อนุศาสน์ คำสอนเบื้องต้นสำหรับพระภิกษุผู้บวชใหม่ |
อนุศาสน์ คือ คำสอนเบื้องต้นที่พระอุปัชฌาย์สอนพระภิกษุผู้บวชใหม่มี ๘ ข้อ แบ่งเป็นกิจวัตรที่ต้องปฏิบัติ ซึ่งเป็นการดำเนินชีวิต แบบพระภิกษุ เรียกว่า นิสสัย มี ๔ ข้อ ดังนี้ ๏ เที่ยวบิณฑบาต ชีวิตพระภิกษุในพระพุทธศาสนาไม่มีอาชีพอื่น เช่น ไม่มีอาชีพทำนา ทำไร่ ค้าขาย เป็นต้น แต่ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยการขออาหารจากชาวบ้าน ความหมายของคำว่า ภิกษุ นัยหนึ่งแปลว่าผู้เห็นภายในวัฏสงสาร อีกนัยหนึ่งแปลว่า ผู้ขอ โดยกิริยามิใช่โดยการออกปาก การบิณฑบาตจึงเป็นการเลี้ยงชีพที่บริสุทธิ์สำหรับภิกษุ ตามวิถีทางแห่งพระพุทธศาสนา ๏ นุ่งห่มผ้าบังสุกุล ผ้าบังสุกุล คือ ผ้าที่ภิกษุเก็บเศษผ้าท่อนเล็กท่อนน้อยซึ่งตกอยู่ตามพื้นดิน เปื้อนผุ่นไม่สะอาด ไม่สวยไม่งาม โดยที่สุดแม้ผ้าที่เขาใช้ห่อศพ ตกอยู่ตามป่าช้า ภิกษุเก็บมาเย็บปะต่อกันเป็นผืน ซัก เย็บ ย้อมใช้เป็นจีวรสำหรับนุ่งห่ม ปัจจุบันภิกษุใช้ผ้าสำเร็จรูปที่ชาวบ้านถวายได้ ๏ อยู่โคนต้นไม้ ชีวิตพระภิกษุในพระพุทธศาสนาต้องสละบ้านเรือน ออกบวชเป็นผู้ไม่มีบ้านเรือน จึงต้องอาศัยอยู่ตามร่มไม้ ป่าเขา เงื้อมผา เถื่อนถ้ำ ภายหลังมีผู้เลื่อมใสสร้างวัดถวาย ปัจจุบันจึงมีวัดวาอารามเป็นที่อยู่อาศัยสำหรับพระภิกษุ ๏ ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า ธรรมดาสังขารร่างกายเต็มไปด้วยโรคภัยไข้เจ็บ การจะไม่มีโรคนั้นเป็นไม่มี พระพุทธองค์จึงอนุญาตให้พระภิกษุฉันสมอและมะขามป้อมดองด้วยน้ำปัสสาวะเป็นยาได้ตลอดเวลา เพื่อจะได้เป็นผู้มีโรคน้อย และมีกำลังในการบำเพ็ญกิจสงฆ์ นิสัย ๔ ข้างต้นเป็นกิจวัตรที่ต้องปฏิบัติเพราะเป็นวิธีการดำรงชีวิตแบบพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ส่วนกิจที่พระภิกษุทำไม่ได้ เรียกว่า อกรณียกิจ มี ๔ ข้อ ดังนี้ ๏ เสพเมถุน พระภิกษุมีเพศสัมพันธ์ไม่ว่ากับคนหรือสัตว์ ทั้งที่มีชีวิตหรือตายแล้ว ขาดจากความเป็นพระภิกษุทันที เปรียบเหมือนคนถูกตัดศรีษะแม้จะนำศีรษะมาต่อเข้ากับร่างก็ไม่อาจมีชีวิตฟื้นขึ้นมาได้ ๏ ลักขโมย ๏ ฆ่ามนุษย์ ภิกษุแกล้งฆ่ามนุษย์หรือใช้ผู้อื่นให้ฆ่า หรือทำอาวุธให้เขาด้วยเจตนาจะให้เขาฆ่าตัวตาย หรือบังคับให้เขากินยาพิษ หรือกล่าวพรรณนาคุณของความตายเพื่อให้เขาฆ่าตัวตาย ทำคาถาอาคมฆ่าด้วยคุณไสย โดยที่สุดแม้การทำแท้งและแนะนำวิธีการฆ่าด้วยอุบายต่าง ๆ ขาดจากความเป็นพระภิกษุ การพูดอวดคุณวิเศษ หมายถึง คุณวิเสษที่เกิดจาการปฏิบัติธรรม เจริญสมาธิวิปัสสนาจนได้บรรลุคุณวิเศษทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ ฌาน ๔ คือ (๑)ปฐมฌาน (๒)ทุติยฌาน (๓) ตติยฌาน (๔)จตุตถฌาน, วิชชา ๓ คือ (๑) ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ระลึกชาติได้ (๒) จตูปปาตญาณ ญาณกำหนดการเกิดการตายของสรรพสัตว์ (๓) อาสวักขยญาณ ญาณที่รู้การทำลายกิเลส เป็นต้น ที่ตนเองไม่มี ไม่ได้บรรลุ เพื่อต้องการให้คนอื่นนับถือศรัทธา โดยหวังลาภสักการะชื่อเสียงเกียรติยศ หรืออื่นใดก็ตาม ขาดจากความเป็นภิกษุ
การบอกอนุศาสน์ พระอุปัชฌาย์จะบอกพระภิกษุใหม่ทันทีภายหลังจากบวชเสร็จสิ้นลงแล้ว เพื่อสอนให้รู้ถึงการดำเนินชีวิตอย่างพระภิกษุ และการป้องกันไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการทรงภาวะความเป็นสมณะศากยบุตร อนุศาสน์ทั้ง ๘ ข้อนี้ท่านจะสวดเป็นภาษาบาลี สวดจบแต่ละข้อให้พระภิกษุใหม่รับ "อามะ ภันเต" คำบอกอนุศาสน์ ๘ อย่าง นิสสัย ๔ (๑) ปิณฑิยาโลปะโภชะนัง นิสสายะ ปัพพัชชา ตัตถะ เต ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย อะติเรกะลาโภ สังฆะภัตตัง อุทเทสะภัตตัง นิมันตะนัง สะลากภัตตัง ปักขิกัง อุโปสะถิกัง ปาฏิปะทิกัง ฯ (อามะ ภัณเต) (๒) ปังสุกูละจีวรัง นิสสาย ปัพพัชชา ตัตถะ เต ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย อะติเรกะลาโภ โขมัง กัปปาสิกัง โกเสยยัง กัมพะลัง สาณัง ภังคัง ฯ ฯ (อามะ ภัณเต) (๓)รุกขะมูละเสนาสนัง นิสสาย ปัพพัชชา ตัตถะ เต ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย อะติเรกะลาโภวิหาโร อัฑฒะโยโค ปาสาโท หัมมิยัง คุหา ฯ ฯ (อามะ ภัณเต) (๔) ปูติมุตตะเภสัชชัง นิสสายะ ปัพพัชชา ตัตถะ เต ยาวะชีวัง อุสสาโห กะระณีโย อะติเรกะลาโภ สัปปิ นะวะนีตัง เตลัง มะธุ ผาณิตนังฯ (อามะ ภัณเต) คำแปลนิสสัย ๔ (๑)บรรพชาอาศัยโภชนะคือคำข้าวอันหาได้ด้วยกำลังปลีแข้ง เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ ภัตถวายสงฆ์ ภัตเฉพาะสงฆ์ การนิมนต์ ภัตถวายตามสลาก ภัตถวายในปักษ์ ภัตถวายในวันอุโบสถ์ ภัตถวายในวันปาฏิบท (พระใหม่รับว่า "ขอรับกระผม) (๒) บรรพชาอาศัยบังสุกุลจีวร เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ ผ้าเปลือกไม้ ผ้าฝ้าย ผ้าไหม ผ้าขนสัตว์ ผ้าป่าน ผ้าเจือกัน (เช่นผ้าด้ายแกมไหม) (พระใหม่รับว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ครับผม") (อยู่โคนต้นไม้) (๓)บรรพชาอาศัยโคนไม้เป็นเสนาสนะ เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ วิหาร เรือนมุงแถบเดียว เรือนชั้น เรือนโล้น ถ้ำ (พระใหม่รับว่า "ขอรับกระผม") (ฉันยาดองด้วยน้ำมูตรเน่า) (๔) บรรพชาอาศัยมูตรเน่าเป็นยา เธอพึงทำอุตสาหะในสิ่งนั้นตลอดชีวิต อดิเรกลาภ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย (พระใหม่รับว่า "ขอรับกระผม")
อกรณียกิจ ๔ (๑) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา เมถุโน ธัมโม นะ ปะฏิเสวิตัพโพ อันตะมะโส ติรัจฉานะคะตายะปิฯ โย ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวะติ อัสสะมะโณโหติ อะสักยะปุตติโย ฯ เสยยะถาปิ นามะ ปุริโส สีสัจฉินโน อะภัพโพ เตนะ สะรีระพันธะเนนะ ชีวิตุ เอวะเมวะ ภิกขุ เมถุนัง ธัมมัง ปะฏิเสวิตะวา อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโยฯ ตันเต ยาวะชีวัง อะกะระณียังฯ (อามะ ภัณเต) (๒) อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง นะ อาทาตัพพัง อันตะมะโส ติณะสะลากัง อุปาทายะ ฯ โย ภิกขุ ปาทัง วา ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง อาทิยะติ อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย ฯ เสยยะถาปิ นามะ ปัณฑุปะลาโส พันธะนา ปะมุตโต อะภัพโพ หริตัตตายะ เอวะเมวะ ภิกขุ ปาทัง วา ปาทาระหัง วา อะติเรกะปาทัง วา อะทินนัง เถยยะสังขาตัง อาทิยิตวา อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโยฯ ตันเตยาวะชีวัง อะกะระณียัง ฯ (อามะ ภัณเต) (๓)อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา สัญจิจจะ ปาโณ ชีวิตา นะ โวโรเปตัพโพ อันตะมะโส กุนถะกิปิลลิกัง อุปาทายะฯ โย ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปติ อันตะมะโส คัพภะปาตะนัง อุปาทายะ อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย ฯ เสยยะถาปิ นามะ ปุถุสิลา เทวธา ภินนา อัปปะฏิสันธิกา โหติ เอวะเมวะ ภิกขุ สัญจิจจะ มะนุสสะวิคคะหัง ชีวิตา โวโรเปตวา อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย ฯ ตันเต ยาวะชีวัง อะกะระณียัง ฯ (อามะ ภัณเต) (๔)อุปะสัมปันเนนะ ภิกขุนา อุตตะริมะนุสสะธัมโม นะ อุลละปิตัพโพ อันตะมะโส สุญญาคาเร อะภิระมามีติฯ โย ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปะติ ฌานัง วา วิโมกขัง วา สะมาธิง วา สะมาปัตติง วา มัคคัง วา ผลัง วา อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโย ฯ เสยยะถาปิ นามะ ตาโล มัตถะกัจฉินโน อะภัพโพ ปุนะ วิรุฬหิยา เอวะเมวะ ภิกขุ ปาปิจโฉ อิจฉาปะกะโต อะสันตัง อะภูตัง อุตตะริมะนุสสะธัมมัง อุลละปิตะวา อัสสะมะโณ โหติ อะสักยะปุตติโยฯ ตันเต ยาวะชีวัง อะกะระณียัง ฯ(อามะ ภัณเต) คำแปลอกรณียกิจ ๔ (๑) ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงเสพเมถุนธรรม โดยที่สุดแม้ในสัตว์ดิรัจฉานตัวเมีย ภิกษุใดเสพเมถุนธรรม ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนบุรุษถูกตัดศีรษะแล้ว ไม่อาจจะมีสรีระคุมกันนั้นเป็นอยู่ ภิกษุก็เหมือนกัน เสพเมถุนธรรมแล้วไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร การนั้น เธอไม่พึงทำตลอดชีวิต (พระใหม่รับว่า "ขอรับกระผม") (ห้ามลักโขมย) (๒) ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงถือเอาของอันเขาไม่ได้ให้ เป็นส่วนขโมย โดยที่สุดหมายเอาถึงเส้นหญ้า ภิกษุใดถือเอาของอันเขาไม่ได้ให้ เป็นส่วนขโมย ได้ราคาบาทหนึ่งก็ดี ควรแก่ราคาบาทหนึ่งก็ดี เกิดบาทหนึ่งก็ดี ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือใบไม้เหลืองหล่นจากขั้วแล้วไม่อาจจะเป็นของเขียวสด ภิกษุก็เหมือนกัน ถือเอา ของอันเขาไม่ได้ให้เป็นส่วนขโมย ได้ราคาบาทหนึ่งก็ดี ควรแก่ราคาบาทหนึ่งก็ดี เกินบาทหนึ่งก็ดี ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร การนั้นเธอไม่พึงทำตลอดชีวิต (พระใหม่รับว่า "ขอรับกระผม") (ห้ามฆ่ามนุษย์) ๓. ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงแกล้งพรากสัตว์จากชีวิต โดยที่สุดหมายเอาถึงมดดำมดแดง ภิกษุใดแกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต โดยที่สุดหมายเอาถึงยังครรภ์ให้ตก ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนศิลาหนาแตกสองเสี่ยงแล้ว เป็นของกลับต่อกันไม่ได้ ภิกษุก็เหมือนกัน แกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิตแล้วไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร การนั้น เธอไม่พึงทำตลอดชีวิต (พระใหม่รับว่า "ขอรับกระผม") (ห้ามพูดอวดคุณวิเศษที่ไม่มีในตน) ๔. ภิกษุผู้อุปสมบทแล้ว ไม่พึงพูดอวดอุตตริมนุสสธรรม โดยที่สุดว่า เรายินดียิ่งในเรือนว่างเปล่า ภิกษุใดมีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาลามกครอบงำแล้ว พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่จริง คือฌานก็ดี วิโมกข์ก็ดี สมาธิก็ดี สมาบัติก็ดี มรรคก็ดี ผลก็ดี ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร เปรียบเหมือนต้นตาลมียอดด้วนแล้ว ไม่อาจจะงอกอีก ภิกษุก็เหมือนกัน มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาลามกครอบงำแล้ว พูดอวดอุตตริมนุสสธรรม อันไม่มีอยู่ อันไม่เป็นจริง ไม่เป็นสมณะ ไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร การนั้นเธอไม่พึงทำตลอดชีวิต (พระใหม่รับว่า "ขอรับกระผม") จากนั้น พระใหม่เดินตามพระคู่สวดเข้าท่ามกลางสงฆ์ ถวายเครื่องสักการะ และกรวดน้ำรับพรสืบต่อไป ที่มาจากหนังสือ ลูกผู้ชายต้องบวช ผู้แต่ง ญาณวชิระ |
อนุศาสน์ คำสอนเบื้องต้นสำหรับพระภิกษุผู้บวชใหม่
