สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

คำสอน พระครูภาวนาธรรมธารี
๒๘ ส.ค.๒๕๕๘
"มั่งมีศรีสุข"
มั่ง  พรั่งพร้อมมิตร รอบกาย
มี    สุขบ่มิคลาย ห่อนเว้น
ศรี  เสริมเกียรติ ประดับงา
สุข  ในหล้าใดเปรียบ สงบใจ

คำสอน พระครูภาวนาธรรมธารี
๒๑ ก.ย.๒๕๕๘
ใจมันจะปฏิรูปตัวมันเอง
ปฏิรูปคือมันจะรู้ว่าตัวมัน
จะอยู่ในสถานะไหน
จึงจะเป็นบุญเป็นธรรม
มันก็ปรับเข้าหาภาวะนั้น
ปรับให้เป็นบุญคือ เบา
ปรับให้เป็นธรรม คือ วาง

๗ ต.ค.๒๕๕๖
การที่เราหวังดีกับใครนั้น นับเป็นสิ่งดี
แต่ความดีของเรา อาจไปขัดใจเขา
ต่อเมื่อเขายอมฟังเรา จะด้วยผลประโยชน์หรือศรัทธา
เมื่อนั้น ความดีของเรา จึงจะเป็นผ
เหมือนการดัดเหล็กที่หนา ถ้าออกแรงอย่างเดียว
ก็ไม่อาจดัดเหล็กนั้นได้ ต่อเมื่อเผาไฟจนได้ที่
ก็ดัดเอาตามใจชอบเถิด

๑๑ ต.ค.๒๕๕๘
○ ได้โชคลาภมานั้นดีแล้ว แต่ให้โชคลาภนั้นแก่ผู้อื่นนั้นดีกว่า
○ ได้ยศมานั้นดีแล้ว แต่ให้ยศนั้นแก่ผู้อื่นนั้นดีกว่
○ ได้รับการสรรเสริญนั้นดีแล้ว แต่การสรรเสริญผู้อื่นนั้นดีกว่
○ ได้ความสุขมานั้นดีแล้ว แต่ให้ความสุขนั้นแก่ผู้อื่นนั้นดีกว่า
○ เพราะการให้ เป็นเหตุให้เกิดความสุข ไม่เบียดเบียน
   ขจัดความตระหนี่ ไม่ติดในโลก ย่อมสงบระงั
   เป็นผู้มองเห็น ดั่งท้องฟ้าที่ปราศจากเมฆหมอก
   เป็นสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า

ก.ย.๒๕๕๘
พระพุทธเจ้าทรงแสดงความถึงพร้อมแห่งธรรม
คือ ปริยัติ ปฏิบัติ ปฏิเวธ ทั้ง ๓ ประการนี้
เป็นอุปมาเหมือนการปลูกบ้าน คือ
รากฐานดี วัสดุเหมาะสม ก่อสร้างอย่างปราณีต
สร้างเสร็จแล้วแข็งแรงสวยงาม

๒๘ ก.ค.๒๕๕๘ และ ๑๒ ต.ค.๒๕๕๘ 

เขาวางหลักปฏิบัติไว้ว่า ..

พูดน้อย นอนน้อย กินน้อย ทำความเพียรมาก

 


๑๓ ต.ค.๒๕๕๘
วันคืนลับล่วงไป
รักษากายใจให้เป็นบุญ
หมั่นภาวนาจนจิตคุ้น
เพื่อเป็นทุนยามจากไป

๑๓ ต.ค.๒๕๕๘

การงานที่ถึงพร้อมที่สุด

คือ สิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบัน

๑๓ ต.ค.๒๕๕๘
จิตของเราถ้าไม่ควบคุม ก็เหมือนกับคนร่อนเร่พเนจร
ต้องหาบ้านหาเรือนให้อยู่ จะได้คุ้มแดดคุ้มฝน
อาศัยอยู่หลับนอนอย่างเป็นสุข
จิตก็เช่นเดียวกัน ต้องหาที่อยู่ที่อาศัยให้เขา
คือ "วิหารธรรม" นั่นเอง อันมีสติปัฏฐาน ๔ เป็นที่ตั้ง
- มีสติระลึกรู้ในกาย  - มีสติระลึกรู้ในเวทนา  
- มีสติระลึกรู้ในจิต - มีสติระลึกรู้ในธรรม
เมื่อบุคคลมี "สติปัฏฐาน ๔" เป็น "วิหารธรรม"
ชื่อว่า ได้เดินอยู่ในองค์มรรค คือ สัมมาสติ
ย่อมเป็นเหตุ สู่ความดับทุกข์ทั้งปวง

๗ ต.ค.๒๕๕๖

เกิดแล้วดับ เป็นของธรรมดา
ถ้าเกิดแล้วไม่ดับ นั่นแหละ ของแปลก

๑๐ ต.ค.๒๕๕๖
"ปัจจัยธรรม" (ตอน ๑/๔) .....มีทั้งหมด ๔ ตอน
กำลังใจที่ดีงาม มาจากศรัทธาที่เต็มเปี่ยม
ความคิดอันวิเศษมาจาก ความเห็นที่ตรง
คำพูดอันทรงพลัง มาจากสิ่งนั้นเป็นความจริง
ความอดทนอันสูงสุด มาจากการเพียรเผากิเลส

๑๐ ต.ค.๒๕๕๖
"ปัจจัยธรรม" (ตอน ๒/๔ ) .....มีทั้งหมด ๔ ตอน

ไม่มีอะไรเลิศกว่า ความหลุดพ้
ไม่มีอะไรประเสริฐกว่า ความรู้แจ้
ผู้มุ่งหวังควมเจริญ ต้องดำเนินไตรสิกขา
ผู้มุ่งหวังความหลุดพ้น ต้องคลายความติด

๑๐ ต.ค.๒๕๕๖
"ปัจจัยธรรม" (ตอน ๓/๔ ) .....มีทั้งหมด ๔ ตอน

จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมถึงพร้อมระลึกรู้(สติ)
พบขุมกำลังอันยอดเยี่ยม ณ ความรู้พร้อมของจิต (สัมปชัญญะ)
พรั่งพรูความบริสุทธิ์สู่ "โลกธาตุ"
อย่างไม่เคยรู้เคยเป็นมาก่อน

๑๐ ต.ค.๒๕๕๖
"ปัจจัยธรรม" (ตอน ๔/๔ ) .....มีทั้งหมด ๔ ตอนจบ

ดังนั้น การฝึกจิตจึงเป็นสิ่งที่ดีมีประโยชน์โดยมิต้องสงสัย
ก่อเกิดความสุขอันปราณีต ทั้งปัจจุบันและอนาคต
ทุกสิ่งที่ถึงพร้อมแห่งประโยชน์ ๓
(ทิฏฐิธรรมิกถประโยชน์ สัมปรายิกประโยชน์ ปรมัตถประโยชน์)
มาจากการฝึกจิตทั้งสิ้

๑๔ ต.ค.๒๕๕๘
คนที่มีโชค คือ คนที่เกิดมาแล้ว
ได้ยินได้ฟังพระสัทธรรม
แล้วน้อมนำไปปฏิบัติ

๑๒ ต.ค.๒๕๕๘

กิน คือ อาการเอาอาหารใส่เข้าไปในร่างกายเพื่อให้ร่างกายอยู่ได้
กาม คือ การกิน+เมามัน

๒๖ ต.ค.๒๕๕๘
"เดินอยู่ในทาง"
การมองโลกอย่างเป็นธรรมนั้น ไม่ใช่จะทำให้สิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นอย่างที่เราคิด
เพราะนั่นมันเรื่องของโลกของตัวเรา เรื่องทั้งหลายที่เกิดขึ้นนั้น มีทั้งดีทั้งเลว
ผิดถูกตามเหตุปัจจัย อีกทั้งยังมีผลที่ปรากฏทั้งน่ายินดีและไม่น่ายินดี
ทุกอย่างก็เป็นอยู่อย่างนี้ ก็เพียงรู้เหตุรู้ผล แล้วก็ไม่ได้เป็นอะไร ไม่ได้ว่าอะไร
ไม่ใช่ไม่รับรู้ไม่รับเรื่อง พุทธะเป็นเรื่องของปัญญา
มีสมาธิเป็นอุปการะ มีศีลเป็นฐาน ทั้งหลายนี้เป็นทางเดิ
ถ้าไม่เดิน อยู่ในทางโลกก็วุ่นวาย ชีวิตก็วุ่นวาย เพราะพูด ทำ คิด นอกลู่นอกทาง
ผู้เดินทางธรรม ย่อมอยู่เป็นสุข

๑๙ ต.ค.๒๕๕๖
"แสงเทียน"
เวลากลืนกินชีวิตทั้งหลาย
เปรียบเทียนที่ถูกจุดแล้ว
ย่อมส่องสว่างในช่วงเวลาอันจำกัด
พึงใช้แสงสว่างของแสงเทียนนี้ให้คุ้มค่า
ก่อนที่แสงนั้นจะมอดล

ก.ย.๒๕๕๘
พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า
คาถาบทเดียวฟังแล้วสงบระงับ
ย่อมประเสริฐกว่าคาถาตั้งพัน
แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

๑๒ ต.ค.๒๕๕๘
ทุกอย่างเกิดแต่กรรม
พูด ทำ คิด ลิขิต สุขทุกข์






view