สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

อัฎฐกะ คือ หมวด ๘

อัฎฐกะ คือ หมวด ๘


อัฎฐกะ คือ หมวด ๘


๑๖๗) โลกธรรม ๘
ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลกอยู่ และสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้นเรียกว่าโลกธรรม มี ๘ คือ
๑. มีลาภ
๒. ไม่มีลาภ
๓. มียศ
๔. ไม่มียศ
๕. นินทา
๖. สรรเสริญ
๗. สุข
๘. ทุกข์
ในโลกธรรม ๘ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ควรพิจารณาว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรรู้ตามที่เป็นจริง อย่าให้มันครอบงำจิตได้ คืออย่ายินดีในส่วนที่ปรารถนาอย่ายินร้ายในส่วนที่ไม่ปรารถนา.
องฺ. สฏฺฐก. ๒๓/๑๕๘.


------------------------------------------


(๑๖๘) ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ(๑)
๑. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความกำหนัดย้อมใจ ๑.
๒. เป็นไปเพื่อความประกอบทุกข์ ๑.
๓. เป็นไปเพื่อความสะสมกองกิเลส ๑.
๔. เป็นไปเพื่อความอยากใหญ่ ๑.
๕. เป็นไปเพื่อความไม่สันโดษยินดีด้วยของมีอยู่ คือมีนี่แล้วอยากได้นั่น ๑.
๖. เป็นไปเพื่อความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ. ๑.
๗. เป็นไปเพื่อความเกียจคร้าน ๑.
๘. เป็นไปเพื่อความเลี้ยงยาก ๑.
ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า ไม่ใช่ธรรม ไม่ใช่วินัย ไม่ใช่คำสั่งสอน ของพระศาสดา.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๘๘.


------------------------------------------


(๑๖๙) ลักษณะตัดสินธรรมวินัย ๘ ประการ (๒)
๑. ธรรมเหล่าใดเป็นไปเพื่อความคลายกำหนัด ๑.
๒. เป็นไปเพื่อความปราศจากทุกข์ ๑.
๓. เป็นไปเพื่อความไม่สะสมกองกิเลส ๑.
๔. เป็นไปเพื่อความอยากอันน้อย ๑.
๕. เป็นไปเพื่อความสันโดษยินดีด้วยของมีอยู่ ๑.
๖. เป็นไปเพื่อความสงัดจากหมู่ ๑.
๗. เป็นไปเพื่อความเพียร ๑.
๘. เป็นไปเพื่อความเลี้ยงง่าย ๑.
ธรรมเหล่านี้พึงรู้ว่า เป็นธรรม เป็นวินัย เป็นคำสั่งสอนของพระศาสดา.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๒๘๘.


------------------------------------------


(๑๗๐) มรรคมีองค์ ๘
๑. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔.
๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ ดำริจะออกจากกาม ๑ ดำริในอันไม่พยาบาท ๑ ดำริในอันไม่เบียดเบียน ๑.
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือเว้นจากวจีทุจริต ๔.
๔. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือเว้นจากกายทุจริต ๓.
๕. สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือเว้นจากความเลี้ยงชีวิต โดยทางที่ผิด.
๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือเพียรในที่ ๔ สถาน.
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบ คือระลึกในสติปัฏฐานทั้ง ๔.
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ คือเจริญฌานทั้ง ๔.
ในองค์มรรคทั้ง ๘ นั้น เห็นชอบ ดำริชอบ สงเคราะห์เข้าในปัญญาสิกขา. วาจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีวิตชอบ สงเคราะห์เข้าในสีลสิกขา. เพียรชอบ ระลึกชอบ ตั้งใจไว้ชอบสงเคราะห์เข้าในจิตตสิกขา.
ม. มู. ๑๒/๒๖. อภิ. วิภงฺค. ๓๕/๓๑๗.


------------------------------------------


(๑๗๑) อริยบุคคล ๘
๑. พระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผลเป็นคู่ที่ ๑.
๒. พระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในสกทาคามิผลเป็นคู่ที่ ๒.
๓. พระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิมรรค และพระผู้ตั้งอยู่ในอนาคามิผลเป็นคู่ที่ ๓.
๔. พระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค แลพระผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตผลเป็นคู่ที่ ๔.
นับเรียงองค์เป็น ๘.
องฺ. อฏฺฐก. ๒๓/๓๐๑.
จงดูอธิบายในมรรค ๔ และผล ๔ ในจตุกกะ.
พระผู้ตั้งอยู่ในมรรคนั้น เป็นชั่วขณะมรรคจิตเท่านั้น พ้นจากนั้นเป็นพระผู้ตั้งอยู่ในผล มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง
จงดูอริยบุคคล ๔ ในจตุกกะ.


------------------------------------------


(๑๗๒) อวิชชา ๘
๑. ไม่รู้จักทุกข์.
๒. ไม่รู้จักเหตุเกิดแห่งทุกข์.
๓. ไม่รู้จักความดับทุกข์.
๔. ไม่รู้จักทางถึงความดับทุกข์.
๕. ไม่รู้จักอดีต.
๖. ไม่รู้จักอนาคต.
๗. ไม่รู้จักทั้งอดีตทั้งอนาคต.
๘. ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท.
ขุ. จูฬ. ๓๐/๙. ธมฺมสงฺคณี ๓๔/๑๘๐.
อธิบาย : ๔ อย่างข้างต้น ได้แก่ไม่รู้แจ้งอริยสัจ ๔. ไม่รู้จักอดีตนั้น คือไม่รู้จักสาวหลัง เมื่อพบเห็นผลในปัจจุบัน ไม่รู้จักสาวหาต้นเค้าว่าอะไรเป็นเหตุให้เกิดมีขึ้น. ไม่รู้จักอนาคตนั้น คือไม่รู้จักคาดหน้า ไม่อาจปรารภการที่ทำ หรือเหตุอันเกิดขึ้นในปัจจุบันแล้วและคาดหน้าว่าจักมีผลเป็นอย่างนั้น ๆ. ไม่รู้จัดทั้งอดีตทั้งอนาคตนั้น คือไม่รู้จักโยงเหตุในอดีต และผลในอนาคตให้เนื่องถึงกัน. ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาทนั้น คือไม่รู้จักกำหนดสภาวะนั้น ๆ โดยความเป็นเหตุเป็นผลแห่งกันและกันเนื่องกันไป ดุจลูกโซ่เกี่ยวกันเป็นสายฉะนั้น.


------------------------------------------


(๑๗๓) วิชชา ๘
๑. วิปัสสนาญาณ ญาณอันนับเข้าในวิปัสสนา.
๒. มโนมยิทธิ ฤทธิ์ทางใจ.
๓. อิทธิวิธิ แสดงฤทธิ์ได้.
๔. ทิพพโสต หูทิพย์.
๕. เจโตปริยญาณ รู้จักกำหนดใจผู้อื่น.
๖. ปุพเพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติได้.
๗. ทิพพจักขุ ตาทิพย์.
๘. อาสวักขยญาณ รู้จักทำอาสวะให้สิ้น.
ที. สี. ๙/๑๐๑.
อธิบาย: วิปัสสนาญาณนั้น ญาณทัสสนะก็เรียก ได้แก่ปัญญาพิจารณาเห็นรูปและนามแยกเป็นส่วน ต่างอาศัยกันเป็นไป [ผู้ใคร่จะรู้พิสดาร จงดูวิสุทธิ ๗ ในสัตตกะ]. มโนมยิทธินั้น มีนิทเทศว่า นิรมิตได้ซึ่งกายอื่นออกจากกายนี้ ดุจชักดาบออกจากฝัก มีการคิดทำอะไรต่าง ๆ สำเร็จเทียบ. อิทธิวิธิ ทิพพโสต และเจโตปริยญาณ อธิบายไว้แล้วในอภิญญา ๖ ในฉันกะ. ปุพเพนิวาสานุสสติ ทิพพจักขุ และอาสวักขยญาณ อธิบายไว้แล้วในวิชชา ๓ ในติกะ.


------------------------------------------


(๑๗๔) สมาบัติ ๘
๑. รูปฌาน ๔
๒. อรูปฌาน ๔
สํ. สฬา. ๑๘/๓๒๓
พึงดูอธิบายรูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๔ ในจตุกกะ.

 

 

Tags : อัฎฐกะ ๘

view