สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

๑๖ ต.ค.๒๕๕๖
"มองตัวเอง"
ถ้าเรามองคนอื่นมากเกินไป ก็จะไม่มีความสุข
โลกนี้มีทั้งคนที่เด่น และด้อยกว่าเรา
ถ้าเรามองตัวเรา ใช้ชีวิตสมเหตุสมผลตามฐานานุรูป
เชื่อว่า ความสุข ก็เกิดขึ้นได้

๑๔ ต.ค.๒๕๕๖
"คนละทาง" ตอน ๑/๓  (มี ๓ ตอนจบ)
หลายเหตุผลในโลกนั้น แม้จะเป็นเรื่องที่ถูกต้องและยอมรับ
ของคนส่วนมาก ก็ยังทำให้ใจเราเศร้าหมองขุ่นมัวได้บ่อยๆ
แต่เหตุผลทางธรรมนั้นเป็นไปเพื่อ ความสลัด ละ และ วางลง
ไม่มีเป็นอื่น

๑๔ ต.ค.๒๕๕๖

"คนละทาง" ตอน ๒/๓ (มี ๓ ตอนจบ)

แม้โลกจะไม่ชื่นชม ชนทั้งหลายจะไม่นิยมก็ตาม
ธรรมก็ย่อมเป็นธรรม ไม่แปรเปลี่ยน ธรรมนั้นไม่เคยขัดแย้งกับโลก
มีแต่โลกนั่นแหละ ขัดแย้งกับธรรม

๑๔ ต.ค.๒๕๕๖

"คนละทาง" ตอน ๓/๓ (มี ๓ ตอนจบ)

ดังนั้น คนคิดแบบโลกๆ จึงเข้าใจธรรมได้ยาก
เพราะโลกนั้น สอนเราให้ยึด ให้ติด ให้มี ให้เป็น
ส่วนธรรมนั้น เป็นสภาวะที่ ปล่อยวาง ไม่ยึดติด
ปราศจาก ความยึดถือ ในความมี ความเป็น

๑๓ ต.ค.๒๕๕๖
"ของที่ทำยาก"
การทำความดี ไม่ใช่ของยาก
แต่ที่ยากยิ่งนัก คือ การรักษาความดี
และทำความดี ให้สม่ำเสมอ

๗ ต.ค.๒๕๕๘
"มหาสติปัฏฐานสูตร"
อาตาปี สมฺปชาโน สติมา วิเนยฺยโลเก อภิชฺฌา โทมนสฺ
รู้ความหมายมั๊ย....
อาตาปี=ความเพียร เพียรละความติดอยู่ในโลกทั้ง 3 
อันได้แก่ กามภพ รูปภพ อรูปภพ
สมฺปชาโน=ญาณ มีความหยั่งรู้ จึงเป็น สมฺปชญฺญ
สติมา=ความระลึกรู้ในรูปนาม
วิเนยฺย=การพรากออก ออกจากความยึดถือ
จะเป็นการพรากโดยออกจากหรือข่มไว้
โลเก=ความยึดถือในขันธ์ 5
อภิชฺฌา=ความยินดี กามฉนฺท ในนิวรณ์ธรรมก็จัดอยู่ในนี้
โทมนสฺ=ความยินร้าย พยาปาท ในนิวรณ์ธรรมก็จัดอยู่ในนี้
สรุปความหมายคือ
เพียรละออกจากภพทั้ง 3 โดยความระลึกรู้ในรูปนามด้วยความหยั่งรู้
และ เพื่อความพ้นจากความยินดียินร้ายจากความยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5

๔ พ.ย.๒๕๕๖
"พิจารณา มหาพิจารณา"
การค้นหาธรรมนั้น
พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงให้เราท่านหาไกลเลย
ก็ใกล้ๆนี่แหละ ค้นในกายนครนี้ อันกว้างคืบ ยาววา หนาศอก
มีใจครอง ก็รูปนามของเรานี่แหละ
เห็นเป็นของไม่เที่ยง มีความเสื่อมอยู่เป็นนิจ
เป็นของอันทนอยู่ไม่ได้ ไม่คงที่ ไม่จีรัง
จึงเป็นของหาใช่ตัวตนไม่ ที่สุดเราควบคุมไม่ได้
ท่านให้พิจารณา มหาพิจารณา
คือประกอบจิตด้วยสติ มหาสติ ในขณะที่กระทบ
กระทำเป็นสันสติ คือ ต่อเนื่อง มรรคผลย่อมบังเกิดแก่พราหมณ์ผู้เพ่งเพียร

๑๓ ต.ค.๒๕๕๖
"อยู่บ้านเดียวกัน"
เรารู้ความโลภ ความโกรธ นั้นเป็นของไม่ดี
แต่เราก็เผลอไปอยู่กับมันบ่อยๆ บางครั้งก็อยู่กับมันนานซ๊ะด้วย
ในที่สุดทั้งความโลภและความโกรธ
มันก็หายไป หายไปพักผ่อนที่บ้านของมัน
รอเวลาที่เราจะเชิญมันมาอีก เป็นอย่างนี้อยู่ร่ำไป
เราพยายามทำใจให้สงบ เพื่อไม่ให้มันมายุ่งกับเรา
มันก็ยังยุ่งจนเราทำความสงบได้ยาก
พอเรามีกำลังมากเข้า มันก็กลับไปนอนเล่นที่บ้านมัน
มันอดทนรอ รอเราจนเผลอ พอเราเผลอ
มันก็ชวนเราไปร่วมกิจกรรมกับมัน
เป็นอย่างนี้ร่ำไป อันที่จริง มันกับเรา ก็คนบ้านเดียวกัน
มันอยู่กับเรา ในใจดวงนี้ นี่เอง

๑๒ ต.ค.๒๕๕๖
"สติมาปัญญาเกิด"

ต้องฝึกให้รู้ทันความคิดและอารมณ์
เมื่อเราสัมผัสสิ่งใดแล้ว เรามีสุขแล้ว ก็ยินดีในความสุขนั้น
เมื่อเกิดทุกข์ เราก็ไม่ปรารถนาในทุกข์นั้น
เมื่อสุขเพราะสิ่งใด ก็ทุกข์เพราะสิ่งนั้น
ความอยากและไม่อยาก เกิดจากความเพลินไปในอารมณ์สุขและทุกข์
ความอยากและไม่อยากนั้น นำพาให้ดิ้นรนอยู่เป็นนิจ
เป็นโทษ เป็นเหมือนเครื่องรัด
เมื่อพิจารณาอยู่เนืองๆ จิตก็จะสว่างมีศรัทธาในสัจธรรม
เมื่อรู้ ก็วางลงโดยธรรมชาติ ที่ต้องสร้างเป็นฐานก็คือ สติ
สติต้องฝึกต้องสร้างจนมีวินัย รู้ทันความคิดและอารมณ์
ปัญญาก็จะทำหน้าที่ของเขาเอง

๒๑ ต.ค.๒๕๕๖
"ลองถามดู" ความสุขนั้นอยู่ไม่ไกล
ถ้าถามใจ ใจตัวเองว่า
"พอได้ไหม"

๒๓ ต.ค.๒๕๕๖
"ทำด้วยตัวเอง"

ชีวิตคนนั้นมักจะมีเรื่องราวมากมาย
ดีบ้างร้ายบ้าง ความดำความด่าง บาปอกุศล ที่ติดตัวอยู่ก็มากมาย
จึงต้องปัดกวาดให้สะอาดอยู่เนืองๆปล่อยไว้นานก็กองโต
ต้องหาเครื่องมือทำความสะอาด และลงมือจัดการกับมันซ๊ะ

๒๐ พ.ย.๒๕๕๖
"ธรรมรักษา"

ในยามเช้านั้น เริ่มจากใจที่ผ่องใส
ทำไว้ในใจแก่ตัวเองว่า
จะระลึกรู้สิ่งทั้งหลาย ที่ตนเองกระทำ
ทั้งคิด ทำ พูด รู้ตัวอยู่ในแต่ละขณะ
เพียงเท่านี้กรรมฐานก็เกิดขึ้นแล้วในทุกที่ทุกเวลา
รู้โลภ รู้โกรธ รู้บุญบาป เลือกกระทำเอา
ก็จะเป็น สัมมาวายาโม ทำบ่อยๆจนชิน
จนตนแห่งตนนั้นเป็นธรรม
เมื่อนั้น ธรรมย่อมรักษา

๑๐ ต.ค.๒๕๕๖
"ธรรมในจิต"
เมื่อท่านทั้งหลาย มีจิตใฝ่ธรรม เสวานาธรรม
ศึกษาธรรม และปฏิบัติธรรมกันอยู่
เมื่อนั้น ธรรมทั้งหลาย ยังคงอยู่ในจิตวิญญาณของทุกคน
ความเจริญย่อมอยู่ในบุคคล ผู้ประกอบธรรมอยู่เป็นนิจ

๒๖ ต.ค.๒๕๕๖
"อยู่ที่ใจ"
พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ เรื่องทุกข์
ผู้ปฏิบัติพึงเห็นทุกข์เพื่อเรียน รู้ทุกข์
ทุกข์นั้นยิ่งหนียิ่งมาก เหมือนดินพอกหางหมู
จงเรียนรู้ทุกข์ โดยความเป็นโทษ
ทำความเข้าใจทุกข์ หาเหตุแห่งทุกข์
เมื่อเหตุไม่มี ผลก็ไม่มี
เหตุใดๆ เกิดที่ใจเรานี่เอง

๒๓ ต.ค.๒๕๕๖
"คือคือกัน"
สิ่งที่ใจเราคิดก็ดี อารมณ์ที่ปรากฎก็ดี
เป็นดั่งกระจกเงาส่องตัวเอง
เราเห็นเรื่องราวทั้งหลายแล้ว
คิดออกมาอย่างไร นั่นแหละเรามีอย่างนั้
เราจึงมีอะไรๆไม่ต่างกับคนอื่นเขา
ทั้งดีและเลว บุญและบาป
เพียงแต่ว่า ใครจะอบรมต
ขัดเกลาตน ได้มากกว่ากัน

๑๔ ต.ค.๒๕๕๖
"ธรรมรักษา"

เวลาใจสงบเราก็รู้ เวลาใจวุ่นวายเราก็รู้
รู้ว่าทั้งสงบและวุ่นวายนั้น มันเกิดที่ใจ
ทั้งสงบและวุ่นวาย นั้นก็แค่อารมณ์
เรามีหน้าที่ รู้ว่าสงบว่าวุ่นวาย

เมื่อรู้ทัน ใจก็ไม่เป็นอะไร
มีอุเบกขารมณ์เป็นเครื่องอยู่
สงบสงัดจากเครื่องเศร้าหมอง
เป็นผู้มีธรรมรักษาตนดีแล้ว

๒๖ ต.ค.๒๕๕๖
"ทำให้คุ้น"
วันหนึ่งมี ๒๔ ชั่วโมง
เราปล่อยให้จิต นึกคิดเกือบตลอดวัน
เมื่อเราจะฝึกจิตให้สงบ จึงต้องอาศัยเวลา
ดังนั้น จึงต้องหมั่นอบรมจิตอยู่เนืองๆ
ให้คุ้นเคยกับการมีสติกับตัวเอง

๑๖ ต.ค.๒๕๕๖
"ทำแต่พอดี"
เรื่องของความขยันนั้นเป็นสิ่งดี
แต่บางทีก็เป็นโทษเหมือนกัน
เปรียบเวลารินน้ำลงแก้ว
ครรินแต่พอดี มากไปก็เกินงาม หนักไปก็ล้นแก้ว
อะไรทีมันพอดี..พอดี ดูกี่ทีก็งาม
เสียหายก็ไม่มี ดีจริงๆ

๔ พ.ย.๒๕๕๖ "รู้ก็คลาย"
อยู่ที่ไหนในโลก ก็กายใจนี้ เรื่องราวก็เดิมๆ
เปลี่ยนก็เพียงลักษณะทางกายภาพ
ส่วนใจก็เหมือนเดิม พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง ไม่ก็เฉยๆ
พระพุทธองค์ทรงแนะ ให้สักแต่ว่ารู้ อาศัยระลึก
ทุกอย่างในโลก ก็เป็นอยู่เช่นนั้น ตามปัจจัยปรุงแต่ง
ถึงไม่มีเรา โลกก็เป็นอยู่เช่นนั้น
เมื่อมีเราขึ้นมา มันก็เป็นไปตามความปรุงแต่งของเรา
เมื่อรู้ก็เข้าจิต เมื่อคิดก็เข้าใจ ย่อมคลายความติด
จิตก็พ้นได้

๑๕ พ.ย.๒๕๕๖

"ทำดีเข้าไว้"

อันความคิด เรื่องบุญเป็นสิ่งดี
น้อมบุญนี้ คิดแล้วยิ่งดีใหญ่
จงหมั่นตรึก จนเคยชินให้ขึ้นใจ
เมื่อบุญกลาย เป็นกุศลผลปัญญา

บุญจะนำกุศลส่ง แจ้งประจักษ์
เห็นไตรลักษณ์ นำส่องเป็นวิถี
เป็นทางเดิน อันสว่างพ้นโลกีย์
ขอโชคดีจงบังเกิด ทุกชีพพลัน


๓๑ ต.ค.๒๕๕๖

"มนุษย์ทำได้"

ในขณะเวลาที่เราหยุดทำกิจกรรมนั้น
เวลามันไม่ยอมหยุดเดิน มันเดินไปเรื่อยๆ
และกำลังกลืนชีวิตมนุษย์อย่างต่อเนื่อง
ก็ควรกระทำกิจอันงามกรรมอันดี
ไม่เป็นเหตุให้เศร้าหมอง ในปัจจุบันและอนาคต
ทำใจให้สงบสว่าง มีชีวิตอย่างมีคุณค่า
ประกอบประโยชน์ตนและสงเคราะห์ผู้อื่นด้วยความไม่ประมาท
เห็นปัจจุบันอารมณ์เนืองๆ พูด ทำ คิด ด้วยอาการอันเป็นบุญกุศล
ก็ชื่อว่าได้ปฏิบัติธรรม ไม่เสียภพชาติที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์

๑๐ ต.ค.๒๕๕๖
"ความเบื่อ" ความเบื่อที่น่ากลัว คือ ความเบื่อที่ไม่สมอยาก
ความเบื่อชนิดนี้ จะนำพาให้เราแสวงหาไม่รู้จักจบสิ้น
ความเบื่อที่น่าคบหา คือ ความเบื่อหน่ายในกองสังขารทั้งหลาย
ความเบื่อชนิดนี้จะพาออกจากทุกข์ได้

๒๖ ต.ค.๒๕๕๖

จิตที่อบรมดีแล้ว ย่อมห่างจากความวุ่นวาย
บุคคลเมื่อปรารถนาความสงบ พึงสังวรตน


view