๖ มี.ค.๒๕๖๑
สิ่งที่เกิดขึ้นกับเรานั้น ไม่ว่าจะดีหรือร้าย
ในที่สุดมันก็ผ่านไป จงเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้น
ว่าเป็นของธรรมดา เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
จงอยู่เป็นปกติสุข ด้วยธรรมเป็นนิตย์เทอญ
๑๖ ก.พ.๒๕๖๑ การทำใจนั้น... |
"ปฐมบทเพื่อเรียนรู้"
|
"ขอทุกข์ทั้งหลายจงพ้นไป" ทุกข์เพราะยากหรือทุกข์เพราะอยาก... ทุกข์กายนั้นทุกข์เพราะความหิว ความเมื่อยล้า ความร้อนความหนาว และความเจ็บป่วย อันนี้ต้องหาเข้ามา ต้องผ่อนคลาย ต้องปกป้อง ต้องบำบัดรักษา เพื่อให้ทุกข์นั้นคลายไป... ส่วนทุกข์ใจนั้นเป็นเพราะความคับแค้น น้อยอกน้อยใจ รำคาญใจ ประสบสิ่งที่ไม่ชอบใจ พลัดพรากจากของรัก หวังแล้วไม่ได้อย่างที่หวัง ทุกข์เช่นนี้เกิดจากความอยาก ความไม่อยาก ยิ่งต่อยิ่งเติมให้เขาทุกข์มันก็โตขึ้น ต้องฝึก ต้องหัด ดัดจิตใจ ให้เข้มแข็ง รู้เท่าทัน รู้จักสละ หัดละ หัดวาง ทำใจให้ว่าง วางจิตเฉยๆ...เช่นนี้ จะสมความปรารถนาที่ว่า "ขอทุกข์ทั้งหลายจงพ้นไป" |
๑๔ มี.ค.๒๕๖๑
"การเฝ้าดูจิตตน เป็นหน้าที่ของผู้แสวงหาธรรม"
กิเลสนั้นก็เหมือนน้ำในสระ...
อย่างหยาบเปรียบเหมือนจอกแหนวัชพืชที่ลอยคลุมอยู่บนผิวน้ำ
มองแล้วเหมือนขยะมากองอยู่ แลดูเลอะเทอะสกปรก...
เมื่อตักออกก็เห็นน้ำ แต่ก็ไม่ใส ขุ่นมัวด้วยเศษผงเศษดิน
อันนี้เหมือนกิเลสอย่างปานกลาง...
ต่อเมื่อเศษผงเศษดินนั้นตกตะกอนนอนอยู่ในก้นสระ
น้ำจึงจะใสแลเห็นก้นสระได้ แต่ก็ยังมีตะกอนอยู่
เมื่อมีอะไรมากวนก็ฟุ้งอีก อันนี้เป็นกิเลสอย่างละเอียด
กิเลสอย่างหยาบ ต้องอาศัย "ศีล" เป็นเครื่องป้องกัน
กิเลสอย่างปานกลาง ต้องอาศัย "สมาธิ" เป็นเครื่องขจัด
กิเลสอย่างละเอียด ต้องอาศัย "ปัญญา" เป็นเครื่องชำระ
ศีล สมาธิ ปัญญา นั้นคือ การปฏิบัติตามองค์มรรค ๘ เดินไปสู่ความดับ
จนเกิดความหยั่งรู้ในจิตเป็น ญาณทัสสนะโดยลำดับไป
เมื่อเราเดินในหนทางแห่งธรรมอยู่ ย่อมได้ระยะทาง
ผู้จมอยู่ในโลกนั้นเป็นผู้หลับไหลนั่นเอง
ขอความเจริญในธรรมจงมีแด่ผู้ไฝ่ธรรมทุกท่านเทอญ.
(ปญฺญาปทีโปภิกขุ)
พระครูภาวนาธรรมธารี
20 พ.ย. 2558
“เรื่องศรัทธา”
ศรัทธา มี 2 อย่าง คือศรัทธาที่สมอยาก กับ ศรัทธาที่พ้นอยาก
ถ้าศรัทธาเพื่อสมอยาก ก็จะเสื่อมง่ายจากปัจจัยหลายๆอย่าง
เช่น เคยได้แล้วไม่ได้ ผิดหวังบ่อยๆ พบเจอแต่ปัญหา
ที่เสื่อมเพราะเป็นไปเพื่อติด
แต่ศรัทธาที่พ้นอยากนั้น จะมั่นคง แข็งแรง ไม่หวั่นไหว
เพราะเป็นไปเพื่อละ เพื่อวาง จิตจึงมีกำลังอย่างสม่ำเสมอ
ศีลคืออะไร? รักษาที่ไหน?
ระวังกาย ระวังวาจา
จริงๆแล้วต้องระวังที่ใจ
ใจไม่สั่งมันก็ไม่พูดไม่ทำ ศีลก็ไม่ด่างพร้อย
ตอนภาวนาอยู่ศีลก็บริสุทธิ์
ภาวนาดูลม ดูกาย ดูใจ
มันก็รู้อยู่ว่าจะทำอะไร ก็เลือกทำเอา
สตืเป็นผู้กำกับ ความเห้นเป็นเรื่องที่แสดง
เมื่อความเห็นตรง สตืมั่นคง ทางดำเนินก็ไปสู่ทางสว่างนั่นเอง
ลองทำดูน๊ะ เมื่อได้ลองเฝ้าดูตัวเองมากๆ
จะได้เห็นเรื่องของตัวเอง
มากกว่าเรื่องนอกตัว
ธรรมรักษา
๗ มี.ค.๒๕๕๗