หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันธรรมสวนะและเทศกาล วันมาฆบูชา วันมาฆบูชา เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 มีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่พระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้าจำนวน 1,250 รูป มาเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมิได้นัดหมายกัน พระสงฆ์ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6 และเป็นผู้ที่ได้รับการอุปสมบทโดยตรงจากพระพุทธเจ้า ในวันนี้พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงหลักธรรมที่ชื่อว่า “โอวาทปาติโมกข์” ในที่ประชุมสงฆ์เหล่านั้น ซึ่งเป็นทั้งหลักการ อุดมการณ์ และวิธีการปฏิบัติที่นำไปใช้ได้ในทุกสังคม มีเนื้อหาโดยสรุปรวมก็คือ ให้ละเว้นความชั่ว ทำความดีให้ถึงพร้อม และทำจิตใจให้ผ่องใส หลักการ 3 ได้แก่ อุดมการณ์ 4 ได้แก่ วิธีการ 6 ได้แก่ ************************************************************ วันวิสาขบูชา พระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน เวียนมาบรรจบในวันและเดือนเดียวกัน คือ วันเพ็ญเดือนวิสาขะ (เดือน 6) จึงถือว่าเป็นวันสำคัญของพระพุทธเจ้า หลักธรรมอันเกี่ยวเนื่องจากการประสูติ ตรัสรู้ และเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ความกตัญญู อริยสัจ 4 และความไม่ประมาท ความกตัญญู จะเกี่ยวเนื่องกับพระพุทธเจ้า ผู้ทรงเป็นบุพพการีในฐานะที่ทรงสถาปนาพระพุทธศาสนาและทรงสอนทางพ้นทุกข์ให้แก่เวไนยสัตว์ พุทธศาสนิกชน รู้พระคุณอันนี้ จึงตอบแทนด้วยอามิสบูชา และปฏิบัติบูชา กล่าวคือ การจัดกิจกรรมในวันวิสาขบูชา เป็นส่วนหนึ่งที่ชาวพุทธแสดงออก ซึ่งความกตัญญูกตเวทีต่อพระองค์ ด้วยการทำนุบำรุง ส่งเสริม พระพุทธศาสนา และประพฤติปฏิบัติธรรม เพื่อดำรงอายุพระพุทธศาสนา นอกจากการปฏิบัติในการแสดงตนเป็นผู้มีความกตัญญูต่อพระพุทธศาสนาหรือต่อพระพุทธเจ้าแล้ว ก็ต้องแสดงความกตเวที คือ การตอบแทนอุปการคุณที่ผู้อื่นทำไว้นั้น ผู้ที่ทำอุปการคุณก่อนเรียกว่า ปุพพการี เช่น บิดามารดา ครูอาจารย์ หรือผู้มีอุปการคุณทุกท่าน การแสดงความกตัญญูต่อบุคคลเหล่านี้ ไม่ใช่ปฏิบัติเพียงวันวิสาขบูชาเท่านั้น แต่ควรตั้งอยู่ในใจตลอดเวลา อริยสัจ 4 เป็นหลักคำสอนที่มุ่งความจริงอันประเสริฐ สามารถนำไปเป็นแนวปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาในชีวิตประจำวันได้ หลักอริยสัจ 4 เป็นหลักธรรมที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้ถึงแนวทางแก้ทุกข์ของมนุษย์ พระองค์ทรงค้นพบหลักความจริงของอริยสัจ 4 จึงเข้าใจถึงหลักความเป็นจริงที่ก่อให้เกิดทุกข์แก่มนุษย์ พระองค์จึงทรงรู้แจ้งเห็นจริงกับหลักธรรมในข้อนี้ จึงมุ่งสอนให้มนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาของมนุษย์โดยตัวของมนุษย์เอง การแก้ไขปัญหาจะต้องแก้ไขตรงที่ตัวเหตุปัจจัย นอกจากคุณค่าของอริยสัจ 4 ดังกล่าวแล้ว ยังมีคุณค่าเด่น ดังนี้คือ ความไม่ประมาท หลักความไม่ประมาทนี้ พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยกล่าวเป็นปัจฉิมวาจาว่า “ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราของเตือนเธอทั้งหลายว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงทำหน้าที่ให้สำเร็จด้วยความไม่ประมาทเถิด” พระพุทธองค์ทรงตรัสเตือนถึงความไม่เที่ยงแท้ของสังขาร จะต้องมีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปในที่สุด เพราะฉะนั้นมนุษย์ไม่ควรประมาท เมื่อยังมีชีวิตอยู่ควรปฏิบัติตนให้กระทำแต่ความดี สะสมความดี เพื่อความสงบสุขที่แท้จริงต่อไป *************************************************************** วันอาสาฬหบูชา พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา (เทศน์กัณฑ์แรก) เนื้อหาในหลักธรรมว่าด้วยทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา) ที่นำไปสู่การบรรลุนิพพาน ท่านโกณฑัญญะ ได้บรรลุโสดาปัตติผล แล้วทูลขอบวชเป็นพระสาวกรูปแรก ที่เป็นประจักษ์พยานในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า ทางสายกลางที่ว่านั้น เริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจเป้าหมายให้ชัดเจน แล้วคิดหาทางไปถึงเป้าหมายนั้นให้ได้ ซึ่งก็พบว่า ต้องเริ่มต้นด้วยการทำจิตให้สงบ ไม่เอนเอียงไปทางข้างตึง หรือข้างหย่อน โดยอาศัยการฝึกสติเป็นตัวนำ พร้อมทั้งเพียรระวังไม่ได้ความคิดที่ไม่ดีเกิดขึ้น เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็เพียรละให้ได้ ในขณะเดียวกัน ก็เพียรให้เกิดความคิดที่ดีและเพียรรักษาความคิดที่ดีที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ และพบต่อไปว่าจิตสงบแล้ว พฤติกรรมต่าง ๆ ทั้งทางกายและวาจาก็สงบด้วย เมื่อสงบครบทั้งกาย วาจา และใจแล้ว ก็ได้บรรลุเป้าหมายสูงสุด คือ นิพพาน ในการปฏิบัติกับหมู่คณะ การดำเนินงานของหมู่คณะจะสำเร็จได้ด้วยอาศัยความร่วมมือของทุกฝ่าย หากทุกฝ่ายเกี่ยวข้องยึดถือทางสายกลาง ก็จะทำให้เกิดความคิด การกระทำและคำพูดที่พอดีต่อกัน ในกลุ่มผู้ร่วมงาน ซึ่งในที่สุดก็ยอมรับกันได้ ไม่เกิดการแบ่งฝ่ายซึ่งทำให้เกิดอุปสรรค พระพุทธองค์ทรงเป็นแบบอย่างของการดำเนินตามทางสายกลาง ในขณะที่พระพุทธองค์ทรงทำทุกรกิริยา (ทรมานตน) เป็นการปฏิบัติที่เคร่งครัดเกินไปในลักษณะ “สุดโต่ง” เมื่อพระพุทธองค์ได้ยินพิณสามสาย นั่นคือ หากปฏิบัติตนเคร่งครัดเกินไป หรือหย่อนยานเกินไป เสียงก็ไม่ไพเราะ น่าฟัง หากสายพิณตึงพอดี พอดีดเข้าไปก็บังเกิดเสียงไพเราะน่าฟัง พระพุทธองค์จึงทรงเห็นว่า การดำเนินทางสายกลางเท่านั้นจึงจะนำไปสู่หนทางพ้นทุกข์ หรือสู่นิพพานได้ ************************************************************** วันเข้าพรรษา วันเข้าพรรษานี้ มีความสำคัญต่อพระพุทธศาสนิกชนและเป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนาด้วยเหตุผลดังนี้ 2. การที่พระภิกษุอยู่ประจำที่นาน ๆ ย่อมมีโอกาสได้สงเคราะห์กุลบุตรที่ประสงค์จะอุปสมบทเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย และสงเคราะห์พุทธบริษัททั่วไป 3. เป็นเทศกาลที่พุทธศาสนิกชนงดเว้นอบายมุขและความชั่วต่าง ๆ เช่น การดื่มสุรา สิ่งเสพติด และการเที่ยวเตร่เฮฮา เป็นต้น
หลักธรรม “วิรัติ” เป็นหลักธรรมสำคัญที่สนับสนุน คุณความดีในระหว่างเทศกาลเข้าพรรษา ที่พุทธศาสนิกชนนิยมไปวัด ถวายทานรักษาศีล ฟังธรรมและเจริญจิตภาวนา ซึ่งเป็นการเว้นจากการกระทำความชั่ว บำเพ็ญความดี และชำระจิตใจให้สะอาดผ่องใส เคร่งครัดยิ่งขึ้น นั่นคือ การงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ด้วยเกิดความรู้สึกละอาย (หิริ) และเกิดความเกรงกลัวบาป (โอตตัปปะ) การงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ด้วยการสมาทานศีล 5 หรือ ศีล 8 และการงดเว้นจากบาป ความชั่วและอบายมุขต่าง ๆ ได้อย่างเด็ดขาด ***************************************************************** วันออกพรรษา วันออกพรรษา นับเป็นวันสำคัญของพระพุทธศาสนา คือ พระสงฆ์ได้รับพระบรมพุทธานุญาตให้จาริกไปค้างแรมที่อื่นได้ ซึ่งจะได้นำความรู้จากหลักธรรมและประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างพรรษาไปเผยแผ่แก่ประชาชน นอกจากนั้นพระสงฆ์ได้ทำปวารณา เปิดโอกาสให้เพื่อนภิกษุว่ากล่าวตักเตือนเรื่องความประพฤติของตนเพื่อให้เกิดความบริสุทธิ์ ความเคารพนับถือ และความสามัคคีกันระหว่างสมาชิกของสงฆ์ และเพื่อให้พุทธศาสนิกชนได้นำแบบอย่างไปทำปวารณาเปิดโอกาสได้ ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาตนและสร้างสรรค์สังคมต่อไป ปวารณา คือหลักธรรมสำคัญที่ควรไปปฏิบัติ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนเองได้ พระพุทธเจ้าตรัสประโยชน์ของการทำปวารณาของพระภิกษุสงฆ์ไว้ 3 ประการคือ 1. เป็นการเหมาะสมที่ภิกษุทั้งหลายจะมีการตักเตือนกัน เพื่อแก้ไขความประพฤติที่บกพร่องของตนเอง 2. เป็นวิธีออกจากอาบัติ หมายความว่า เมื่อภิกษุรูปใด ทำความผิด ถูกตักเตือนให้ทราบความผิดพลาดบกพร่องแล้ว จะได้แสดงอาบัติซึ่งเป็นโทษข้อเสียหายในตนและเป็นผู้มีกาย วาจาบริสุทธิ์เช่นเดิม 3. เป็นวิธีการเคารพวินัยของภิกษุทั้งหลาย หมายความว่า เมื่อภิกษุผู้อยู่ร่วมกันต่างปวารณาตนเพื่อให้มีการว่ากล่าวตักเตือนกันได้ ก็จะไม่ทำผิดวินัย ส่งผลต่อการคงอยู่หรือการสืบต่อพระพุทธศาสนาต่อไป ชาวพุทธผู้เป็นฆราวาสย่อมได้ประโยชน์จากการทำปวารณาของพระภิกษุสงฆ์ กล่าวคือ เมื่อพระสงฆ์ท่านทำปวารณาต่อกัน คือยอมตนให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนตนได้ ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีมาก ทำให้พระสงฆ์ได้รับประโยชน์ในการรักษาตนให้พ้นจากการประพฤติชั่ว และประพฤติแต่ความดีงาม ดังนั้นชาวพุทธที่เป็นฆราวาส ก็ได้นำเอาหลักการปวารณาของพระสงฆ์มาปฏิบัติในครอบครัว เช่น สามีภรรยา ปวารณาต่อกันให้อีกฝ่ายหนึ่งว่ากล่าวตักเตือนตนได้เมื่อเห็นข้อบกพร่อง ลูกปวารณาตนต่อพ่อแม่ให้ว่ากล่าวตักเตือนตนได้เมื่อทำผิด และพ่อแม่ก็ปวารณาตนให้ลูกว่ากล่าวตักเตือนได้เมื่อเห็นข้อบกพร่อง เมื่อครอบครัวนำเอาหลักการปวารณาของพระสงฆ์มาปฏิบัติ คือปวารณาตนยอมให้สมาชิกในครอบครัวว่ากล่าวตักเตือนกันได้โดยไม่มีทิฏฐิมานะเช่นนี้ ครอบครัวนั้นก็จะมีแต่ความสุขสงบ ร่มเย็นไม่มีปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดความเดือดร้อนวุ่นวายขึ้น หน่วยงาน องค์การต่าง ๆ รวมทั้งรัฐบาล สามารถนำเอาหลักของปวารณานี้ไปประยุกต์ใช้ในองค์กรของตนเองได้ ย่อมก่อให้เกิดความเจริญก้าวหน้า บรรลุตามเป้าหมายได้ในที่สุด ****************************************************************** วันตักบาตรเทโวโรหณะ การตักบาตรเทโวโรหณะ เป็นประเพณีที่ชาวพุทธทั่วประเทศปฏิบัติสืบเนื่องกันมา วันตักบาตรเทโวโรหณะ จัดทำขึ้นหลังวันออกพรรษา 1 วัน คำว่า “เทโวโรหณะ” แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก หมายความว่า วันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ประเพณีการตักบาตรเทโวโรหณะ นับว่าเป็นประเพณีที่สืบเนื่องมาจากพุทธศาสนาอันเป็นพิธีมงคล ที่สมควรอนุรักษ์ไว้ เพราะประเพณีนี้นอกจากจะแสดงให้เห็นว่าพุทธศาสนิกชนยังมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาแล้วไม่เสื่อมคลายแล้ว ยังมีคุณค่าและคติธรรมด้านอื่นอีก เช่น 1. ด้านจิตใจ จากตำนานความเป็นมาของการตักบาตรเทโว ที่กล่าวว่า พระพุทธองค์ทรงระลึกถึงพระคุณของพระราชชนนี จึง 2. ด้านความสามัคคี ประชาชนจำนวนมากมากจากที่ต่าง ๆ มากระทำพิธีตักบาตรร่วมกันแสดงให้เห็นถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจ 3. ด้านการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา การที่ประชาชนยังยึดมั่นในประเพณีและปฏิบัติศาสนกิจในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาเช่นนี้ นับว่าเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาโดยตรง และถือว่าเป็นการทำบำรุงพระสงฆ์ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาด้วย 4. ด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยพระสงฆ์ได้ปฏิบัติศาสนกิจตามหน้าที่ของสงฆ์โดยการแผ่เมตตา โปรดสัตว์ ได้แสดงพระธรรมเทศนาสั่งสอนให้ประชาชนกระทำความดี การปฏิบัติต่าง ๆ จึงถือว่าพระสงฆ์ได้มีการเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยตรง ประเพณีการทำบุญตักบาตรเทโวโรหณะ จึงเป็นประเพณีที่สมควรอนุรักษ์ไว้มิให้สูญหายไป เพราะประเพณีที่ดี บ่งบอกให้เห็นถึงความศรัทธาเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา จากความเป็นมาของประประเพณีก็มีส่วนทำให้ผู้มาทำบุญตักบาตรในวันนี้มีจิตใจระลึกถึงพระคุณของมารดาผู้ให้กำเนิด พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติศาสนกิจด้วยความเต็มใจ ศรัทธา พร้อมกันชักชวนเพื่อนบ้าน สมาชิกในครอบครัวให้เห็นความสำคัญของวันนี้และไปทำบุญตักบาตรร่วมกัน **************************************************************** วันธรรมสวนะ วันธรรมสวนะ หมายถึง วันฟังธรรม คือวันขึ้น 8 ค่ำ แรม 8 ค่ำ และวันขึ้น 15 ค่ำ แรม 15 ค่ำ (หรือแรม 14 ค่ำ) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “วันพระ”เป็นวันที่ชาวพุทธนำอาหาร ผลไม้ เครื่องสักการะ ไปวัดเพื่อถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ รวมทั้งรักษาศีล เจริญจิตภาวนา และฟังพระธรรมเทศนา หลักธรรมสำคัญที่ชาวพุทธทุกคนควรนำไปปฏิบัติในวันธรรมสวนะคือ การให้ทาน การรักษาศีล และการเจริญจิตภาวนา โดยเฉพาะในครอบครัวผู้นำครอบครัวควรจะนำสมาชิกในครอบครัวไปบำเพ็ญกุศล ทำบุญตักบาตร บริจาคทาน หรือร่วมกันปฏิบัติธรรมที่วัด รักษาศีล ไหว้พระ สวดมนต์ฟังธรรม เจริญภาวนา นอกจากนั้นอาจปรึกษาหารือหาแนวทางในการป้องกันและการแก้ปัญหาในครอบครัว โดยใช้หลักธรรม เช่น ส่งเสริมให้เกิดการลด ละ เลิกอบายมุข เป็นต้น ในกรณีที่ไม่เป็นวันหยุดสามารถกระทำได้อย่างง่าย ๆ เช่น ทำบุญตักบาตรกับพระภิกษุทั่วไป ตอนเย็นอาจไปสวดมนต์ไหว้พระที่วัดหรือการร่วมทำบุญให้ทานกับบุคคลที่ด้อยโอกาสเป็นต้น การปฏิบัติตนให้เป็นเยี่ยงอย่างเช่นนี้ จะส่งผลให้สมาชิกในครอบครัวได้เรียนรู้ ได้ปฏิบัติตาม เป็นแนวทางที่ส่งผลให้มีจิตใจที่เปี่ยมสุข อย่างน้อยในหนึ่งสัปดาห์เราก็สามารถร่วมทำบุญกุศล เพื่อความเป็นศิริต่อตนเอง ครอบครัว เพื่อนร่วมโลก และสรรพสัตว์ทั้งหลาย *************************************************************** ที่มา http://mediacenter.mcu.ac.th/data/caipyo/m6/web/van/p4.php |
หลักธรรมที่เกี่ยวเนื่องในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันธรรมสวนะและเทศกาล
