บทขัดธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสูตร
อะนุตตะรัง อะภิสัมโพธิง สัมพุชฌิต๎วา ตะถาคะโต ปะฐะมัง ยัง อะเทเสสิ ธัมมะจักกัง อะนุตตะรัง สัมมะเทวะ ปะวัตเตนโต โลเก อัปปะฏิวัตติยัง ยัตถากขาตา อุโภ อันตา ปะฏิปัตติ จะ มัชฌิมา จะตูส๎วาริยะสัจเจสุ วิสุทธัง ญาณะทัสสะนัง เทสิตัง ธัมมะราเชนะ สัมมาสัมโพธิกิตตะนัง นาเมนะ วิสสุตัง สุตตัง ธัมมะจักกัปปะวัตตะนัง เวยยากะระณะปาเฐนะ สังคีตันตัมภะณามะ เส ฯ
ธัมมะจักกัปปะวัตตะนะสุตตัง
เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเย ฯ ตัต๎ระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิ ฯ ท๎เวเม ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต ฯ เอเต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติ ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ฯ ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะ- โทมะนัสสุปายาสาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ฯ ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัต๎ระ ตัต๎รา ภินันทินี ฯ เสยยะถีทัง ฯ กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหา ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง ฯ โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโย ฯ อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ฯ อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค ฯ เสยยะถีทัง ฯ สัมมา ทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิ ฯ อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติเม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตังโข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหีนันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิ ฯ
ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ท๎วาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ท๎วาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิ ฯ อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพ๎รัห๎มะเก สัสสะมะณะพ๎ราห๎มะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิง ฯ ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติ ฯ อิทะมะโวจะ ภะคะวา ฯ อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง ฯ อิมัส๎มิญจะ ปะนะ เวยยา- กะระณัส๎มิง ภัญญะมาเน อายัส๎มะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สะมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติ ฯ ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง
สะมะเณนะ วา พ๎ราห๎มะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พ๎รัห๎มุนา วา เกนะจิ วา โลกัส๎มินติ ฯ ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ จาตุมมะหา- ราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสาเวสุง ฯ ปะระนิม- มิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา พ๎รัห๎มะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พ๎รัห๎มะปาริ- สัชชานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา พ๎รัห๎มะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พ๎รัห๎มะปะ- โรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา มะหาพ๎รัห๎มา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ มะหาพ๎รัห๎มานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา
ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณะ สุภานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา สุภะกิณหะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุภะกิณ๎หะกานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา (อะสัญญิสัตตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง อะสัญญิสัตตานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา) เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุต๎วา
สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุ ต๎วา อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พ๎ราห๎มะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ พ๎รัห๎มุนา วา เกนะจิ วา โลกัสะมินติ ฯ อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พ๎รัห๎มะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ ฯ อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ ฯ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวัง ฯ อะถะ โข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติ ฯ อิติหิทัง อายัส๎มะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญต๎เววะ นามัง อะโหสีติ ฯ

คำแปล
ข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ ณ ป่าสิปตนมฤคทายวัน ใกล้พระนคร พาราณสี ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสเตือนพระภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า (ส่วนที่สุด ๒ อย่าง) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ที่สุดแห่งการกระทำสองอย่างเหล่านี้มีอยู่ เป็น สิ่งที่บรรพชิตไม่ควรข้องแวะเลย นี้คือ (๑) การประกอบตนพัวพันอยู่ด้วย ความใคร่ในกามทั้งหลาย เป็นของต่ำทราม เป็นของชาวบ้าน เป็นของคนชั้น ปุถุชน ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย นี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง คือ (๒) การประกอบการทรมานตนให้ลำบาก เป็นสิ่งนำมาซึ่ง ทุกข์ ไม่ใช่ข้อปฏิบัติของพระอริยเจ้า ไม่ประกอบด้วยประโยชน์เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติเป็นทางสายกลาง ไม่เข้าไปหาที่สุด แห่งการกระทำสองอย่างนั้น มีอยู่ เป็นข้อปฏิบัติ ที่ตถาคตได้ตรัสรู้พร้อม เฉพาะแล้ว ก่อให้เกิดดวงตาเห็นธรรม ก่อให้เกิดปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อ ความสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้แจ้ง และเพื่อดับทุกข์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้ ก่อให้เกิดดวงตา เห็นธรรม ก่อให้เกิดปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบกิเลส เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้แจ้ง และเพื่อดับทุกข์นั้น เป็นอย่างไรเล่า
ข้อปฏิบัติที่เป็นทางสายกลางนั้น คือข้อปฏิบัติ อันเป็นหนทางอัน ประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้นั่นเอง ได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ การเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ และความตั้งจิตชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางสายกลาง ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ก่อให้เกิด ดวงตาเห็นธรรม ก่อให้เกิดปัญญา ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบกิเลส เพื่อความ รู้ยิ่ง และเพื่อดับทุกข์ (ทุกข์) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจจ์ คือทุกข์ (ทุกข) นี้ มีอยู่ คือความเกิด ก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความโศก ความร่ำไร รำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจก็เป็นทุกข์ ความ ประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รักที่พอใจก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ที่พอใจก็เป็นทุกข์ มีความปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อ อุปาทานขันธ์ทั้งห้า เป็นตัวทุกข์ (ทุกขสมุทัย) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจจ์ คือเหตุให้เกิดทุกข์ (ทุกขสมุทัย) นี้ มีอยู่ นี้คือความทะยานอยาก (ตัณหา) อันเป็นความผูกพันที่ก่อให้เกิดภพ ใหม่ ประกอบด้วยความยินดี ความพอใจ ความเพลิดเพลินในอารมณ์นั้นๆ กล่าวคือ ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่ ความทะยานอยากในความอยาก มีอยากเป็น และความทะยานอยากในความไม่อยากมีไม่อยากเป็น
(ทุกขนิโรธ) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจจ์ คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ (ทุกข นิโรธ) นี้ มีอยู่ คือความดับสนิทแห่งตัณหาทั้งหมด เป็นความสละทิ้ง เป็น ความสลัดคืน เป็นความปล่อย และเป็นความไม่พัวพันกับตัณหานั้น (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อริยสัจจ์ คือข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับ ไม่เหลือแห่งทุกข์ (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) นี้ มีอยู่ คือ ข้อปฏิบัติอันเป็น หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการ นี้นั่นเอง ได้แก่ ความ เห็นชอบ ความดำริชอบ การพูดจาชอบ การทำการงานชอบ การเลี้ยงชีวิต ชอบ ความพากเพียรชอบ ความระลึกชอบ และความตั้งใจมั่นชอบ. (นี้คือทุกข์) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้น แล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า (อุปาทานขันธ์ทั้งห้า) นี้คืออริยสัจจ์ที่ เป็นทุกข์ เป็นอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้ (ควรกำหนดรู้ทุกข์) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้น แล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่
ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า อริยสัจจ์คือทุกข์นั้น เป็นธรรมที่ควร กำหนดรู้ ดังนี้ (ทรงกำหนดรู้ทุกข์แล้ว) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้น แล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า เราได้กำหนดรู้อริยสัจจ์ คือทุกข์นั้น แล้ว ดังนี้ (นี้คือทุกขสมุทัย) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้น แล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า (ตัณหา) นี้คือ อริยสัจจ์ที่เป็นเหตุให้ เกิดทุกข์ (ทุกขสมุทัย) เป็นอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้ (ควรละทุกขสมุทัย) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้น แล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า อริยสัจจ์ที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็น ธรรมที่ควรละ ดังนี้
(ทรงละทุกขสมุทัยแล้ว) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้น แล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า เราได้ละอริยสัจจ์ที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ นั้นแล้ว ดังนี้ (นี้คือทุกขนิโรธ) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้น แล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า (นิพพาน) นี้คือ อริยสัจจ์ที่เป็นความ ดับไม่เหลือแห่งทุกข์ (ทุกขนิโรธ) เป็นอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้ (ควรทำให้แจ้งทุกขนิโรธ) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้น แล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า อริยสัจจ์คือความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ นั้น เป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ดังนี้ (ทรงทำให้แจ้งทุกขนิโรธแล้ว) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้น แล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้น เราได้ ทำให้แจ้งแล้ว ดังนี้
(นี้คือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้น แล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า (อริยมรรค) นี้คือ อริยสัจจ์ที่เป็นข้อ ปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์ (ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) เป็นอย่างนี้อย่างนี้ ดังนี้ (ควรเจริญทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้น แล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า อริยสัจจ์ที่เป็นข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้น เป็นธรรมที่ควรเจริญให้เกิดมีขึ้น ดังนี้ (ทรงเจริญทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาแล้ว) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้น แล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้ว แก่ ตถาคตในธรรมที่ไม่เคยสดับมาก่อนว่า อริยสัจจ์ที่เป็นข้อปฏิบัติที่ทำสัตว์ให้ลุ ถึงความดับไม่เหลือแห่งทุกข์นั้น เราได้เจริญให้เกิดมีขึ้นแล้ว ดังนี้ (ไม่ทรงปฏิญาณว่าเป็นพุทธะก่อน) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบที่ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามความเป็นจริง ซึ่ง มีปริวัฏฏ์ (รอบ) ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ในอริยสัจจ์สี่ ยังไม่เป็นของบริสุทธิ์
หมดจดแก่ตถาคตอยู่เพียงใด, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตยังไม่ปฏิญาณว่า เป็นผู้ตรัสรู้ อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก ในเทวโลก ใน มารโลก และในพรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมทั้ง เทวดาและมนุษย์ (ได้ทรงปฏิญาณว่าเป็นพุทธะแล้ว) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตราบที่ปัญญาเครื่องรู้เห็นตามความเป็นจริง ที่มี ปริวัฏฏ์ (รอบ) ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ในอริยสัจจ์สี่ ได้หมดจดแก่ตถาคต แล้ว, ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตได้ปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่ง อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยมในโลก ในเทวโลก ในมารโลก และ ในพรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ (ปัจจเวกขณญาณ) ปัญญารู้เห็นได้เกิดแก่ตถาคตว่า, ความหลุดพ้นของตถาคตไม่กลับ กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย บัดนี้ความเกิดอีกย่อมไม่มีแก่ตถาคต ดังนี้ (พระปัญจวัคคีย์ปลาบปลื้มภาษิต) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสธรรมจักรนี้แล้ว, พระปัญจวัคคีย์ก็มีใจปลาบ ปลื้มภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า (ท่านโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม) เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระธรรมเทศนานี้อยู่, ดวงตาเห็นธรรม อันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้บังเกิดแก่ท่านโกณฑัญญะว่า “สิ่งใดสิ่ง หนึ่ง มีสภาพเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนั้น มีสภาพดับไปเป็นธรรมดา” (ทวยเทพป่าวประกาศ) เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรมจักรแล้ว, เหล่าภุมเทวดาก็ ยังเสียงให้บันลือลั่น, ว่าพระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี เป็นธรรมที่สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก จะคัดคา้ นไมไ่ ด ้ ดังนี้ เหล่าเทวดาชั้นจาตุมหาราช ได้ยินเสียงของเหล่าภุมเทวดาแล้ว ก็ยัง เสียงให้บันลือลั่น เหล่าเทวดาชั้นตาวะติงสา (ดาวดึงส์) ได้ยินเสียงของเหล่าเทวดาชั้น จาตุมหาราชแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เหล่าเทวดาชั้นยามา ได้ยินเสียงของเหล่าเทวดาชั้นดาวดึงส์แล้ว ก็ ยังเสียงให้บันลือลั่น เหล่าเทวดาชั้นดุสิต ได้ยินเสียงของเหล่าเทวดาชั้นยามาแล้ว ก็ยัง เสียงให้บันลือลั่น เหล่าเทวดาชั้นนิมมานรดี ได้ยินเสียงของเหล่าเทวดาชั้นดุสิตแล้ว ก็ ยังเสียงให้บันลือลั่น เหล่าเทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี ได้ยินเสียงของเหล่าเทวดาชั้น นิมมานรดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เหล่าเทพในชั้นพรหมปาริสัชชา ได้ยินเสียงของเหล่าเทวดาชั้น ปรนิมมิตสวัตดีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น
เหล่าเทพในชั้นพรหมปุโรหิตา ได้ยินเสียงของเหล่าเทพในชั้นพรหม ปาริสัชชาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เหล่าเทพในชั้นมหาพรหมา ได้ยินเสียงของเหล่าเทพในชั้นพรหม ปุโรหิตาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เหล่าเทพในชั้นปริตตาภา ได้ยินเสียงของเหล่าเทพในชั้นมหาพรหมา แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เหล่าเทพในชั้นอัปปมาณาภา ได้ยินเสียงของเหล่าเทพในชั้นปริตตาภา แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เหล่าเทพในชั้นอาภัสสรา ได้ยินเสียงของเหล่าเทพในชั้นอัปปณามาภา แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เหล่าเทพในชั้นปริตตสุภา ได้ยินเสียงของเหล่าเทพในชั้นอาภัสสรา แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เหล่าเทพในชั้นอัปปมาณสุภา ได้ยินเสียงของเหล่าเทพในชั้นปริตต สุภาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เหล่าเทพในชั้นสุภกิณหา ได้ยินเสียงของเหล่าเทพในชั้นอัปปมาณ สุภาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เหล่าเทพในชั้นเวหัปผลา ได้ยินเสียงของเหล่าเทพในชั้นสุภกิณหา แล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เหล่าเทพในชั้นอวิหา ได้ยินเสียงของเหล่าเทพในชั้นเวหัปผลาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น เหล่าเทพในชั้นอตัปปา ได้ยินเสียงของเหล่าเทพในชั้นอวิหาแล้ว ก็ ยังเสียงให้บันลือลั่น
เหล่าเทพในชั้นสุทัสสา ได้ยินเสียงของเหล่าเทพในชั้นอตัปปา ก็ยัง เสียงให้บันลือลั่น เหล่าเทพในชั้นสุทัสสี ได้ยินเสียงของเหล่าเทพในชั้นสุทัสสาแล้ว ก็ ยังเสียงให้บันลือลั่น เหล่าเทพในชั้นอกนิฏฐา ได้ยินเสียงของเหล่าเทพในชั้นสุทัสสีแล้ว ก็ ยังเสียงให้บันลือลั่น ว่าพระผู้มีพระภาคได้ทรงแสดงธรรมจักรอันยอดเยี่ยม ณ ป่าอิสิปตน มฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี เป็นธรรมที่สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกจะคัดค้านไม่ได้ ดังนี้ โดยชั่วขณะนั้น เสียงบันลือลั่นได้แพร่สะบัดไปถึงพรหมโลก ด้วย ประการฉะนี้ (เกิดแผ่นดินไหวและโอภาส) ทั้งหมื่นโลกธาตุนี้, ได้สั่นสะเทือนหวั่นไหว, และเกิดโอภาสอันใหญ่ หลวงหาประมาณมิได้ในโลก, ยิ่งกว่าเทวานุภาพของเทวดาทั้งหลาย ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งอุทานว่า, ท่านทั้งหลาย โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ ท่านทั้งหลาย โกณฑัญญะรู้แล้วหนอ, เพราะเหตุนั้น ท่านโกณฑัญญะจึงปรากฏสมญานามว่า พระอัญญาโกณฑัญญะ (โกณฑัญญะ ผู้รู้) ด้วยประการฉะนี้แล.
ที่มาคำแปล : หนังสือสวดมนต์แปล มหามกุฏราชวิทยาลัย

ท่านผู้มีจิตศรัทธาต้องการจัดพิมพ์พระสูตรต่างๆตามบทสวดในหนังสือสวดมนต์ฉบับพุทธบริษัทของวัดป่ามะไฟแจกเป็นธรรมทาน กรุณาติดต่อโดยตรงที่ วัดป่ามะไฟ ต.โคกไม้ลาย อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
(ท่านพระครูภาวนาธรรมธารี : tel 081-983 6770)
|