ปัญจกะ ๕
๑๒๒) อนันตริยกรรม ๕ ๑. มาตุฆาต ฆ่ามารดา. ๒. ปิตุฆาต ฆ่าบิดา. ๓. อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์. ๔. โลหิตุปบาท ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงยังพระโลหิตให้ห้อขึ้นไป. ๕. สังฆเภท ยังสงฆ์ให้แตกจากกัน. กรรม ๕ อย่างนี้ เป็นบาปอันหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ห้ามนิพพานตั้งอยู่ในฐานปาราชิกของผู้ถือพระพุทธศาสนา ห้ามไม่ให้ทำเป็นเด็ดขาด. องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๑๖๕.
-----------------------------------------------------------------
(๑๒๓) อภิณหปัจจเวกขณ์ ๕
๑. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความแก่เป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความแก่ไปได้.
๒. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความเจ็บเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความเจ็บไปได้.
๓. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีความตายเป็นธรรมดา ไม่ล่วงพ้นความตายไปได้.
๔. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เราจะต้องพลัดพรากจากของรักของชอบใจทั้งสิ้น.
๕. ควรพิจารณาทุกวัน ๆ ว่า เรามีกรรมเป็นของตัว เราทำดีจักได้ดี ทำชั่วจักได้ชั่ว.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๘๑.
-----------------------------------------------------------------
(๑๒๔) เวสารัชชกรณธรรม ๕ (คือ ธรรมทำความกล้าหาญ ๕ อย่าง )
๑. สัทธา เชื่อสิ่งที่ควรเชื่อ.
๒. สีล รักษากายวาจาให้เรียบร้อย.
๓. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ศึกษามาก.
๔. วิริยารัมภะ ปรารภความเพียร.
๕. ปัญญา รรอบรู้สิ่งที่ควรรู้.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๑๔๔.
-----------------------------------------------------------------
(๑๒๕) องค์แห่งภิกษุใหม่ ๕
๑. สำรวมในพระปาติโมกข์ เว้นข้อที่พระพุทธเจ้าห้าม ทำตามข้อที่ทรงอนุญาต.
๒. สำรวมอินทรีย์ คือ ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ความยินดียินร้ายครอบงำได้ ในเวลาที่เห็นรูปด้วยนัยน์ตาเป็นต้น.
๓. ความเป็นคนไม่เอิกเกริกเฮฮา.
๔. อยู่ในเสนาสนะอันสงัด.
๕. มีความเห็นชอบ.
ภิกษุใหม่ควรตั้งอยู่ในธรรม ๕ อย่างนี้.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๑๕๕.
-----------------------------------------------------------------
(๑๒๖) องค์แห่งธรรมกถึก ๕ (คือ นักเทศก์ ๕ อย่าง)
๑. แสดงธรรมไปโดยลำดับ ไม่ตัดลัดให้ขาดความ.
๒. อ้างเหตุผลแนะนำให้ผู้ฟังเข้าใจ.
๓. ตั้งจิตเมตตาปรารถนาให้เป็นประโยชน์แก่ผู้ฟัง.
๔. ไม่แสดงธรรมเพราะเห็นแก่ลาภ.
๕. ไม่แสดงธรรมกระทบตนและผู้อื่น คือว่า ไม่ยกตนเสียดสีผู้อื่น.
ภิกษุผู้เป็นธรรมกถึก พึงตั้งองค์ ๕ อย่างนี้ไว้ในตน.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๒๐๖.
-----------------------------------------------------------------
(๑๒๗) ธัมมัสสวนานิสงส์ ๕ (คือ อานิสงส์แห่งการฟังธรรม ๕ อย่าง)
๑. ผู้ฟังธรรมย่อมได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง.
๒. สิ่งใดได้เคยฟังแล้ว แต่ไม่เข้าใจชัด ย่อมเข้าใจสิ่งนั้นชัด.
๓. บรรเทาความสงสัยเสียได้.
๔. ทำความเห็นให้ถูกต้องได้.
๕. จิตของผู้ฟังย่อมผ่องใส.
องฺ. ปปญฺจก. ๒๒/๒๗๖.
-----------------------------------------------------------------
(๑๒๘) พละ ๕ (คือธรรมเป็นกำลัง ๕ อย่าง)
๑. สัทธา ความเชื่อ.
๒. วิริยะ ความเพียร.
๓. สติ ความระลึกได้.
๔. สมาธิ ความตั้งใจมั่น.
๕. ปัญญา ความรอบรู้.
อินทรีย์ ๕ ก็เรียก เพราะเป็นใหญ่ในกิจของตน.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๑๑.
-----------------------------------------------------------------
(๑๒๙) นิวรณ์ ๕ (ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี เรียกนิวรณ์ มี ๕ อย่าง)
๑. กามฉันท์ พอใจรักใคร่ในอารมณ์ที่ชอบใจมีรูปเป็นต้น
๒. พยาบาท ปองร้ายผู้อื่น
๓. ถีนมิทธะ ความที่จิตหดหู่และเคลิบเคลิ้ม
๔. อุทธัจจกุกกุจจะ ฟุ้งซ่านและรำคาญ
๕. วิจิกิจฉา ลังเลไม่ตกลงได้
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๗๒.
-----------------------------------------------------------------
(๑๓๐) ขันธ์ ๕ (กายกับใจนี้ แบ่งออกเป็น ๕ กอง เรียกว่าขันธ์ ๕ )
๑. รูป
๒. เวทนา
๓. สัญญา
๔. สังขาร
๕. วิญญาณ.
ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันเป็นกายนี้ เรียกว่ารูป. ความรู้สึกอารมณ์ว่า เป็นสุข คือ สบายกายสบายใจ หรือเป็นทุกข์ คือไม่สบายกายไม่สบายใจ หรือเฉย ๆ คือไม่ทุกข์ไม่สุข เรียกว่าเวทนา. ความจำได้หมายรู้ คือ จำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอารมณ์ที่เกิดกับใจได้ เรียกว่าสัญญา. เจตสิกธรรม คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ๑ เป็นส่วนดี เรียกกุศล เป็นส่วนชั่ว เรียกอกุศล เป็นส่วนกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว เรียกอัพยากฤตเรียกว่าสังขาร.ความรู้อารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตาเป็นต้น เรียกว่าวิญญาณ.ขันธ์ ๕ นี้ ย่นเรียกว่า นาม รูป. เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ รวมเข้าเป็นนาม รูปคงเป็นรูป.
อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๑.
-----------------------------------------------------------------
(๑๓๑) อนุปุพพีกถา ๕
๑. ทานกถา กล่าวถึงทาน
๒. สีลกถา กล่าวถึงศีล
๓. สัคคกถา กล่าวถึงสวรรค์
๔. กามาทีนวกถา กล่าวถึงโทษแห่งกาม
๕. เนกขัมมานิสังสกถา กล่าวถึงอานิสงส์แห่งความออกจากกาม.
มหาวคฺค. ปฐม. ๔/๓๐.
อธิบาย: เทศนาที่แสดงไปโดยลำดับ เพื่อฟอกอัธยาศัยของเวไนยให้หมดจดเป็นชั้น ๆ เรียกอนุปุพพีกถา
มีนิยมเป็นพิเศษว่า ๕อย่างนี้ ท่านกล่าวว่า เป็นพระธรรมเทศนาที่พระศาสดาทรงแสดงในคราวที่ผู้ฟังมีอุปนิสัยสามารถจะบรรลุธรรมพิเศษ ก่อนแต่ทรงแสดงอริยสัจ. มีอรรถาธิบายว่า ในเบื้องต้น ทรงแสดงประโยชน์แห่งการให้ เพื่อละความเห็นแก่ตนและความตระหนี่เสียแล้ว มีใจเผื่อแผ่เมื่อรูปมากระทบตาเป็นต้น เรียกว่าวิญญาณ.
ขันธ์ ๕ นี้ ย่นเรียกว่า นาม รูป. เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ รวมเข้าสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยกำลังทรัพย์ของตนเอง.
ในลำดับนั้น ทรงแสดงประโยชน์แห่งศีล คือความประพฤติเรียบร้อย เพื่อเว้นจากเบียดเบียนผู้อื่น ไม่ทำภัย
อันตรายให้เกิดขึ้นในหมู่ที่ตนเข้าอยู่ด้วย แลเพื่อรู้จักนับถือเขา. ในลำดับนั้น ทรงแสดงสมบัติคือความดีความงามอันคนผู้ให้และคนผู้มีศีลจะพึงได้พึงถึงในมนุษยโลก ตลอดขึ้นไปถึงสวรรค์ เป็นอัสสาทะ คือ รสอร่อยแห่งกาม เพื่อเห็นอานิสงส์แห่ง ทานและศีลยิ่งขึ้น. ในลำดับนั้น ทรงแสดงอาทีนพแห่งกามว่า แม้ ให้สุขโดยประการ แต่ก็ยังเจือด้วยทุกข์ต่าง ๆ ไม่ควรเพลิดเพลินโดยส่วนเดียว ควรเบื่อหน่ายด้วยเหมือนกัน. ในที่สุดทรงแสดงอานิสงส์แห่งความออกจากกาม คือทำจิตไม่ให้หมกมุ่นอยู่ในกาม เพื่อยังฉันทะให้เกิด. คนผู้ไม่เห็นแก่ตัว ให้ทรัพย์ของตนเกื้อกูลผู้อื่น มีศีลประพฤติเรียบร้อย ไม่ทำร้ายเขา และไม่เย่อหยิ่ง ตั้งตนได้ในกามสมบัติแล้ว ไม่เพลิดเพลินหมกมุ่นอยู่ในนั้น ยังแลเห็นโทษและเบื่อหน่าย มุ่งสุขอันสงบ ยิ่งขึ้นไปกว่านั้นอีก เป็นผู้ควรรับเทศนาอย่างสูงคืออริยสัจ เหมือนผ้าอันฟอกหมดจดแล้ว ควรรับน้ำย้อมมีประการต่าง ๆ สุดแต่ผู้ย้อมจะน้อมไปฉะนั้น.
-----------------------------------------------------------------
(๑๓๒) กามคุณ ๕
๑. รูป
๒. เสียง
๓. กลิ่น
๔. รส
๕. โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ.
ม. มู. ๑๒/๓๓๓.
-----------------------------------------------------------------
(๑๓๓) จักขุ ๕
๑. มังสจักขุ จักษุคือดวงตา
๒. ทิพพจักขุ จักษุทิพย์
๓. ปัญญาจักขุ จักษุคือปัญญา
๔. พุทธจักขุ จักษุแห่งพระพุทธเจ้า
๕. สมันตจักขุ จักษุรอบคอบ.
ขุ. มหา. ๒๙/๕๒.
อธิบาย: จักษุ ๕ นี้ กล่าวว่าเป็นสมบัติของสมเด็จพระผู้มีพระ ภาคเจ้า. พระองค์ย่อมทรงทอดพระเนตรเห็น
แจ่มใส เห็นได้ไกล เห็นได้ไว ด้วยมังสจักขุ. พระองค์ย่อมทรงเล็งเห็นหมู่สัตว์ผู้เป็นต่าง ๆกันด้วยอำนาจกรรม ด้วยทิพพจักขุ. พระองค์ย่อมทรงพิจารณาเห็นไญยธรรม มีอริยสัจเป็นอาทิ ด้วยปัญญาจักขุ. พระองค์ย่อมทรง พิจารณาเห็นอุปนิสัยของเวไนยสัตว์ ด้วยพุทธจักขุ. พระองค์ย่อมทรงทราบธรรมทั้งปวง ด้วยสมันตจักขุ คือพระสัพพัญญุตญาณ.
-----------------------------------------------------------------
(๑๓๔) ธรรมขันธ์ ๕
๑. สีลขันธ์ หมวดศีล
๒. สมาธิขันธ์ หมวดสมาธิ
๓. ปัญญาขันธ์ หมวดปัญญา
๔. วิมุตติขันธ์ หมวดวิมุตติ
๕. วิมุตติญาณทัสสนขันธ์ หมวดวิมุตติญาณทัสสนะ.
องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๑๕๒.
อธิบาย: ความทำจิตให้หลุดพ้นจากอาสวะ ชื่อว่าวิมุตติ.ความรู้ ความเห็นว่า จิตหลุดพ้นแล้ว สืบมาจากวิมุตติ ชื่อว่าญาณทัสสนะ. ธรรมอันจะพึงสงเคราะห์เข้าหมวดกันได้ จัดเข้าเป็นขันธ์หนึ่ง ๆ เช่นอินทรียสังวร โภชเนมัญญุตา จัดเข้าในสีลขันธ์.ชาคริยานุโยค และกายคตาสติ จักเข้าในสมาธิธันธ์. ธัมมวิจยะและกัมมัสสกตาญาณ จัดเข้าในปัญญาขันธ์. ปหานะ และสัจฉิกิริยา จัดเข้าในวิมุตติขันธ์. ญาณทัสสนะส่วนโลกุดร จัดเข้าในวิมุตติญาณทัสสนขันธ์. สาระ ๕ ก็เรียก
-----------------------------------------------------------------
(๑๓๕) ปีติ ๕
๑. ขุททกาปีติ ปีติอย่างน้อย
๒. ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะ
๓. โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นพัก ๆ
๔. อุพเพงคาปีติ ปีติอย่างโลกโผน
๕. ผรณาปีติ ปีติซาซ่าน.
วิ. ปฐวี. ปฐม. ๑๘๒.
อธิบาย: ความอิ่มใจ เรียกปีติ. ชนิดหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้น ทำให้ขนชัน ทำให้น้ำตาไหล จัดเป็นขุททกาปีติ. อีกชนิดหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้นทำให้รู้สึกเสียวแปลบ ๆ เปรียบเหมือนฟ้าแลบ จัดเป็นขณิกาปีติ.อีกชนิดหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้น ทำให้ซู่ซ่าแรงกว่าเสียวแปลบ ๆ เปรียบเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง จัดเป็นโอกกันติกาปีติ. อีกชนิดหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้น ทำใจให้ฟู นำให้ทำการอื่นเว้นจากเจตนา เช่นเปล่งคำอุทานเป็นต้น จัดเป็นอุพเพงคาปีติ. ปีติชนิดนี้ท่านกล่าวว่า บางทีทำกายให้ลอยไปหรือโลดขึ้นก็ได้. อีกชนิดหนึ่ง เมื่อเกิดขึ้น ทำให้รู้สึกซาบซ่านทั่วสรรพางค์ จัดเป็นผรณาปีติ. ถ้ายกเอาการทำให้ขนชันมาเป็นลักษณะแห่งผรณาปีติ ความจักแจ่มขึ้นมาก.
-----------------------------------------------------------------
(๑๓๖) มัจฉริยะ ๕
๑. อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่
๒. กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล
๓. ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ
๔. วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ
๕. ธัมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม.
องฺ. นวก. ๒๓/๔๘๑.
อธิบาย: ความหวงถิ่น ไม่พอใจให้คนต่างด้าว ต่างชาติต่างนิกาย เข้ามาอยู่แทรกแซง จัดเป็นอาวาสมัจฉริยะ. ความหวงสกุลไม่ยอมให้สกุลอื่นเข้ามาเกี่ยวดองด้วย จัดเป็นกุลมัจฉริยะ. ความหวงสกุลอุปัฏฐากของภิกษุ ไม่พอใจให้บำรุงภิกษุอื่น คอยเกียดกันเสีย จัดเป็นกุลมัจฉริยะในฝ่ายบรรพชิต. ค วามหวงทรัพย์พัสดุไม่ให้ผู้อื่น จัดเป็นลาภมัจฉริยะ. ความหวงคุณความดี ไม่ปรารถนาให้คนอื่นสู้ได้ จัดเป็นวัณณมัจฉริยะ. อีกอย่างหนึ่ง วัณณะแปลว่า สีกาย ความหวงสวยหวงงามอันเป็นกิเลสของหญิงสาว ก็นับเข้าในวัณณมัจฉริยะ. ความหวงธรรม
หวงศิลปวิทยา ไม่ปรารถนาจะแสดงจะบอกแก่คนอื่นเกรงว่าเขาจะรู้เทียมตน จัดเป็นธัมมมัจฉริยะ.
-----------------------------------------------------------------
(๑๓๗) มาร ๕
๑. ขันธมาร มารคือปัญจขันธ์
๒. กิเลสมาร มารคือกิเลส
๓. อภิสังขารมาร มารคืออภิสังขาร
๔. มัจจุมาร มารคือมรณะ
๕. เทวปุตตมาร มารคือเทวบุตร.
วิ. ฉอนุสฺสติ. ปฐม. ๒๗๐.
อธิบาย: ปัญจขันธ์ ได้ชื่อว่ามาร เพราะบางทีทำความลำบากให้ อันเป็นเหตุเบื่อหน่าย จนถึงฆ่าตัวตายเสียเองก็มี.
กิเลสได้ชื่อว่ามาร เพราะตกอยู่ในอำนาจแห่งมันแล้ว มันย่อมผูกรัดไว้บ้างย่อมทำให้เสียคนบ้าง. อภิสังขารคือกรรมฝ่ายอกุศล ได้ชื่อว่ามารเพราะทำให้เป็นผู้ทุรพล. มัจจุ คือมรณะ ได้ชื่อว่ามาร เพราะตัดชีวิตเสีย. เทวบุตรผู้มุ่งร้าย ได้ชื่อว่ามาร เพราะเป็นบุคคลาธิษฐานแห่งสภาวะอันทำลายล้าง. ขึ้นชื่อว่าเทวบุตรไม่ใช่เป็นมารทุกองค์ เป็นเฉพาะผู้มุ่งร้าย โดยนัยนี้ ปัญจขันธ์ก็ดี กิเลสก็ดี อภิสังขารก็ดีน่าจะหมายเอาเฉพาะส่วนอันให้ร้าย มัจจุ น่าจะหมายเอาในเวลาที่ชีวิตกำลังเป็นประโยชน์ตนประโยชน์ท่านเช่นถ้ายังเป็นอยู่ต่อไปจะได้บรรลุธรรมพิเศษ
เช่นพระศาสดาทรงปรารภถึงอาฬารดาบส และอุททกดาบส เมื่อครั้งทรงพระดำริหาผู้สมควรรับปฐมเทสนา หรือจักได้สั่งสอนมหาชน เช่นพระศาสดาทรงอธิษฐานพระชนมายุเมื่อแรกจะทรงบำเพ็ญพุทธกิจ ข้าพเจ้าจึงแก้ไว้อย่างนี้.
-----------------------------------------------------------------
(๑๓๘) วิญญาณ ๕
๑. จักขุวิญญาณ วิญญาณทางดวงตา
๒. โสตวิญญาณ วิญญาณทางหู
๓. ฆานวิญญาณ วิญญาณทางจมูก
๔. ชิวหาวิญญาณ วิญญาณทางลิ้น
๕. กายวิญญาณ วิญญาณทางกาย.
ที. มหา. ๑๐/๓๔๔.
อธิบาย: อาศัยตากับรูป เกิดความรู้สึกขึ้น นี้เป็นจักขุวิญญาณ.อาศัยหูกับเสียง เกิดความรู้สึกขึ้น นี้เป็นโสตวิญญาณ.
อาศัยจมูกกับกลิ่น เกิดความรู้สึกขึ้น นี้เป็นฆานวิญญาณ. อาศัยลิ้นกับรสเกิดความรู้สึกขึ้น นี้เป็นชิวหาวิญญาณ.
อาศัยกายกับโผฏฐัพพะเกิดความรู้สึกขึ้น นี้เป็นกายวิญญาณ. วิญญาณ ๕ นี้ ในพระอภิธรรมแยกเป็นประเภทหนึ่งต่างหากจากมโนวิญญาณ. และแยกเป็นประเภทน้อยออกไป เป็นกุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑ เรียกทวิปัญจวิญญาณ จัดเข้าในจำพวกอเหตุกจิต คือจิตอันมิใช่เหตุ.ส่วนในพระสูตรรวมเข้ากับมโนวิญญาณ เป็นวิญญาณ ๖.
-----------------------------------------------------------------
(๑๓๙) วิมุตติ ๕
๑. ตทังควิมุตติ พันชั่วคราว
๒. วิกขันภนวิมุตติ พ้นด้วยสะกดไว้
๓. สมุจเฉทวิมุตติ พ้นด้วยเด็ดขาด
๔. ปฏิปัสสัทธิวิมุตติ พ้นด้วยสงบ
๕. นิสสรณวิมุตติ พ้นด้วยออกไป.
วิ. อภิญฺญา. ทุติย. ๒๔๙.
อธิบาย: ธาตุ ๔ คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม ประชุมกันเป็นกายนี้ เรียกว่ารูป. ความรู้สึกอารมณ์ว่า เป็นสุข คือ สบายกายสบายใจ หรือเป็นทุกข์ คือไม่สบายกายไม่สบายใจ หรือเฉย ๆ คือไม่ทุกข์ไม่สุข เรียกว่าเวทนา. ความจำได้หมายรู้ คือ จำรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะอารมณ์ที่เกิดกับใจได้ เรียกว่าสัญญา. เจตสิกธรรม คือ อารมณ์ที่เกิดกับใจ๑ เป็นส่วนดี เรียกกุศล เป็นส่วนชั่ว เรียกอกุศล เป็นส่วนกลาง ๆ ไม่ดีไม่ชั่ว เรียกอัพยากฤตเรียกว่าสังขาร.ความรู้อารมณ์ในเวลาเมื่อรูปมากระทบตาเป็นต้น เรียกว่าวิญญาณ.ขันธ์ ๕ นี้ ย่นเรียกว่า นาม รูป. เวทนา สัญญา สังขารวิญญาณ รวมเข้าเป็นนาม รูปคงเป็นรูป.ความพ้นจากกิเลสได้ชั่วคราว เช่นเกิดเหตุเป็นที่ตั้ง แห่งสังเวชขึ้น หายกำหนัดในกาม เกิดเมตตาขึ้น หายโกรธ แต่ความกำหนัดและความโกรธนั้นไม่หายทีเดียวทำในใจถืออารมณ์งามความกำหนัดกลับเกิดขึ้นอีก ทำในใจถึงวัตถุแห่งอาฆาต ความ โกรธกลับเกิดขึ้นอีก อย่างนี้จัดเป็นตทังควิมุตติ แปลว่าพ้นด้วยองค์นั้น ๆ. ความพ้นจากกิเลสได้ด้วยกำลังฌาน อาจสะกดไว้ได้นาน ๆ กว่าตทังควิมุตติ แต่เมื่อฌานเสื่อมหายแล้ว กิเลสอาจเกิดขึ้นอีก อย่างนี้จัดเป็นวิกขัมภนวิมุตติ. ความพ้นจากกิเลสด้วยอำนาจอริยมรรค กิเลสเหล่านั้นขาดเด็ดไป ไม่กลับเกิดอีก อย่างนี้จัดเป็นสมุจเฉทวิมุตติ. ความพ้นจากกิเลสเนื่องมาจากอริยมรรคถึงอริยผลไม่ต้องขวนขวายเพื่อละอีก เพราะกิเลสนั้นสงบไปแล้ว อย่างนี้จัดเป็นปฏิปัสสัทธิวิมุตติ. ความพ้นจากกิเลสนั้นยั่งยืนมาตลอดถึงเวลาสิ้นชีพ อย่างนี้จัดเป็นนิสสรณวิมุตติ.
-----------------------------------------------------------------
(๑๔๐) เวทนา ๕
๑. สุข
๒. ทุกข์
๓. โสมนัส
๔. โทมนัส
๕. อุเบกขา.
สํ. สฬ. ๑๘/๒๘๗.
อธิบาย: สุขไม่มาเป็นคู่กับโสมนัส เช่นสุขมาในเวทนา ๓หมายเอาทั้งสุขกายสุขใจ สุขมาเป็นคู่กับโสมนัส เช่นสุขในเวทนา ๕ นี้ หมายเอาเฉพาะสุขกาย. ทุกข์ไม่มาเป็นคู่กับโทมนัส หมายเอาทั้งทุกข์กายทั้งทุกข์ใจ ทุกข์มาคู่กับโทมนัส หมายเอาเฉพาะทุกข์ กาย. โสมนัสหมายเอาสุขใจ โทมนัสหมายเอาทุกข์ใจ. อุเบกขา หมายเอาคามเฉยแห่งใจ เพราะอุเบกขาทางกายไม่มี กายเป็นปกติอยู่จัดว่าเป็นสุข.
-----------------------------------------------------------------
(๑๔๑) สังวร ๕
๑. สีลสังวร สำรวมในศีล
๒. สติสังวร สำรวมด้วยสติ
๓. ญาณสังวร สำรวมด้วยญาณ
๔. ขันติสังวร สำรวมด้วยขันติ
๕. วิริยสังวร สำรวมด้วยความเพียร.
วิ. สีล. ปฐม. ๘. สทฺ ปฏิ. ๑๖.
-----------------------------------------------------------------
(๑๔๒) สุทธาวาส ๕
๑. อวิหา
๒. อตัปปา
๓. สุทัสสา
๔. สุทัสสี
๕. อกนิฏฐา.
ม. มู. ๑๒/๕๒๖.
อธิบาย: ภพ ๕ นี้ อยู่ในพรหมโลก ๑๖ ข้างชั้นสูง ว่าเป็นที่เกิดแห่งพระอนาคามี ผู้จุติจากภพนี้แล้ว ได้บรรลุพระอรหัตแล้วนิพพานในภพที่เกิดนั้นบ้าง เลื่อนไปเกิดในภพที่สูงขึ้นไปกว่าแล้ว จึงเป็นอย่างนั้นบ้าง จึงเรียกว่า สุทธาวาส แปลว่า ที่อยู่แห่งท่านผู้บริสุทธิ์ เรียกเป็นชื่อต่างออกไปเป็น ๕ อย่างนี้ ตามชื่อเทพในชั้นนั้น.
-----------------------------------------------------------------
(๑๔๓) พระอนาคามี ๕
๑. อันตราปรินิพพายี ท่านผู้จะปรินิพพานในระหว่างอายุยังไม่ทันถึงกึ่ง.
๒. อุปหัจจปรินิพพานยี ท่านผู้จะปริพพานต่อเมื่ออายุพ้นกึ่งแล้ว จวนถึงที่สุด.
๓. สสังขารปรินิพพายี ท่านผู้จะปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียร เรี่ยวแรง.
๔. อสังขารปรินิพพายี ท่านผู้จะปรินิพพานด้วยไม่ต้องใช้ความเพียรนัก.
๕. อุทธังโสโตอกนิฏฐคามี ท่านผู้มีกระแสในเบื้องบนไปสู่อกนิฏฐภพ.
องฺ. ทสก. ๒๔/๑๒๙.
อธิบาย: ๔ องค์ข้างต้น ปรินิพพานในภพที่เกิดนั้นเอง, ๒ องค์ข้างต้น กำหนดด้วยอายุ. ๒ องค์ข้างปลาย กำหนดด้วยความเพียร, องค์ข้างท้าย ต้องเลื่อนขึ้นไปเกิดในภพสูงขึ้นไป กว่าจะถึงชั้นอกนิฏฐะ แล้วจึงปรินิพพานในภพนั้น. อะไรเป็นเหตุปันพระอนาคามีให้ไปเกิดในภพต่ำหรือสูงกว่ากัน และอะไรเป็นเหตุปันท่านให้ปรินิพพานเร็วช้าและยากง่ายกว่ากัน ข้าพเจ้ายังไม่พบท่านกล่าวไว้.
ปัญจกะ คือ หมวด ๕
