครรู้หรอก นี่ขอให้รู้ไว้เลยว่าความลับไม่มีในโลก แม้คนอื่นไม่รู้แต่จิตสำนึกของเราเองนั่นแหละที่รู้ และมันได้เก็บข้อมูลสิ่งที่เราทำไว้หมดแล้ว ท่าน ว.วชิรเมธี
*เราเกิดมาเพื่อทำโลกนี้ให้งดงาม เพื่อทำความพอใจ ท่านพุทธทาส
*คนไทยนี่ไม่มีรังเกียจเดียดฉันท์คนพวกอื่น ไม่ว่าจะเป็นลัทธิศาสนาไหนก็อยู่กันด้วยดี เป็นอย่างนี้มายาวนานแล้ว นี่ก็เพราะแนวคำสอนของพระพุทธศาสนาให้มีเมตตากรุณา ท่านปยุตโต
*ถ้าเราทำผิดแล้วบอกว่าเชื่อเถอะ ไม่มีใครรู้หรอก นี่ขอให้รู้ไว้เลยว่าความลับไม่มีในโลก แม้คนอื่นไม่รู้แต่จิตสำนึกของเราเองนั่นแหละที่รู้ และมันได้เก็บข้อมูลสิ่งที่เราทำไว้หมดแล้ว ท่าน ว.วชิรเมธี
*หลักพุทธภาษิตว่าจงประพฤติธรรมะให้สุจริต ก็เพราะมีคนประพฤติธรรมะไม่สุจริต ต้องทำความดีก็เพื่อสนองกิเลสตัณหาของตัวเอง เป็นการทำดีบังหน้า ท่านพุทธทาส
*ชาวไทยเรามีจิตใจที่เปิดกว้างให้สิทธิและเสรีภาพในการนับถือศาสนา ไม่ว่าจะเป็นศาสนาไหนๆเราก็ไม่ไปกีดกันหรือจำกัดสิทธิในการเผยแพร่ศาสนา ท่านปยุตโต
*เราคบเพื่อนต้องรู้จักความพอดี ถ้าเข้าไปในชีวิตเพื่อนมากเกินไป ก็ไม่ดี ไม่ดูแลช่วยเหลือเพื่อนเลย ท่านพุทธทาส
*เป็นคนไทยบอกว่านับถือพุทธศาสนา แต่ไม่รู้ว่าพุทธศาสนาสอนอะไร ไม่รู้ว่าเชื่ออย่างไรถูก เชื่ออย่างไรผิด ไปขูดต้นไม้บ้างหรือสัตว์ที่เกิดมาพิการก็ไปไหว้หาเลขบ้าง อย่างนี้หรือคือชาวพุทธ ท่านปยุตโต
*คนสมัยก่อนท่านไม่ได้มีความรู้มาก แต่ท่านรู้ดี คนเดี๋ยวนี้รู้มากแต่รู้ไม่ดี หมายความว่า รู้ทุกอย่างที่จะทำให้ตัวเองได้กำไรสูงสุดโดยไม่คำนึงถึงความผิดถูกอย่างไร ท่าน ว.วชิรเมธี
*อุเบกขาที่ถูกต้องนัน้มีปัญญารู้แล้ววางเฉยได้ด้วยไม่ประมาท ส่วนเขาดีกว่าเรา เขารวยกว่าเรา เราจึง ท่านพุทธทาส
*มีหลักสั้นๆอยู่ข้อหนึ่งว่า อะไรก็ตามเมื่อทำไปแล้วต้องมานั่งนึกถึงอุเบกขาที่ผิด คือพวกเฉยคือความไม่รู้จึงเฉยเมยแล้วไม่เอาเรื่อง เอาให้ผิดพลาดได้ทุกอย่างเลย ท่าน ว.วชิรเมธี |