คำแปลมะหาสะติปัฏฐานะสุตตัง
อันข้าพเจ้า (คือพระอานนท์เถระ) ได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับอยู่ในหมู่ชนชาวกุรุ นิคมของหมู่ชนชาวกุรุ ชื่อกัมมาสธัมมะ ในกาลนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น ทูลรับพระพุทธพจน์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ว่า พระเจ้าข้า ดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสพระพุทธภาษิตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ทางนี้เป็นที่ไปอันเอก (เป็นที่ไปของบุคคล ผู้เดียว เป็นที่ไปในที่แห่งเดียว) เพื่อความหมดจดวิเศษของสัตว์ทั้งหลายเพื่อความก้าวล่วง ซึ่งความโศกและความร่ำไร เพื่ออัสดงค์ดับไปแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม (ธรรมที่ควรรู้ ธรรมที่ถูก คืออริยมรรค)เพื่อกระทำนิพพานให้แจ้ง ทางนี้คือ สติปัฏฐาน (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งสติ ๔ อย่าง) สติปัฏฐาน ๔ อย่างคืออะไรบ้าง ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ (๑)ย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายเนือง ๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงนำ อภิชฌาและโทมนัส (ความยินดียินร้าย) ในโลกเสียให้พินาศ เธอย่อม (๒)พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาเนือง ๆ อยู่ มีความเพียรกิเลสให้เร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติ พึงนำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ เธอย่อม(๓ )พิจารณาเห็นจิตในจิตเนือง ๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะมีสติ พึงนำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ เธอย่อม(๔)พิจารณาเห็น ธรรมในธรรมเนือง ๆ อยู่ มีความเพียรให้กิเลสเร่าร้อน มีสัมปชัญญะ มีสติพึงนำอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียให้พินาศ. จบอุทเทส
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ อย่างไรเล่า ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปแล้วสู่ป่าก็ดี ไปแล้วสู่ โคนไม้ก็ดี ไปแล้วสู่เรือนว่างเปล่าก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ (ขัดสมาธิ์) ตั้งกายให้ ตรง ดำรงสติเฉพาะหน้า เธอย่อมมีสติหายใจเข้า ย่อมมีสติหายใจออก เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น, ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า, ย่อมสำเหนียกว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก, ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขาร (คือลมอัสสาสะ ปัสสาสะ) หายใจเข้า, ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ฉันใด นายช่างกลึง หรือลูกมือของนาย ช่างกลึงผู้ฉลาด เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงยาว หรือ เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่าเราชักเชือกกลึงสั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นนั่นแหละ เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว หรือเมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจ ออกยาว เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น หรือเมื่อหายใจ ออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น, ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้ กำหนดรู้ ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า, ย่อมสำเหนียกว่า เรา จักเป็นผู้กำหนดรู้ ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก, ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อม พิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นใน กายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อม พิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็ หรือสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ อย่างนี้. จบข้อกำหนดด้วยลมหายใจเข้าออก. (อานาปานะปัพพะ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่ อีก ภิกษุ เมื่อเดินอยู่ ก็รู้ชัด ว่า (เดี๋ยวนี้) เราเดิน หรือเมื่อยืน ก็รู้ชัดว่า (เดี๋ยวนี้) เรายืน หรือเมื่อ นั่ง ก็รู้ชัดว่า (เดี๋ยวนี้) เรานั่ง หรือเมื่อนอน ก็รู้ชัดว่า (เดี๋ยวนี้) เรา นอน อนึ่ง เมื่อเธอนั้น เป็นผู้ตั้งกายไว้แล้วอย่างใด ๆ ก็ย่อมรู้ชัด อาการกายนั้นอย่างนั้น ๆ ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อม พิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นใน กายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อม พิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็ หรือสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ อย่างนี้. จบข้อกำหนดด้วยอิริยาบถ (อิริยาปะถะปัพพะ)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมเป็นผู้ทำสัมป ชัญญะ (ความเป็นผู้รู้ทั่วพร้อม) ในการก้าวไปข้างหน้า และถอยกลับมา ข้างหลัง ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการแลไปข้างหน้า แลเหลียวไปข้างซ้าย ข้างขวา ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการคู้อวัยวะเข้า เหยียดอวัยวะออก ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการทรงผ้าสังฆาฏิ บาตร และจีวร ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการกิน ดื่ม เคี้ยว และลิ้ม ย่อมเป็นผู้ทำ สัมปชัญญะ ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมเป็นผู้ทำสัมปชัญญะ ในการเดิน ยืน นั่ง หลับ ตื่น พูด และความเป็นผู้นิ่งอยู่ ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อม พิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นใน กายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อม พิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็ หรือสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆในโลกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ อย่างนี้. จบข้อกำหนดด้วยสัมปชัญญะ. (สัมปะชัญญะปัพพะ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ ย่อมพิจารณากายนี้ นี่แล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดโดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้, ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย (สายรัดไส้ ไส้ทบ) อาหารใหม่ อาหาร เก่า น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ น้ำมันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำมูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ฉันใด ไถ้มีปาก ๒ ข้าง เต็มด้วยธัญญ ชาติมีประการต่างๆ คืออะไรบ้าง คือข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร บุรุษมีจักษุแก้ไถ้นั้นออกแล้ว พึงเห็นได้ว่า เหล่านี้ ข้าวสาลี เหล่านี้ข้าวเปลือก เหล่านี้ถั่วเขียว เหล่านี้ถั่วเหลือง เหล่านี้งา เหล่านี้ข้าวสาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแล ภิกษุย่อมพิจารณากายนี้นี่แล เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังหุ้มอยู่เป็นที่สุดโดยรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า น้ำดี น้ำเสลด น้ำเหลือง น้ำเลือด น้ำเหงื่อ น้ำมันข้น น้ำตา น้ำมันเหลว น้ำลาย น้ำมูก น้ำไขข้อ น้ำมูตร ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภาย ในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น กายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกาย บ้าง ก็หรือสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น แต่เพียงสักว่า เป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่อย่างนี้. จบข้อกำหนดด้วยกายเป็นของปฏิกูล (ปะฏิกกูละปัพพะ)

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุย่อมพิจารณากายอัน ตั้งอยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปกตินี้นี่แล โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ฉันใด คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ ฉลาด ฆ่าแม่โคแล้ว พึงแบ่งออกเป็นส่วน แล้วนั่งอยู่ที่หนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นนั่นแล ภิกษุย่อมพิจารณากาย อันตั้ง อยู่ตามที่ตั้งอยู่ตามปกตินี้นี่แล โดยความเป็นธาตุว่ามีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภาย ในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น กายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปใน กายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไป ในกายบ้าง ก็หรือสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น แต่ เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ อย่างนี้. จบข้อกำหนดด้วยธาตุ (ธาตุปัพพะ)

๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะพึง เห็น สรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไวแล้ในป่าช้าตายแล้ววันหนึ่ง หรือตาย แล้ว ๒ วัน หรือตายแล้ว ๓ วัน อันพองขึ้น สีเขียวน่าเกลียด เป็นสรีระมี น้ำเหลืองไหล น่าเกลียด เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้ เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ ไปได้ ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็น กายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้ง ภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้างย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ อย่างนี้
๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุ เหมือนกะว่า จะพึง เห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่ บ้าง ฝูงแร้งจิกกินบ้าง ฝูงนกตระกรุมจิกกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอก กัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็ก ๆ ต่าง ๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอก็น้อมเข้ามาสู่ กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็น ธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้ ภิกษุย่อม พิจารณาเห็นกายในกาย เป็น ภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณา เห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ อย่างนี้.
๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่ ภิกษุ เหมือนกะว่าจะพึง เห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อ และเลือด อันเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่าง กายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็น อย่างนี้ไปได้ ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อม พิจารณาเห็น กายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายใน ทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นใน กายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อม พิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ อย่างนี้
๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะ พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า เป็นร่างกระดูก เปื้อน ด้วยเลือด แต่ปราศจากเนื้อแล้ว ยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ เธอก็น้อมเข้ามา สู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วยย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ อย่างนี้
๕. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะ พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศ จากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็นรัดรึงอยู่ เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้ นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อม พิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นใน กายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อม พิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็หรือสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น แต่เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไรๆ ในโลกด้วย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนืองๆ อยู่ อย่างนี้
๖. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะ พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า คือเป็น (ท่อน) กระดูก ปราศจากเส้นเอ็นเครื่องรัดรึงแล้ว กระจายไปแล้วในทิศน้อย และทิศ ใหญ่ คือ กระดูกมือ (ไปอยู่) ทางอื่น, กระดูกเท้า (ไปอยู่) ทางอื่น, กระดูกแข้ง (ไปอยู่) ทางอื่น, กระดูกขา (ไปอยู่) ทางอื่น, กระดูก สะเอว (ไปอยู่) ทางอื่น, กระดูกสันหลัง (ไปอยู่) ทางอื่น, กระดูก ซี่โครง (ไปอยู่) ทางอื่น, กระดูกหน้าอก (ไปอยู่) ทางอื่น, กระดูกแขน (ไปอยู่) ทางอื่น, กระดูก ไหล่ (ไปอยู่) ทางอื่น, กระดูกคอ (ไปอยู่) ทางอื่น กระดูกคาง (ไปอยู่) ทางอื่น, กระดูกฟัน (ไปอยู่) ทางอื่น, กะโหลกศีรษะ (ไปอยู่) ทางอื่น, เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึง ร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความ เป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อม พิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นใน กายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อม พิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็ หรือสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น แต่เพียงสักว่าเป็น ที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถือ อะไร ๆ ในโลกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ อย่างนี้.
๗. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะ พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า คือเป็น (ท่อน) กระดูก มีสีขาวเปรียบด้วยสีสังข์ เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกาย อันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ ไปได้ ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อม พิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นใน กายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อม พิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็ หรือสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น แต่เพียงสักว่าเป็น ที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถือ อะไร ๆ ในโลกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ อย่างนี้
๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะ พึงเห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า คือเป็น (ท่อน) กระดูก เป็นกองเรี่ยรายแล้ว มีในภายนอก (เกิน) ปีหนึ่งไปแล้ว เธอก็น้อมเข้า มาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็น อย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กาย เป็นภายในบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อม พิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไป ในกายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อม ไปในกายบ้าง ก็หรือสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น แต่ เพียงสักว่าเป็นที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถืออะไร ๆ ในโลกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ อย่างนี้.
๙. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้ออื่นยังมีอยู่อีก ภิกษุเหมือนกะว่าจะพึง เห็นสรีระ (ซากศพ) ที่เขาทิ้งไว้แล้วในป่าช้า คือเป็น (ท่อน) กระดูก ผุละเอียดแล้ว เธอก็น้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มี อย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็น อย่างนี้ ไม่ล่วงพ้นความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายในบ้าง ย่อม พิจารณาเห็นกายในกาย เป็นภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นกายในกาย ทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเกิดขึ้นใน กายบ้าง ย่อมพิจารณาเห็นธรรมดา คือ ความเสื่อมไปในกายบ้าง ย่อม พิจารณาเห็นธรรมดา คือ ทั้งความเกิดขึ้น ทั้งความเสื่อมไปในกายบ้าง ก็ หรือสติว่ากายมีอยู่ เข้าไปตั้งอยู่เฉพาะหน้าแก่เธอนั้น แต่เพียงสักว่าเป็น ที่รู้ แต่เพียงสักว่าเป็นที่อาศัยระลึก เธอย่อมไม่ติดอยู่ด้วย ย่อมไม่ยึดถือ อะไร ๆ ในโลกด้วย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายเนือง ๆ อยู่ อย่างนี้. จบข้อกำหนดด้วยป่าช้า ๙ ข้อ (นะวะสีวะถิกาปัพพะ) จบกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

ท่านผู้มีจิตศรัทธาต้องการจัดพิมพ์พระสูตรต่างๆตามบทสวดในหนังสือสวดมนต์ฉบับพุทธบริษัทของวัดป่ามะไฟแจกเป็นธรรมทาน กรุณาติดต่อโดยตรงที่ วัดป่ามะไฟ ต.โคกไม้ลาย อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี
(ท่านพระครูภาวนาธรรมธารี : tel 081-983 6770)
(คำแปล มีต่อหน้า ๒)
หมายเหตุ:
คำแปลมหาสติ หน้า ๑-๔
อานิสงส์เจริญมหาสติฯ หน้า ๕
|