เตรียมตัวก่อนบวช(สามเณร-ภิกษุ) |
คำว่า บวช มาจาก คำว่า ป + วช แปลว่า เว้นทั่ว คือเว้นจากกาม ใน จุดมุ่งหมายในการบวชก็คือการปฏิบัติตนเพื่อรื้อถอนออกจากความทุกข์ และทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน คือความดับทุกข์ อย่างไรก็ตาม การบวชได้แม้เพียงชั่วคราวก็นับว่าดี เพราะนอกจากเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาแล้ว อย่างน้อยก็ยังเป็นเหตุให้รู้จักฝึกหัดความอดทน และความเสียสละอย่างมาก อาจทำให้เข้าถึงพุทธธรรมได้โดยใกล้ชิด สามเณร แปลว่า ผู้เป็นเชื้อสายแห่งสมณะ เมื่อเป็นสามเณรแล้ว
ของใช้ในพิธีคือ ๑. ไตรแบ่ง (สบง ๑ ประคตเอง ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ ผ้ารัด อก ๑ ผ้ากราบ ๑)
๑. ให้บิดามารดาหรือผู้ปกครอง พาไปหาเจ้าอาวาสและพระ การบวชเป็นพระภิกษุ ภิกษุ แปลว่า ผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร เมื่อเป็นพระภิกษุแล้ว ต้อง
อัฏฐบริขารและเครื่องใช้อื่น ๆ ที่จำเป็นและควรจัดหา ๑. ไตรครอง (สบง ๑ ประคตเอว ๑ อังสะ ๑ จีวร ๑ สังฆาฏิ ๑ ผ้ารัดอก ๑ ผ้ากราบ ๑ )
ถ้ามีกระบวนแห่งควรจัดกระบวนดังนี้ ๑. การแสดงต่าง ๆ เช่น หัวโต สิงโต ฯ (ถ้ามี)
คำวันทาเสมา (อีกแบบหนึ่ง) อุกาสะ วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต
วันทามิ ภันเต สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต มะยา *เสร็จแล้วโปรยทาน แล้วเข้าสู่พระอุโบสถได้ โดยมารดาบิดาหรือญาติผู้ใหญ่หรือเจ้าภาพจูงประกอบด้วยญาติและมิตรเป็นผู้เกาะต่อ ๆ กัน ครั้นแล้วผู้บวชจึงไปวันทาพระประธานในพระอุโบสถด้านข้างพระหัตถ์ขวา แล้วมารับไตรครองจากมารดาบิดาหรือญาติผู้ใหญ่หรือเจ้าภาพ ต่อจากนั้นจึงเริ่มพิธีการบวชตามหลักพระธรรมวินัยต่อไป *เมื่อบวชเป็นสามเณรเสร็จแล้ว บิดาต้องคอยประเคนบาตรแก่สามเณรนั้น ขณะที่พระคู่สวดกำลังสวดญัตติจตุตถกรรมวาจา ห้ามมิให้อนุป-สัมบัน (ผู้ที่มิใช่พระภิกษุ) เข้าใกล้อาสน์สงฆ์ ๑ ศอก ทางที่ดีควรสงบอยู่กับที่ ภายหลังจากบวชเป็นพระภิกษุเสร็จแล้ว เจ้าภาพและญาติมิตรจึงถวายอัฏฐบริขารและเครื่องใช้อื่น ๆ ที่สมควรแก่สมณะ แก่พระบวชใหม่ต่อไปเสร็จแล้วพระบวชใหม่กรวดน้ำ เป็นเสร็จพิธี ข้อสำคัญที่ควรจดจำไว้ก็คือ ๑. มารดาบิดา หรือญาติผู้ใหญ่หรือเจ้าภาพ พร้อมผู้จะบวช
การโกนผมนาค เมื่อได้เวลาตามที่กำหนดไว้ นาคและญาติพร้อมกัน ณ สถานที่ๆ กำหนดไว้ พ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ขลิบผมให้นาคเป็นปฐม จากนั้นพระสงฆ์ปลงผมให้นาค แต่งชุดนาค ตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติโดยทั่วไป ผมที่โกนแล้วนิยมห่อด้วยใบบัวแล้วนำไปลอยน้ำที่แม่น้ำหรือวางไว้ใต้ร่มโพธิ์ เชื่อว่าจะทำให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข การปลงผมจะปลงที่บ้านหรือที่วัดก็ได้แล้วแต่ความสะดวก แต่วิธีปฏิบัติโดยทั่วไปนิยมปลงผมที่วัด นอกจากญาติที่มาร่วมงานจะได้มีโอกาสร่วมพิธีตัดผมนาคแล้วยังเป็นการประหยัดเวลาของเจ้าภาพและแขกที่มาร่วมงานอีกด้วย เมื่อปลงผมเสร็จจะได้ทำประทักษิณเวียนรอบสีมา และเข้าโบสถ์ประกอบพิธีอุปสมบทต่อไป อุปกรณ์ที่ใช้ในการปลงผมมี ดังนี้ ๏ กรรไกรตัดผม ๏ ด้ามมีดโกน พร้อมทั้งใบมีดโกน ๏ สบู่ หรือ ยาสระผม ๏ ใบบัวสำหรับรองผม หรือวัสดุอย่างอื่นที่ใช้แทนได้ ๏ ผ้าเช็ดตัว โดยมาก อุปกรณ์ที่ใช้ในการโกนผม เฉพาะด้ามมีดโกนและใบมีดโกน พระสงฆ์ที่ทำหน้าในการโกนผมจะเตรียมให้เอง
หลังจากปลงผมเสร็จแล้ว ประเพณีนิยมบางท้องถิ่นจะลูบไล้ด้วยของหอมทาด้วยขมิ้นโดยเชื่อว่าจะได้ดับกลิ่นฆราวาส แต่วิธีปฏิบัติโดยทั่วไปไม่นิยมเพราะจะทำให้ดูไม่เรียบร้อย หรือหากจะทาก็ไม่ควรให้แป้งหรือขมิ้นติดเกรอะกรังจนดูไม่เรียบร้อย สมัยก่อนการใช้ขมิ้นทาศีรษะหลังโกนผม มีสาเหตุมาจากมีดที่ใช้โกนผมเป็นมีดผมเดียวที่ลับด้วยมือ เวลาโกนจึงอาจทำให้เกิดบาดแผลบ้าง หลังโกนผมจึงต้องใช้ขมิ้นทาศีรษะ เพื่อห้ามเลือดและสมานแผล ในสมัยปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่จึงทำใบมีดมีความคมมากขึ้น และพระสงฆ์ที่โกนผมก็มีความชำนาญ จนแทบไม่มีรอยบาดแผล จึงไม่มีความจำเป็จะต้องทาแป้งหรือขมิ้นเหมือนสมัยก่อน การแต่งตัวนาค ควรแต่งด้วยชุดขาวอันบ่งบอกถึงความสะอาดบริสุทธิ์ ในกรณีมีสีอย่างอื่นก็สามารถใช้ได้ ไม่จำเป็นต้องใช้สีขาวเสมอไป ให้ดูสิ่งที่จัดหาได้ง่ายตามความเหมาะสม และความนิยมของท้องถิ่นนั้นๆ ที่สำคัญคือต้องประหยัด การแต่งตัวนาค ไม่ควรมีเครื่องประดับประดามากจนเกินไป ขอแนะนำเครื่องแต่งตัวนาคตามประเพณีนิยม ดังนี้ ๏ เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว ๏ สบงขาว ๏ อังสะขาว ๏ เข็มขัด หรือสายรัดสำหรับรัดสบง ๏ เสื้อคลุมนาค ๏ หากมีสร้อยคอจะสวมให้นาคก็ได้ แต่ไม่ควรคล้องพวงมาลัย เพราะแทนที่จะเป็นนาคก็จะกลายเป็นนักร้องไป เข็มขัดสำหรับรัดสบงขาว นิยมใช้เข็มขัดนาค ในกรณีที่ไม่มีเข็มขัดนาคจะใช้เข็มขัดอย่างอื่นหรือสายรัดก็ได้ ไม่ใช่ข้อกำหนดตายตัว การใช้เข็มขัดนาคเป็นการปฏิบัติตามประเพณีนิยม เพื่อให้สอดคล้องกับคำว่า "นาค" ซึ่งเป็นชื่อเรียกกุลบุตรผู้จะบวชในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่ได้มีนัยที่มุ่งหมายเป็นอย่างอื่น
การทำประทักษิณ(เดินเวียนขวารอบสีมา) การทำประทักษิณในทางพระพุทธศาสนา คือ การกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ การหมุนไปทางขวาคือการหมุนไปสู่ความดีทั้งทางกาย วาจา และใจ ตรงกันข้ามกับการหมุนไปด้านซ้ายเป็นการหมุนทวนความดี คือ การกระทำที่เป็นทุจริตทางกาย วา และใจ การทำประทักษิณเวียนขวารอบสีมาก่อนเข้าโบสถ์บวชเป็นพระภิกษุ นอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพตามธรรมเนียมโบราณแล้ว ยังเป็นอุบายที่คนโบราณสอนให้รู้ว่า สิ่งที่จะทำต่อไปนี้เป็นการกระทำที่สุจริตถูกต้องชอบธรรมทั้งทางกาย ทางวาจา และทางใจ นอกจากนั้น การทำประทักษิณก่อนเข้าสู่พิธีอุปสมบท ยังเป็นช่วงเวลาให้นาคได้มีโอกาสทำสมาธิรวบรวมจิตใจไม่ให้ตกประหม่าตื่นเต้นจนเกินเหตุ ญาติของนาคจึงไม่ควรส่งเสียงหรือโห่ร้อง ร้องรำทำเพลง ประโคมดนตรีอันจะเป็นการรบกวนสมาธิของนาค การทำประทักษิณเวียนขวารอบสีมาเป็นการแสดงความเคารพ เพื่อให้ผู้บวชก้าวไปสู่ความดีงาม จึงไม่ควรให้นาคขี่คอ ขึ้นคานหาม หรือแบกหามซึ่งจะดูไม่เรียบร้อย หากพลัดตกลงมาอาจเป็นอันตรายจนถึงบวชไม่ได้ จึงควรให้นาคเดินตามปกติ คติเกี่ยวกับการให้นาคขี่คอ สืบเนื่องมาจากความเชื่อที่ว่าพระพุทธเจ้าออกผนวชด้วยการขี่ม้ากัณฑกะ จนได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เที่ยวสั่งสอนเวไนยสัตว์ ในสมัยต่อมาผู้ที่จะบวชจึงนิยมขี่ม้าแห่แหนกันอย่างเอิกเกริกก่อนเข้าโบสถ์ประกอบพิธีอุปสมบท แต่เนื่องจากบางท้องถิ่นหาม้าได้ไม่ง่าย จึงให้นาคขี่คอคนแทนม้า บางแห่งให้นาคนั่งบนเตียงที่มีคนหามแทนการขี่คอ จึงกลายเป็นประเพณีที่ยอมรับสืบทอดกันอย่างกว้างขวาง ว่าผู้ที่จะบวชต้องขี่คอ เสมือนหนึ่งพระพุทธองค์ขี่ม้าออกผนวช เนื่องจากการเดินเวียนขวารอบสีมาเป็นการแสดงความเคารพตามธรรมเนียมโบราณ จะใช้เฉพาะกรณีที่ต้องการแสดงความเคารพเป็นกรณีพิเศษเท่านั้น ผู้บวชจึงต้องให้ความสำคัญอย่างมาก ข้อปฏิบัติที่เหมาะสมเกี่ยวกับการเดินปทักษิณเวียนขวารอบสีมาควรปฏิบัติ ดังนี้ เมื่อแต่งชุดนาคเสร็จแล้ว ให้นาคประณมมือโดยมีดอกไม้ที่เตรียมไว้อยู่ในมือเดินทำปทักษิณ(๑) (เวียนขวา) รอบพระอุโบสถ ๓ รอบ จะมีผู้กั้นสัปทนให้นาคก็ได้ การทำปทักษิณให้เริ่มต้นจากสีมาตรงกลางด้านหน้าอุโบสถ (เริ่มจากสีมาที่จะวันทา) ส่วนญาติๆ ถือบริขารพร้อมทั้งเครื่องไทยทานที่จัดเตรียมไว้ ตามความนิยมโดยทั่วไปบิดาสะพายบาตรถือตาลปัตร ส่วนมารดาถือพานแว่นฟ้าสำหรับใส่ผ้าไตรครองเดินตามหลังนาค แถวถัดมาเป็นธูปเทียนแพ เครื่องไทยทานสำหรับพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวด และเครื่องบริขารอย่างอื่นโดยลำดับ ในขณะเดินให้นาคสวดบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ดังนี้ "อิติปิโส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯลฯ" หรือจะภาวนา "พุทโธๆ" ตามจังหวะเท้าที่ก้าวย่างก็ได้ การเดินเวียนขวารอบอุโบสถเป็นการแสดงความเคารพตามธรรมเนียมโบราณ ญาติที่มาร่วมพิธีจึงไม่ควรโห่ หรือส่งเสียงเอิกเกริกเฮฮา เหมือนงานรื่นเริงอื่นๆ ควรอยู่ในอาการสำรวมกาย วาจา และใจ ไม่ควรมีการแสดงการละเล่นใดๆ ซึ่งนอกจากจะเป็นการแสดงความเคารพต่อสถานที่แล้ว ยังไม่เป็นการรบกวนสมาธิของนาคอีกด้วย เมื่อเดินครบ ๓ รอบแล้ว นาคต้องวันทาสีมาหน้าอุโบสถก่อนเข้าไปในเขตสีมา โดยเริ่มต้นตามขั้นตอนการวันทา ต่อไปนี้ นาควางดอกไม้เครื่องสักการะไว้บนพานที่เตรียมไว้ บางแห่งให้จุดธูปเทียนด้วย แต่โดยมากนิยมให้ดอกไม้ธูปเทียนไว้บนพานหรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่จัดเตรียมไว้ โดยมากไม่จุดธูปเทียน นาคกราบสีมา ๓ หน แล้วยืนขึ้นว่า คำวันทาสีมา อุกาสะ วันทามิ ภันเต // สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต// มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อนุโมทิตัพพัง// สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง// สาธุ/ สาธุ/ อนุโมทามิ ฯ คำแปล ขอโอกาสขอรับ กระผมขอกราบไหว้ ท่านขอรับ ขอท่าน จงยกโทษที่ได้ล่วงเกินทั้งปวงให้กระผมด้วย ขอท่านโปรดอนุโมทนาบุญที่กระผมได้กระทำ และขอท่านโปรดให้บุญที่ท่านได้ทำแก่กระผมด้วย สาธุ สาธุ กระผมขออนุโมทนา นั่งคุกเข่าประณมมือว่า สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต // อุกาสะ ทะวารัตตะเยนะ กะตัง / สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต ฯ คำแปล ท่านขอรับ ขอท่านโปรดยกโทษที่ได้ล่วงเกินทั้งปวงให้กระผมด้วย ท่านขอรับ ขอท่านโปรดยกโทษที่ได้ล่วงเกินทั้งปวง ที่กระผมได้ทำทางทวารทั้ง ๓ ทาง (คือ กาย วาจา และใจ) กราบ ๑ หน แล้วยืนขึ้นว่า วันทามิ ภันเต // สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต // มะยา กะตัง ปุญญัง สามินา อนุโมทิตัพพัง// สามินา กะตัง ปุญญัง มัยหัง ทาตัพพัง// สาธุ / สาธุ/ อนุโมทามิ ฯ คำแปล ท่านขอรับ กระผมขอกราบไหว้ ขอท่านโปรดยกโทษที่ได้ล่วงเกินทั้งปวงให้กระผมด้วย ขอท่านโปรดอนุโมทนาบุญที่กระผมได้กระทำ และขอท่านโปรดให้บุญที่ท่านได้ทำแก่กระผมด้วย สาธุ สาธุ กระผมขออนุโมทนา นาคนั่งคุกเข่ากราบ ๓ หน จากนั้นเข้าไปภายในพระอุโบสถ ในขณะเข้าประตูโบสถ์ไม่ควรยกนาคข้ามธรณีประตู หรือยกขึ้นเพื่อเอามือแตะคานประตู ตามที่นิยมปฏิบัติกันโดยขาดความเข้าใจ เพราะอาจพลัดตกลงมาแขนขาหักได้ ให้นาคเดินเข้าโบสถ์ตามปกติ โดยบิดามารดาและญาติจะแตะที่ตัวนาคตามเข้าไปก็ได้________________________________ (๑) เดินเวียนขวา หมายถึง ขวามือพระประธาน ไม่ใช่ขวามือของนาค
การโปรยทาน การโปรยทานนั้นจะมีก็ได้ไม่มีก็ได้ ไม่ใช่ข้อกำหนดตายตัว เนื่องจากไม่ใช่พิธีที่เกี่ยวเนื่องกับการบวช ถึงไม่มีการโปรยทานก็บวชสำเร็จเป็นพระได้ ดังนั้น วัดใหญ่ๆ บางวัด ที่มีแบบแผนและเป็นหลักในการประกอบพิธีบวช จึงไม่นิยมให้มีการโปรยทาน เพราะการโปรยทานไม่เกี่ยวเนื่องกับพิธีบวช โดยจะยึดเอาขั้นตอนและพิธีบวชเป็นหลัก พิธีกรรมใดไม่เกี่ยวเนื่องกับขั้นตอนการบวชก็จะไม่ให้มี เพราะจะทำให้เกิดความไม่เรียบร้อย เกิดเสียงเอิกเกริกเฮฮา อันเป็นการแสดงความไม่เคารพต่อสถานที่ เจ้าภาพจึงควรปรึกษากับพระสงฆ์ที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลพิธีการบวชให้เข้าใจว่า วัดนั้นโปรยทานได้หรือไม่ เพราะเมื่อเตรียมของสำหรับโปรยทานมาแล้ว พอถึงเวลาปรากฏว่าทางวัดไม่อนุญาต จะได้ไม่รู้สึกเกิดความไม่สบายใจ หรือถ้าเจ้าภาพเตรียมมาแล้ว หากท่านไม่อนุญาตให้โปรยทาน จะถวายเป็นค่าน้ำค่าไฟที่วัดก็เห็นจะเป็นประโยชน์มากกว่า
กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล การกรวดน้ำรับพร เมื่อประธานสงฆ์สวด ยะถาฯลฯ ให้เริ่มรินน้ำ พร้อมกับนึกแผ่ส่วนบุญส่วนกุศล พอพระสวดขึ้นพร้อมกันหมดทุกรูปให้รินน้ำลงให้หมด เสร็จแล้วประนมมือฟังพระสวดไปจนจบ ในการกรวดน้ำ ควรประครองที่กรวดน้ำด้วยมือทั้งสอง ไม่ควรใช้นิ้วรองน้ำ ควรปล่อยให้น้ำไหลลงตามธรรมชาติ ให้ตั้งใจแผ่ส่วนบุญกุศล โดยนึกถึงบรรพบุรุษทั้ง ๒ ฝ่าย คือ ฝ่ายบิดามาดา ปู่ย่า ตายายตลอดจนหมู่ญาติ เรื่อยมาโดยลำดับจนถึงมารดาบิดาแม้ยังมีชีวิตอยู่ก็ให้ท่านได้รับอานิสงส์แห่งการบวช และขอให้ท่านได้มีความสุข มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง นึกถึงครูบาอาจารย์ทั้งในชาตินี้และในอดีตชาติ นึกถึงเทวาอารักษ์พระภูมิเจ้าที่ทั้งหลาย แม้มองไม่เห็นตัวก็ขอให้ได้รับบุญกุศลด้วยนึกถึงผู้มีเวรทั้งหลาย ทั้งที่เราเคยสร้างเวรสร้างกรรมกับเขาไว้ และที่เขาเคยสร้างเวรสร้างกรรมกับเราไว้ แผ่กว้างออกไปตลอกจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย จงเป็นผู้มีส่วนในอานิสงส์แห่งการบรรพชาอุปสมบทของเราเสมอกันถ้วนทุกคน ที่มาจากหนังสือ ลูกผู้ชายต้องบวช ผู้แต่ง ญาณวชิระ http://www.dhammajak.net/suadmon1/27.html
|
เตรียมตัวก่อนบวช(สามเณร-ภิกษุ)
