สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คิริมานันทะสุตตะปาโฐ

คิริมานันทะสุตตะปาโฐ

หนังสือสวดมนต์...ฉบับพุทธบริษัท
วัดป่ามะไฟ ตำบลโคกไม้ลาย อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี


คิริมานันทะสุตตะปาโฐ


เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง
วิหะระติ เชตะวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม ฯ เตนะ โข
ปะนะ สะมะเยนะ อายัส๎มา คิริมานันโท อาพาธิโก โหติ
ทุกขิโต พาฬ๎หะคิลาโน ฯ อะถะโข อายัส๎มา อานันโท เยนะ
ภะคะวา เตนุปะสังกะมิ อุปะสังกะมิต๎วา ภะคะวันตัง อะภิวาเทต๎วา
เอกะมันตัง นิสีทิ ฯ เอกะมันตัง นิสินโน โข อายัส๎มา อานันโท
ภะคะวันตัง เอตะทะโวจะ ฯ
อายัส๎มา ภันเต คิริมานันโท อาพาธิโก ทุกขิโต
พาฬ๎หะคิลาโน สาธุ ภันเต ภะคะวา เยนายัส๎มา คิริมานันโท
เตนุปะสังกะมะตุ อะนุกัมปัง อุปาทายาติ ฯ สะเจ โข ต๎วัง
อานันทะ คิริมานันทัสสะ ภิกขุโน อุปะสังกะมิต๎วา ทะสะ
สัญญา ภาเสยยาสิ ฐานัง โข ปะเนตัง วิชชะติ ยัง คิริมานันทัสสะ
ภิกขุโน ทะสะ สัญญา สุต๎วา โส อาพาโธ ฐานะโส ปะฏิปปัส-
สัมเภยยะ ฯ กะตะมา ทะสะ ฯ อะนิจจะสัญญา อะนัตตะสัญญา
อะสุภะสัญญา อาทีนะวะสัญญา ปะหานะสัญญา วิราคะสัญญา
นิโรธะสัญญา สัพพะโลเก อะนะภิระตะสัญญา สัพพะสังขาเรสุ
อะนิจจะสัญญา อานาปานัสสะติ ฯ
กะตะมา จานันทะ อะนิจจะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา
อิติ ปะฏิสัญจิกขะติ รูปัง อะนิจจัง เวทะนา อะนิจจา สัญญา
อะนิจจา สังขารา อะนิจจา วิญญาณัง อะนิจจันติ ฯ อิติ อิเมสุ
ปัญจะสุ อุปาทานักขันเธสุ อะนิจจานุปัสสี วิหะระติ ฯ อะยัง
วุจจะตานันทะ อะนิจจะสัญญา ฯ
กะตะมา จานันทะ อะนัตตะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา
อิติ ปะฏิสัญจิกขะติ จักขุง อะนัตตา รูปา อะนัตตา โสตัง
อะนัตตา สัททา อะนัตตา ฆานัง อะนัตตา คันธา อะนัตตา
ชิวหา อะนัตตา ระสา อะนัตตา กาโย อะนัตตา โผฏฐัพพา
อะนัตตา มะโน อะนัตตา ธัมมา อะนัตตาติ ฯ อิติ อิเมสุ ฉะสุ
อัชฌัตติกะพาหิเรสุ อายะตะเนสุ อะนัตตานุปัสสี วิหะระติ ฯ
อะยัง วุจจะตานันทะ อะนัตตะสัญญา ฯ
กะตะมา จานันทะ อะสุภะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อิมะเมวะ กายัง อุทธัง ปาทะตะลา อะโธ เกสะมัตถะกา
ตะจะปะริยันตัง ปูรันนานัปปะการัสสะ อะสุจิโน ปัจจะเวกขะติ
อัตถิ อิมัส๎มิง กาเย เกสา โลมา นะขา ทันตา ตะโจ มังสัง
นะหารู อัฏฐี อัฏฐิมิญชัง วักกัง หะทะยัง ยะกะนัง กิโลมะกัง
ปิหะกัง ปัปผาสัง อันตัง อันตะคุณัง อุทะริยัง กะรีสัง ปิตตัง
เสมหัง ปุพโพ โลหิตัง เสโท เมโท อัสสุ วะสา เขโฬ สิงฆาณิกา
ละสิกา มุตตันติ ฯ อิติ อิมัส๎มิง กาเย อะสุภานุปัสสี วิหะระติ ฯ
อะยัง วุจจะตานันทะ อะสุภะสัญญา ฯ
กะตะมา จานันทะ อาทีนะวะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา
อิติ ปะฏิสัญจิกขะติ พะหุทุกโข โข อะยัง กาโย พะหุอาทีนะโวติ ฯ
อิติ อิมัส๎มิง กาเย วิวิธา อาพาธา อุปปัชชันติ ฯ เสยยะถีทัง ฯ
จักขุโรโค โสตะโรโค ฆานะโรโค ชิวหาโรโค กายะโรโค สีสะโรโค
กัณณะโรโค มุขะโรโค ทันตะโรโค กาโส สาโส ปินาโส ฑะโห
ชะโร กุจฉิโรโค มุจฉา ปักขันทิกา สุลา วิสูจิกา กุฏฐัง คัณโฑ
กิลาโส โสโส อะปะมาโร ทันทุ กัณฑุ กัจฉุ ระขะสา วิตัจฉิกา
โลหิตัง ปิตตัง มะธุเมโห อังสา ปิฬะกา ภะคัณฑะลา ฯ ปิตตะ-
สะมุฏฐานา อาพาธา เสมหะสะมุฏฐานา อาพาธา วะตะสะมุฏฐานา
อาพาธา สันนิปาติกา อาพาธา อุตุปะริณามะชา อาพาธา
วิสะมะปะริหาระชา อาพาธา โอปักกะมิกา อาพาธา กัมมะวิปากะชา
อาพาธา สีตัง อุณหัง ชิฆัจฉา ปิปาสา อุจจาโร ปัสสาโวติ ฯ
อิติ อิมัส๎มิง กาเย อาทีนะวานุปัสสี วิหะระติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ
อาทีนะวะสัญญา ฯ
กะตะมา จานันทะ ปะหานะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อุปปันนัง กามะวิตักกัง นาธิวาเสติ ปะชะหะติ วิโนเทติ
พ๎ยันตีกะโรติ อะนะภาวัง คะเมติ อุปปันนัง พ๎ยาปาทะวิตักกัง
นาธิวาเสติ ปะชะหะติ วิโนเทติ พ๎ยันตีกะโรติ อะนะภาวัง
คะเมติ อุปปันนัง วิหิงสาวิตักกัง นาธิวาเสติ ปะชะหะติ วิโนเทติ
พ๎ยันตีกะโรติ อะนะภาวัง คะเมติ อุปปันนุปปันเน ปาปะเก
อะกุสะเล ธัมเม นาธิวาเสติ ปะชะหะติ วิโนเทติ พ๎ยันตีกะโรติ
อะนะภาวัง คะเมติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ ปะหานะสัญญา ฯ
กะตะมา จานันทะ วิราคะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา
อิติ ปะฏิสัญจิกขะติ เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง ยะทิทัง
สัพพะสังขาระสะมะโถ สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค ตัณหักขะโย
วิราโค นิพพานันติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ วิราคะสัญญา ฯ
กะตะมา จานันทะ นิโรธะสัญญา ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา
อิติ ปะฏิสัญจิกขะติ เอตัง สันตัง เอตัง ปะณีตัง ยะทิทัง
สัพพะสังขาระสะมะโถ สัพพูปะธิปะฏินิสสัคโค ตัณหักขะโย นิโรโธ
นิพพานันติ ฯ อะยัง วุจจะตานันทะ นิโรธะสัญญา ฯ
กะตะมา จานันทะ สัพพะโลเก อะนะภิระตะสัญญา ฯ
อิธานันทะ ภิกขุ เย โลเก อุปายุปาทานา เจตะโส อะธิฏฐานา-
ภินิเวสานุสะยา เต ปะชะหันโต วิระมะติ นะ อุปาทิยันโต ฯ
อะยัง วุจจะตานันทะ สัพพะโลเก อะนะภิระตะสัญญา ฯ
กะตะมา จานันทะ สัพพะสังขาเรสุ อะนิจจะสัญญา ฯ
อิธานันทะ ภิกขุ สัพพะสังขาเรหิ อัฏฏิยะติ หะรายะติ ชิคุจฉะติ ฯ
อะยัง วุจจะตานันทะ สัพพะสังขาเรสุ อะนิจจะสัญญา ฯ
กะตะมา จานันทะ อานาปานัสสะติ ฯ อิธานันทะ ภิกขุ
อะรัญญะคะโต วา รุกขะมูละคะโต วา สุญญาคาระคะโต วา
นิสีทะติ ปัลลังกัง อาภุชิต๎วา อุชุง กายัง ปะณิธายะ ปะริมุขัง
สะติง อุปัฏฐะเปต๎วา ฯ โส สะโต วะ อัสสะสะติ สะโต
ปัสสะสะติ ฯ
ทีฆัง วา อัสสะสันโต ทีฆัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
ทีฆัง วา ปัสสะสันโต ทีฆัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
รัสสัง วา อัสสะสันโต รัสสัง อัสสะสามีติ ปะชานาติ
รัสสัง วา ปัสสะสันโต รัสสัง ปัสสะสามีติ ปะชานาติ
สัพพะกายะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
สัพพะกายะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปัสสัมภะยัง กายะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปีติปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปีติปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
สุขะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
สุขะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
จิตตะสังขาระปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปัสสัมภะยัง จิตตะสังขารัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
จิตตะปะฏิสังเวที อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
จิตตะปะฏิสังเวที ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะภิปปะโมทะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
สะมาทะหัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
สะมาทะหัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
วิโมจะยัง จิตตัง อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
วิโมจะยัง จิตตัง ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะนิจจานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะนิจจานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
วิราคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
วิราคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
นิโรธานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
นิโรธานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปะฏินิสสัคคานุปัสสี อัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
ปะฏินิสสัคคานุปัสสี ปัสสะสิสสามีติ สิกขะติ
อะยัง วุจจะตานันทะ อานาปานัสสะติ
สะเจ โข ต๎วัง อานันทะ คิริมานันทัสสะ ภิกขุโน
อุปะสังกะมิต๎วา อิมา ทะสะ สัญญา ภาเสยยาสิ ฐานัง โข
ปะเนตัง วิชชะติ ยัง คิริมานันทัสสะ ภิกขุโน อิมา ทะสะ
สัญญา สุต๎วา โส อาพาโธ ฐานะโส ปะฏิปปัสสัมเภยยาติ ฯ
อะถะโข อายัส๎มา อานันโท ภะคะวะโต สันติเก อิมา
ทะสะ สัญญา อุคคะเหต๎วา เยนายัส๎มา คิริมานันโท เตนุปะสังกะมิ
อุปะสังกะมิต๎วา อะยัส๎มะโต คิริมานันทัสสะ อิมา ทะสะ สัญญา
อะภาสิ ฯ
อะถะโข อายัส๎มะโต คิริมานันทัสสะ อิมา ทะสะ สัญญา
สุต๎วา โส อาพาโธ ฐานะโส ปะฏิปปัสสัมภิ ฯ วุฏฐะหิ จายัส๎มา
คิริมานันโท ตัมหา อาพาธา ตะถาปะหีโน จะ ปะนายัส๎มะโต
คิริมานันทัสสะ โส อาพาโธ อะโหสีติ ฯ

ท่านผู้มีจิตศรัทธาต้องการจัดพิมพ์พระสูตรต่างๆตามบทสวดในหนังสือสวดมนต์ฉบับพุทธบริษัทของวัดป่ามะไฟแจกเป็นธรรมทาน กรุณาติดต่อโดยตรงที่ วัดป่ามะไฟ ต.โคกไม้ลาย อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี 
(ท่านพระครูภาวนาธรรมธารี : tel 081-983 6770)

คิริมานนทสูตร (แปล)

พระไตรปิฎกฉบับปฏิบัตินี้ ได้พิมพ์มาจากหนังสือ "พระไตรปิฎก ฉบับปฏิบัติ" ของ ธรรมรักษา ซึ่งเห็นว่าเหมาะสมและสมควรที่จะนำมาเผยแพร่ ให้ผู้ที่สนใจใคร่ศึกษาพระกรรมฐานควบคู่กับพระไตรปิฎก
จึงได้นำมาพิมพ์และไว้ที่ศาลาปฏิบัติกรรมฐานนี้ เพื่อให้ผู้ที่ปฏิบัติกรรมฐานได้ศึกษาการปฏิบัติ พร้อมทั้งสิ่งที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสแด่พระสาวกทั้งหลาย เพื่อให้การปฏิบัติไม่ผิดพลาด และมีข้อมูลอ้างอิงทำให้การปฏิบัติเกิดความเชื่อมั่น และเข้าถึงซึ่งพระธรรมโดยเร็ววัน

การนำมาพิมพ์เผยแพร่นี้ เป็นการทำเพื่อให้ธรรมเป็นทาน เพื่อให้ผู้ที่กำลังปฏิบัติพระกรรมฐาน ที่ต้องการศึกษาพระไตรปิฎกในทางปฏิบัติ เข้าถึงซึ่งพระกรรมฐาน

บุญกุศลใด ๆ ที่จะพึงเกิดจากการพิมพ์พระไตรปิฎกฉบับปฏิบัตินี้ทั้งหมด ขอบุญกุศลนั้นจงมีแด่ท่านธรรมรักษา และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดทำหนังสือพระไตรปิฎกฉบับปฏิบัติ และทุกท่านที่เข้ามาศึกษาในพระธรรม ขออำนาจบารมีแห่งองค์พระรัตนตรัยจงดลบันดาลให้ทุกท่านสมความปรารถนาทั้งทางโลกและทางธรรม เข้าถึงซึ่งพระธรรมเข้าถึงซึ่งพระนิพพานตามที่ท่านปรารถนาด้วยเทอญ.

๒๑ มกราคม ๒๕๔๘


อาพาธสูตร (คิริมานนทสูตร)

ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ใกล้พระนครสาวัตถี ก็สมัยนั้นแล ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก
ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระคิริมานนท์อาพาธ ได้รับทุกข์เป็นไข้หนัก ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาคได้โปรดอนุเคราะห์เสด็จเยี่ยมท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่เถิด พระเจ้าข้า"
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
"ดูก่อนอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหา แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่คิริมานนท์ภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคริริมานันทภิกษุ จะพึงสงบระงับโดยฉับพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนั้น เป็นฐานะที่จะมีได้ สัญญา ๑๐ ประการนั้นเป็นฐานที่จะมีได้ สัญญา ๑๐ ประการเป็นไฉน ? คือ -
อนิจจสัญญา ๑ อนัตตสัญญา ๑ อสุภสัญญา ๑ อาทีนวสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วสิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ สัพพโลเก อนภิรตสัญญา ๑ สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญา ๑ และอานาปานัสสติ ๑
ดูก่อนอานนท์ ก็อนิจจสัญญาเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อนิจจสัญญา
ดูก่อนอานนท์ ก็อนัตตสัญญาเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดีอยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
จักษุเป็นอนัตตา รูปเป็นอนัตตา หูเป็นอนัตตา เสียงเป็นอนัตตา จมูกเป็นอนัตตา กลิ่นเป็นอนัตตา ลิ้นเป็นอนัตตา รสเป็นอนัตตา กายเป็นอนัตตา โผฏฐัพพะเป็นอนัตตา ใจเป็นอนัตตา ธรรมารมณ์เป็นอนัตตา
ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นอนัตตาในอายตนะทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก ๖ ประการเหล่านี้ ด้วยประการอย่างนี้
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อนัตตสัญญา
ดูก่อนอานนท์ ก็อสุภสัญญาเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้นั่นแลเบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบเต็มด้วยของไม่สะอาด มีประการต่าง ๆ ว่า
ในกายนี้มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม เนื้อหัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่งามในกายนี้ ด้วยประการดังนี้
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อสุภสัญญา
ดูก่อนอานนท์ ก็อาทีนวสัญญาเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า กายนี้มีทุกข์มาก มีโทษมาก เพราะฉะนั้นอาพาธต่าง ๆ จึงเกิดขึ้นในกายนี้ คือ -
โรคตา โรคหู โรคจมูก โรคลิ้น โรคกาย โรคศีรษะ โรคที่ใบหู โรคปาก โรคฟัน โรคไอ โรคหืด โรคไข้หวัด โรคไข้พิษ โรคไข้เซื่องซึม โรคในท้อง โรคลมสลบ โรคบิด โรคจุกเสียด โรคลงราก โรคเรื้อน โรคฝีโรคกลาก โรคมองคร่อ โรคลมบ้าหมู โรคหิดเปื่อย โรคหิดด้าน โรคคุดทะราด หูด โรคละออง บวม โรคอาเจียนโลหิต โรคดีเดือด โรคเบาหวาน โรคเริม โรคพุพอง โรคริดสีดวง
อาพาธมีดีเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีเสมหะเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีลมเป็นสมุฏฐาน อาพาธมีไข้สันนิบาต อาพาธอันเกิดแต่ฤดูแปรปรวน อาพาธอันเกิดแต่การบริหารไม่สม่ำเสมอ อาพาธอันเกิดแต่ความเพียรเกินกำลัง อาพาธอันเกิดแต่วิบากของกรรม ความหนาว ความร้อน ความหิว ความกระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ
ย่อมพิจารณาเห็น โดยความเป็นโทษในภายนี้ ด้วยประการดังนี้
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อาทีนวสัญญา
ดูก่อนอานนท์ ก็ปหานสัญญาเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันเกิดขึ้นแล้ว
ย่อมไม่ยินดี ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมทำให้หมดสิ้นไป ย่อมทำให้ถึงความไม่มี ซึ่งอกุศลธรรมทั้งหลายอันชั่วช้า อันเกิดขึ้นแล้ว และเกิดขึ้นแล้ว
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า ปหานสัญญา
ดูก่อนอานนท์ ก็วิราคสัญญาเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่สำรอกกิเลส ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า วิราคสัญญา
ดูก่อนอานนท์ นิโรธสัญญาเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
ธรรมชาตินั่นสงบ ธรรมชาตินั่นประณีต คือ ธรรมเป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ธรรมเป็นที่สละคืนอุปธิทั้งปวง ธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งตัณหา ธรรมเป็นที่ดับโดยไม่เหลือ ธรรมชาติเป็นที่ดับกิเลสและกองทุกข์
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า นิโรธสัญญา
ดูก่อนอานนท์ สัพพโลเก อนภิรตสัญญาเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ละอุบาย (ตัณหาทิฐิ) และอุปาทานในโลก อันเป็นเหตุตั้งมั่น ถือมั่น และอนุสัยแห่งจิต ย่อมงดเว้น ไม่ถือมั่น
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า สัพพโลเก อนภิรตสัญญา
ดูก่อนอานนท์ สัพพสังขาเรสุ อนิฏฐสัญญาเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมอึดอัด ย่อมระอา ย่อมเกลียดชัง แต่สังขารทั้งปวง
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า สัพพสังขาเรสุ อนิษฐสัญญา
ดูก่อนอานนท์ อานาปานัสสติเป็นไฉน ?
ดูก่อนอานนท์ ภิกษูในธรรมวินัยนี้ อยู่ในป่าก็ดี อยู่ที่โคนไม้ก็ดี อยู่ในเรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายให้ตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า
เธอเป็นผู้มีสติ หายใจเข้า เป็นผู้มีสติ หายใจออก
เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาวก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว
เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้นก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้น
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นกำหนดรู้กาย (ลมหายใจ) ทั้งปวง หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้กำหนดรู้กายทั้งปวง หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขาร (ลมหายใจ) หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้ปีติ หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร (เวทนา) หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิตตสังขาร หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขาร หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักระงับจิตตสังขาร หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักกำหนดรู้จิต หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้าย่อมศึกษาว่า จักยังจิตให้บันเทิง หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่น หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักตั้งจิตให้มั่น หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิต หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเปลื้องจิตให้หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยงหายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความคลายกำหนัด หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความคลายกำหนัด หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความดับสนิท หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความดับสนิท หายใจออก
ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็นโดยความสลัดคืน หายใจเข้า ย่อมศึกษาว่า จักเป็นผู้พิจารณาเห็น โดยความสลัดคืน หายใจออก
ดูก่อนอานนท์ นี้เรียกว่า อานาปานัสสติ
ดูก่อนอานนท์ ถ้าเธอพึงเข้าไปหา แล้วกล่าวสัญญา ๑๐ ประการนี้ แก่คิริมานนทภิกษุไซร้ ข้อที่อาพาธของคิริมานนทภิกษุ จะพึงสงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้"
ลำดับนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เรียนสัญญา ๑๐ ประการนี้ ในสำนักของพระผู้มีพระภาคแล้ว ได้ไปหาท่านพระคิริมานนท์ยังที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวสัญญา ๑๐ ประการแก่ท่านพระคิริมานนท์
ครั้งนั้นแล อาพาธนั้นของท่านพระคิริอานนท์ ได้สงบระงับโดยพลัน เพราะได้ฟังสัญญา ๑๐ ประการนี้ ท่านพระคิริมานนท์หายจากอาพาธนั้น
ก็แลอาพาธนั้น เป็นโรคอันท่านพระคิริมานนท์ ละได้แล้วด้วยประการนั้น แล ฯ

จบ อาพาธสูตร ๒๔/๑๑๑

ที่มาhttp://www.larnbuddhism.com/grammathan/tripitakapatibat/apat.html 



http://youtu.be/OT3lv52PfCo

 

view