สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

บุคคลที่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมเกิดในนรกหรือสวรรค์

บุคคลที่ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมเกิดในนรกหรือสวรรค์

[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน คือ

๑.ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้ไว้ก็มี

๒.ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงละเสียก็มี

๓.ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงให้เจริญก็มี

๔.ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกระทำให้แจ้งก็มี

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ....

ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้เป็นไฉน อุปาทานขันธ์ ๕ นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกำหนดรู้ไว้

ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงละเสียเป็นไฉน คือ อวิชชา และภวตัณหานี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงละเสีย

ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงให้เจริญเป็นไฉน คือ สมถะและวิปัสสนา นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงให้เจริญ

ก็ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกระทำให้แจ้งเป็นไฉน คือ วิชชาและวิมุตติ นี้เราเรียกว่า ธรรมที่รู้ยิ่งด้วยปัญญาแล้วพึงกระทำให้แจ้ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล ฯ

ที่มา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต อภิญญาวรรคที่ ๖
 

 

[๒๖๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

๑.ตนเองเป็นผู้ฆ่าสัตว์ ๑

๒.ชักชวนผู้อื่นในการฆ่าสัตว์ ๑

๓.พอใจในการฆ่าสัตว์ ๑
๔.กล่าวสรรเสริญคุณการฆ่าสัตว์ ๑

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

๑.ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑

๒.ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑

๓.พอใจในการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑

๔.กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการฆ่าสัตว์ ๑

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ

 

[๒๖๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

๑.ตนเองเป็นผู้ลักทรัพย์ ๑

๒.ชักชวนผู้อื่นในการลักทรัพย์ ๑

๓.พอใจในการลักทรัพย์ ๑
๔.กล่าวสรรเสริญคุณการลักทรัพย์ ๑

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

๑.ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑

๒.ชักชวนผู้อื่นให้งดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑

๓.พอใจในการงดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑

๔.กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการลักทรัพย์ ๑

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ


[๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ตนเองเป็นผู้ประพฤติผิดในกาม ๑

ชักชวนผู้อื่นในการประพฤติผิดในกาม ๑

พอใจในการประพฤติผิดในกาม ๑

กล่าวสรรเสริญคุณการประพฤติผิดในกาม ๑ ฯลฯ

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑
ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑

พอใจในการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑

กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม ๑ ฯลฯ

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ


[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ตนเองเป็นผู้พูดเท็จ ๑

ชักชวนผู้อื่นในการพูดเท็จ ๑

พอใจในการพูดเท็จ ๑

กล่าวสรรเสริญคุณการพูดเท็จ ๑ ฯลฯ

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง


ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดเท็จ ๑

ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑

พอใจในการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑

กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการพูดเท็จ ๑ ฯ
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ

            

[๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ตนเองเป็นผู้พูดส่อเสียด ๑

ชักชวนผู้อื่นในการพูดส่อเสียด ๑
พอใจในการพูดส่อเสียด ๑

กล่าวสรรเสริญคุณการพูดส่อเสียด ๑ ฯลฯ

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง


ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ


ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑

ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑

พอใจในการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑

กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการพูดส่อเสียด ๑ ฯลฯ 

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ
            

[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ตนเองเป็นผู้พูดคำหยาบ ๑

ชักชวนผู้อื่นในการพูดคำหยาบ ๑
พอใจในการพูดคำหยาบ ๑

กล่าวสรรเสริญคุณในการพูดคำหยาบ ๑ ฯลฯ

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง


ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ


ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑

ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑

พอใจในการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑

กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการพูดคำหยาบ ๑ ฯลฯ

[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ตนเองเป็นผู้พูดคำเพ้อเจ้อ ๑

ชักชวนผู้อื่นในการพูดเพ้อเจ้อ ๑
พอใจในการพูดเพ้อเจ้อ ๑

กล่าวสรรเสริญคุณการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ฯลฯ

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ตนเองเป็นผู้งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑

ชักชวนผู้อื่นในการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑
พอใจในการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑

กล่าวสรรเสริญคุณการงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ ๑ ฯลฯ
บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ

            

[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ตนเองเป็นผู้มากไปด้วยความโลภ ๑

ชักชวนผู้อื่นในความโลภ ๑

พอใจในความโลภ ๑

กล่าวสรรเสริญคุณความโลภ ๑ ฯลฯ

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ตนเองเป็นผู้ไม่มากไปด้วยความโลภ ๑

ชักชวนผู้อื่นในความไม่โลภ ๑

พอใจในความไม่โลภ ๑ ก

กล่าวสรรเสริญคุณความไม่โลภ ๑ ฯลฯ

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ

          

[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ตนเองเป็นผู้มีจิตพยาบาท ๑

ชักชวนผู้อื่นในความพยาบาท ๑
พอใจในความพยาบาท ๑

กล่าวสรรเสริญคุณความพยาบาท ๑ ฯลฯ

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ตนเองเป็นผู้ไม่มีจิตพยาบาท ๑

ชักชวนผู้อื่นในความไม่พยาบาท ๑

พอใจในความไม่พยาบาท ๑

กล่าวสรรเสริญคุณความไม่พยาบาท ๑ ฯลฯ 

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ
            

[๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ตนเองเป็นผู้มีความเห็นผิด ๑

ชักชวนผู้อื่นในความเห็นผิด ๑
พอใจในความเห็นผิด ๑

กล่าวสรรเสริญคุณความเห็นผิด ๑ ฯลฯ

บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แลย่อมเกิดในนรกเหมือนถูกนำมาทิ้งลง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน คือ

ตนเองเป็นผู้มีความเห็นชอบ ๑

ชักชวนผู้อื่นในความเห็นชอบ ๑

พอใจในความเห็นชอบ ๑

กล่าวสรรเสริญคุณความเห็นชอบ ๑

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเกิดในสวรรค์เหมือนเชิญมาประดิษฐานไว้ ฯ

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๑  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓
อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
กรรมปถวรรคที่ ๗ 

ที่มา  http://www.84000.org

 

Tags : บุคคล ที่ประกอบ ด้วยธรรม ๔ ประการ ย่อมเกิด ในนรก หรือ สวรรค์

view