



สุขปัจจุบันทันด่วน
ขอให้มีความสุขกับงานที่ทำ
ไม่ต้องรอเวลาเงินเดือนออก
ไม่ต้องรอใครมาให้
ไม่ต้องรอใครมาชม
ทำแล้วก็สุขได้เลย
จะได้มีความสุขทันตาเห็น







ความโง่ ความหลง เป็นเหตุให้หลงประกอบ บาปอกุศล

๑๗ เม.ย.๒๕๕๖
"เข้าทางรก" (ตอน ๔/๔) มี ๔ ตอนจบ
ทางเดินแห่งชีวิตนั้น มีศีลเป็นคอกกั้น ไม่ให้ตกไปสู่โลกที่ชั่ว
มีภาวนา เป็นเครื่องขัดเกลาจิต ให้สงบระงับ ไม่วุ่นวาย
แต่ด้วยความเพลิดเพลิน ความอยากทั้งหลาย
จึงนำพาให้ชีวิต ดำเนินไปสู่หนทางที่ รกรุงรัง
มีแต่ความลำบาก มีการเบียดเบียนชีวิต ทรัพย์สิน
ประกอบ วาจาอันมิชอบ อาศัยน้ำเมา เครื่องหมักดองเป็นที่ย้อมใจ
สิ่งเหล่านี้นั้น จะนำพาชีวิต "เข้าทางรก" มีทุคติเป็นผล
เมื่อเกิดมาแล้ว จึงต้องถากถางทางเดิน ให้โล่งให้เตียน
มี "ทาน ศีล ภาวนา" เป็นที่ตั้ง จะนำชีวินมุ่งสู่ความเจริญโดยมิต้องสงสัยแล.


โทษของตนนั้นเห็นยาก


เราปรารถนาธรรม พึงเพ่งเพียรกำหนด
เฝ้ารู้ เฝ้าดู จิตตน
ด้วยความเห็นในทุกขสัจจะ ที่ปรากฏ
จะนำพาให้เราท่าน ยอมละ ยอมวาง โดยไม่สงสัย


"ดูทั้งนอกทั้งใน"
ตื่นเช้าขึ้นมาด้วยความสดใสเปิดตานอกมอง ดูโลก คราใด
อย่าลืมเปิดตาใน ดูใจ ครานั้น
เมื่อเฝ้าดูใจ ย่อมไม่ เผลอใจ
โจรย่อมไม่เข้าปล้น เมื่อเจ้าของบ้านตื่นอยู่


ลอยกระทงลงน้ำสำราญจิต...
ลอยชีวิตเศร้าหมองให้จากหาย
ลอยทุกสิ่งที่ชั่วให้จากไป.
ลอยให้ไกลทุกเรื่องเนื่องบา
มาวันนี้ตัวลอยจากความเศร้า
จิตใจเบาเป็นสุขทั้งเช้าสาย
อีกบ่ายค่ำเปรมอุราไม่รู้วา
ใจสบายทั่วกัน "วันลอยกระทง"


"ก็ใจดวงนี้"
ชีวิตคนเรานั้นไม่ว่าจะอยู่
มันก็ไม่พ้นใจดวงนี้ เรามัวแต่ไปยุ่งกับเรื่องทั
ลืมรักเจ้าของ เกาะเกี่ยวกับของนอกตัว จนเจ้าของวุ่นวาย
แล้วก็มาหาทางรักษาเจ้าของใ
มันก็เลยวนเวียน เหมือนตากผ้ากลางฝนไม่แห้งส
จึงควรรักเจ้าของให้มากๆ หมั่นดูแลว่าเจ้าของคิดอะไร
ถ้าดูแลอยู่ บ้านเจ้าของก็ไม่รก ไม่รกความคิดและอารมณ์
เปรียบเหมือนบ้านเรา ฝุ่นหยากไย่ข้าวของทั้งหลาย
กวาดปัดถู ทำแล้วมันก็โล่งก็สบาย ใจเจ้าของก็เช่นกัน
เมื่อดูแลอยู่ มันก็ปล่อย ก็วางอารมณ์และความคิดลงได้
เพราะรู้ วางลงแล้วจะสบาย เพียงแต่ว่า เราเริ่มดูแลเจ้าของหรือยัง
ถ้ายังก็เริ่มเสีย จงเฝ้าดูความคิดและอารมณ์ที
รู้นั่นแหละคือสติ เมื่อมีสติ ก็ชื่อว่าได้ดูแลเจ้าของ ดูแลใจดวงนี้


๙ ธ.ค.๒๕๕๗
"เวลากับความจริง"
เราสร้างเวลาขึ้นมาว่า เวลานี้เราจะทำอย่างนี้
เวลานั้นเราจะทำอย่างนั้น ก็พอจะทำได้อยู่
เหมือนเราขีดๆเขียนๆอะไรๆไว้บนผืนทราย
แต่อีกไม่นาน ทุกอย่างมันก็จะอันตรธานหายไป
ธรรมชาติจะทำให้ ทุกอย่างไม่มีอะไร
เหมือนคลื่น ที่ซัดน้ำเข้าหาฝั่ง
"อนิสฺสิโต จ วิหรติ นจ กิญจิโลเก อุปาทิยติ"
จงอย่ายึดมั่นถือมั่น อะไรในโลกนี้เลย เพราะโลกนี้ไม่มีอะไร


"ธรรมรักษา"
อันที่จริงแล้ว เราจะมัวรอมาปฏิบัติที่วัดน
มันจะเสียโอกาส เราควรเริ่มปฏิบัติในทุกที่
ใจเป็นผู้รู้ รู้สึก รู้นึก รู้คิด
ถ้ารู้เรื่องเดียวที่เดียวม
แต่ถ้ารู้แล้วเข้าใจ เห็นความเป็นธรรมดาของสิ่งท
รู้ว่าสิ่งนั้นเกิดขึ้น สิ่งนั้นดับไป สิ่งทั้งหลายไม่คงที่
สภาพทั้งหลายไม่อยู่ในบังคั
อันนี้ก็เป็นวิปัสสนา แต่ส่วนมากก็ข้องอยู่กับสมถ
เพราะกระทำได้ง่าย และมีความสุขสบายเป็นเครื่อ
เมื่อมีสมถะเป็นรากฐาน ก็พึงหมั่นสังเกตุ
พิจารณาให้เห็นตามจริงอยู่เ
เช่นนี้ก็ชื่อว่า เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งธรรม
เมื่อนั้น ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรร


๑ เม.ย.๒๕๕๗
มนุษย์เรานั้น ชอบแสวงหา แต่ของไกลตัว
ทั้งๆที่ ของที่แสวงหานั้น เราก็นั่งทับมันอยู่
"ความสุข" ที่เราแสวงหา อยู่ตรงนี้แหละ
อย่ามัวไปหาตรงนั้น มันจะกลายเป็นลิง


มันนึก มันคิด เช่นไร เห็นอะไร ได้ยินอย่างไร
มันก็แสดงออกมา ทั้งนึก ทั้งคิด รู้สึกต่างๆนานา
เปรียบเหมือนควัน จะบอกให้รู้ว่า นั่นแหละ"ตัวเรา"
คือใจที่หมักหมม ด้วยไฟ ๓ กองนั่นเอง


ตื่นจากความวิตกกังวล ตื่นจากอคิตทั้งหลาย
มีจิตอันสงบระงับ ประกอบด้วยเมตตา
ต่อเพื่อนร่วมทุกข์ ร่วมเกิด แก่ เจ็บตาย
ทั้งต่อหน้าและลับหลัง
เป็นผู้รู้อยู่กับปัจจุบัน
เป็นผู้ตื่นอยู่ในธรรมเป็นนิจ
ชีวิตย่อมเป็นสุขแล


เป็นกำแพงกั้น หมู่มาร


มันไม่เที่
ไม่รู้จัก จึงไม่เบื่
ใจมันด้าน จึงต้องขัด
เกลาให้บาง จนวางเอง


พายุหมุนสรรพสิ่งให้เป็นไป
จงก้าวข้าม ความติดทั้งหลาย
นำพาตนให้พ้นสังสารวัฎ


ตอนนี้วิญญาณ ยังอาศัยกายนี้อยู่
แต่อีกไม่นานกายนี้ ก็อาศัยไม่ได้แล้ว
เมื่อรู้ดังนี้ จึงควรพิจารณา ให้เห็นว่า
จิตนั้น พึงกำหนดรู้ ในวิญญาณ (ความรู้สึก) ทั้งหลาย
ทั้งทาง ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ
รู้ คือ จิต ระลึกรู้ คือ สติ
เมื่อสติมีกำลัง ย่อมปรากฏสมาธิ
เฝ้าพิจารณากาย (รูป) และจิต (นาม)
รู้ว่าทั้งรูปและนามนั้น ได้เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
พิจารณาเห็นเช่นนี้อยู่เนือ
เพื่อความจางคลายในตัวตน คลายจากความยึดถือ
"เมื่อยึดมาก ก็ทุกข์มาก ยึดน้อย ก็ทุกข์น้อย"
