สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com
Cart รายการสินค้า (0)

22-9-2016  ๗ ยุทธวิธีเดินทางธรรม
img hosting

๒๒ ก.ย.๒๕๕๙

๗ ยุทธวิธี ในการเดินทางหาธรรม

๑. สะสาง
๒. สงบ
๓. สังเกต
๔. สว่าง
๕. สละ
๖. สะอาด
๗. สบาย

๑. สะสาง : เริ่มต้นจากการมองให้เห็นคุณและประโยชน์ของการปฏิบัติธรรม จากนั้นให้น้อมจิตถึงพระรัตนตรัย เมื่อจะเข้าสู่การปฏิบัติธรรม พึงวางภาระการงานลงชั่วคราว ตัดความกังวลออก ตั้งกายให้เหมะสม ยกใจให้พอดี (ศรัทธา)

๒. สงบ : เมื่อสะสางกายใจถึงพร้อมด้วยศรัทธาแล้ว เริ่มภาวนาให้จิตเกิดความตั้งมั่น เลือกสรรอุบายที่ตนถนัด ปฏิบัติให้ได้ในทุกอริยาบท มีความรู้ตัวอยู่เสมอ ให้เกิดความเข้าใจว่าในการภาวนานั้นมีสิ่ง ๒ สิ่งที่สัมพันธ์กัน คือ จิตผู้รู้ กับสิ่งที่มีให้รู้ เบื้องต้นกำหนดในสิ่งที่มีให้รู้เพียงอย่างเดียว ให้จิตแน่วแน่อยู่กับสิ่งนั้น เช่น เลือกลมหายใจเป็นสิ่งที่มีให้รู้ จิตผู้รู้ก็กำหนดรู้ลมหายใจเพียงอย่างเดียวจนจิตมั่นคง (สมถะ)

๓. สังเกตุ : เมื่อจิตมั่นคงแล้ว สภาพจิตจะมีความสงบ จงอาศัยความสงบพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้น จะรู้ว่าสิ่งทั้งหลายนั้น คือรูปและนาม รู้ในอายตนะภายในและภายนอก รู้ธรรมชาติแห่งความเป็นธาตุ รู้ว่าสิ่งทั้งหลายเมื่อสัมผัสแล้วจะรวมลงที่ใจ รู้เวทนาที่เกิดขึ้น รู้ว่าความเพลินไป(นันทิ) ในเวทนาย่อมเกิดตัณหา รู้ว่ารูปนามเป็นเพียงเครื่องอาศัย (พิจารณา)

๔. สว่าง : เมื่อสังเกตุจนรู้ชัดในกองสังขาร ย่อมเห็นธรรมชาติในสังขารและธรรมทั้งหลายว่า มีความเกิดขึ้นและดับไป ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ หาใช่สิ่งที่เราจะยึดถือได้ เห็นทุกข์ทั้งหลายเกิดจากความยึดถือ เมื่อเลิกยึดก็หมดทุกข์ (ปัญญา)

๕. สละ : เมื่อสว่างแล้ว คือเกิดปัญญาเห็นธรรมชาติตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งเกิดแต่เหตุ รู้ทุกข์ รู้เหตุแห่งทุกข์ รู้ความวนเวียนในภพชาติ ย่อมเบื่อหน่ายในสิ่งทั้งหลาย จิตจะสละความยึดถือในกองสังขารทั้งปวง (นิพพิทา)

๖. สะอาด: เมื่อสละจากความติด ละซึ่งสังโยชน์จิตย่อมผ่องใสไม่เจือด้วยความเศร้าหมอง มลทินทั้งหลายย่อมหมดไป เป็นจิตที่สะอาดบริสุทธิ์ (วิมุติ)

๗. สบาย : เมื่อสะอาดปราศจากเครื่องเศร้าหมอง วางของหนักลงแล้ว ภพชาติสิ้นแล้ว ย่อมสบายด้วยสิ้นภาระ ไม่มาไม่ไป (นิพพาน)

12-10-2015 .กิเลสที่อยู่ในใจ พาให้ก่อกรรม (พูด ท

print screen windows

๑๒ ต.ค.๒๕๕๘

เรื่องเริ่มจาก...การโพสธรรมะลงในกลุ่มไลน์...และมีถามตอบ
จึงขอนำมาลงไว้เป็นธรรมทานแด่ท่านที่สนใจ

ข้อธรรมที่โพส....สัตว์ดิรัจฉานอ่านง่าย ส่วนมนุษย์อ่านยาก 
เพราะมีชั้นเชิงมากนักเหมือนอย่างป่ารกชัฏ 
ไม่รู้ว่าสิงสาราสัตว์ซ่อนอยู่ที่ไหนบ้าง 
- สมเด็จพระญาณสังวร

โยม......ใจมันบางทีก็คับแคบ...อึดอัด..วุ่นวาย...ไม่รู้อะไรนักหนา...
เอาไม่ออกซักกะอย่างค่ะ...ได้แต่ข่มไว้...
ซึ่งมันก็กลับมาเป็นเหมือนเก่า...ซ้ำๆอยู่นั่น
โยม... พออ่านธรรมะของพระสังฆราช...
คิดถึงใจตัวเองเลย...มันเป็นอย่างท่านว่าไว้...
พระอาจารย์ (พระครูภาวนาธรรมธารี วิ.) ...พูดน้อย นอนน้อย กินน้อย ทำความเพียรมาก
พระอาจารย์....ทุกอย่างเกิดแต่กรรม พูด ทำ คิด ลิขิต สุขทุกข์ 
พระอาจารย์......กิเลสที่อยู่ในใจ พาให้ก่อกรรม (พูด ทำ คิด) 
จึงเกิดวิบาก (อารมณ์ที่เสวย)
พระอาจารย์........ละด้วยการออกห่าง
ละด้วยการข่ม
ละด้วยการให้
ละด้วยการเข้าไปหา
ละด้วยความเห็น
แล้วแต่จะละ
พระอาจารย์....เมื่อยังมีฝีอยู่สักวันหนองต้องแตก 
โยม....จะแตกได้ด้วยอะไรคะ...ข่มแล้วไม่แตก....เอาอะไรสู้ต่อไป..
หมายถึง วิบากที่ทำให้เสวยอารมณ์แบบนั้น...
ข่มไว้ก็กลับมาซ้ำๆอยู่นั่น...
ทำยังไงให้แตกหายไปเลย...
พระอาจารย์....ข่มเพื่อไม่ให้ลุกลาม เหมือนสกัดไฟไม่ให้ขยายวง
พระอาจารย์...เมื่อเชื้อไฟอ่อนลง พึงพิจารณาโทษของไฟ 
เมื่อเห็นโทษ เห็นเหตุ เห็นที่ตั้งแห่งไป ใจจะปฏิรูปตัวเอง
โยม ........... แสดงว่า..โยม.. ยังมีกิเลสอยู่เท่าเดิม ไม่เคยอ่อนลง..
จึงทำให้เสวยวิบากซ้ำๆอยู่ แบบนั้น....
ซึ่งทำให้อ่อนไหวง่ายต่อการกระทบทุกเรื่องเลย...
พระอาจารย์...ธรรม ย่อมพาให้สงบระงับ
โลก ย่อมพาให้วุ่นวาย
คราใดที่ปรารภธรรม ธรรมย่อมคุ้มครอง
คราใดที่ปรารภโลก โลกย่อมพาให้ให้วุ่นวาย 
เพราะธรรมชาติของโลกเป็นเช่นนั้น
พระอาจารย์....โยมเห็นตัวเองไวขึ้นแล้ว ไม่มีอะไรมาบัง 
เหลือเพียงพิจารณาให้เห็นโทษ
โยม....มองให้เห็น(เป็น)โทษแบบให้ขาดหลุดออกไปเลยไม่ได้...
มันก็กลับมาอีกค่ะ..เดี๋ยวก็เหมือนเดิม
พระอาจารย์...พละ 5 ต้องพร้อม
พระอาจารย์....เห็นใกล้ เห็นไกล เห็นหยาบ เห็นละเอียด 
เห็นผิด เห็นถูก ทุกคนก็ว่าตัวเองเห็น (เห็นโทษ)
โยม......โทษ..มีอะไรบ้างคะ.
พระอาจารย์....ทุกข์ไง
พระอาจารย์....พระพุทธเจ้ารู้เรื่องเดียวคือเรื่องทุกข์ 
ท่านจึงค้นหาเหตุ เมื่อท่านดับได้ 
จึงทรงชี้ทางเดินให้พวกเราคือ "มรรค 8"
โยม.... โยม..ไม่รู้จัก..ทุกข์...จริงๆแบบที่พระพุทธเจ้าสอนเลย.....ถ้ารู้จักทุกข์จริงๆ..มันคงไม่ต้องเสวยวิบากซ้ำแบบนี้...
พระอาจารย์...อยู่อย่างเข้าใจทุกข์ ไม่ใช่ไม่มีทุกข์ 
ทุกข์มันมีอยู่อย่างนั้น 
สัพเพสังขาราอนิจจา 
สัพเพสังขาราทุกขา


๑๕ ธ.ค.๒๕๕๘
ใจหนอใจ เหมือนเปลวไฟ ที่ต้องลม
คราวใด ได้ดังสม จิตนิยม ชื่นชมจัง
ครั้นแล้ว มิได้หมาย
จิตเหลือร้าย ใจระทม
ต้องแก้ด้วย ให้ถูกตรง
หมั่นฝึกปลง อนิจจัง

ก.ย.๒๕๕๘

พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า
คาถาบทเดียว ฟังแล้วสงบระงับ
ย่อมประเสริฐกว่า คาถาตั้งพัน
แต่ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ก.ย.2558  คาถาบทเดียว
image url

view